รูป ฟะลูด้า Falooda บางประเภท ของเปอร์เซีย Refer to: https://gotoyazd.com/place/174/abe-hayat-faloodeh/ & https://www.pinterest.com/pin/508906826635185175/ |
|
🍨 ซีรัพ (ซี้-เหริ่พ) Syrup น้ำเชื่อม เป็นที่มาคำว่า ซาหริ่ม อาหรับใช้ شَرَاب (šarāb : ซะราบ เครื่องดื่ม) หรือشَرِبَ (šariba ซะริบะ: การดื่ม) เพราะซาหริ่ม เปอร์เซีย และอิสลาม ฟะลูด้า ใช้ rose syrup ในการทำ และชวามลายูสะกด Syrup เป็น Sirap หรืออาจจะมาจากคำว่า ฟะลูด้า โดยตรงก็ได้เพราะในยุคกลางภาษาอังกฤษยุคเก่า old english เขียน F คล้ายกับตัว S ผอมยาว
ตัว F in old english (ในภาษาอังกฤษยุคเก่า)
เนื่องจากฟะลูด้า คือวุ้นเส้นในน้ำเชื่อมหรือน้ำหวานที่เรียกว่า Rose Syrup ของเปอร์เซียที่ส่งวัฒนธรรมอาหารไปสู่ชาวมุสลิมทั่วโลก ก่อนที่ชนชาติอื่น ๆ จะนิยมกินตามความนิยมมีการประยุกต์ตามความชอบเปลี่ยนจากน้ำหวาน (ซีรัพ ที่เป็นที่มาของคำว่า ซาหริ่มเดิม) ให้กลายเป็นน้ำนมบ้าง ไอศกรีมบ้าง กะทิบ้าง ตามชอบใจ เปลี่ยนจากวุ้นเส้นซาหริ่มให้กลายเป็นเส้นลอดช่อง ใส่ผลไม้เพิ่มเติม หรือวุ้นกลายเป็นรวมมิตร ต่าง ๆ แล้วแต่การประยุกต์ของแต่ละชนชาติ
สมมุติว่าเวลาที่เรากิน ขนมปังน้ำแดง ตอนสั่งอาจจะต้องตอบชัดเจนว่า สั่งขนมปังน้ำแดง แต่ถ้ามีคนถามว่าเรากำลังกินอะไรอยู่ ก็อาจจะตอบว่า กินขนมปังน้ำแดงหรือ กินน้ำแดงอยู่ก็ได้ ก็เช่นเดียวกับ ฟะลูด้าของเปอร์เซีย ที่มีส่วนประกอบสำคัญของโรส ซีรัพ (น้ำหวานกุหลาบ) ที่ชีรัพกลับกลายเป็นชื่อขนมชนิดนี้แทน ฟะลูด้า ต้นตำหรับเปอร์เซียที่นิยมใส่วุ้นเส้น (vermicelli เวอร์มิเชลลี่) เป็นหลัก
ซึ่งการที่ซีรัพ หรือ ฟะลูด้า ก็ตามกลายเป็น ซาหริ่ม และกลายเป็นสลิ่มได้นั้น ก็ไม่น่าจะแปลกใจถ้าไปฟังการออกเสียงภาษาอังกฤษของคนไทยสมัยก่อนที่ภาษาอังกฤษพึ่งเข้ามาใหม่ คำว่า นายฮันเตอร์ คนไทยสมัยนั้นยังเรียกว่า นายหันแตร , ฟอสฟอรัส ว่า ฝาศุภเรศ เป็นต้น
จึงเชื่อว่าซาหริ่มเป็นขนมอาหรับเปอร์เซียที่ยืมผ่านภาษาอังกฤษ (จากรูปศัพท์ไม่น่าจะผ่านทางชวามลายูโดยตรง แต่อาจจะผ่านศัพท์คำยืมของพวกอิสลาม) ซึ่งพอนานไปคนไทยก็ลืมที่มา
ฟะลูด้า รวมมิตรกะทิใส่สลิ่มของทมิฬ ஃபலூடா (เขียน ฟลูฑา อ่าน ฟะลูด้า)
เซนโดล cendol ลอดช่อง/รวมมิตร หรือฟะลูด้าของชวามลายู