วันเสาร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2562

เทพและพระโพธิสัตว์ในพุทธศาสนามหายานของจีนที่สำคัญ 20 ตน




1. พระศากยมุนีพุทธเจ้า คือพระยูไล แห่งมหาสหโลกธาตุพุทธเกษตร (โลกมนุษย์)
2. พระไวโรจนพุทธเจ้า แห่งรูปสิขาวิมุตติพุทธเกษตร (สวรรค์ซึ่งตั้งอยู่ ณ แกนกลางจักรวาลแห่งแสงสว่าง)
3. พระอมิตาภพุทธเจ้า แห่งสุขาวดีพุทธเกษตร (สวรรค์ทางทิศตะวันตก)
4. พระมหากัสสปะมหาสาวก (ผู้ทำสังคายนา ครั้งแรกหลังพุทธกาลของพระศากยมุนี/พระแก่)
5. พระอานนท์มหาสาวก (พระพุทธอนุชา ผู้เป็นพระอุปัฏฐาก สดับฟังพระธรรมของพุทธเจ้าศากยมุนีและจดจำได้มากที่สุด/พระหนุ่ม)
6. พระอวโลกิเตศวรมหาโพธิสัตว์ คือพระแม่กวนอิม (เมตตา)
7. พระสุธน คือกิมท้ง (ในมหายานพระสุธนไม่ตามหานางแต่ตามหาครูสอนธรรมจนบรรลุอรหันต์)
8. ธิดาสาครนาคราช คือเง็กนึ่ง (ลูกสาวของมังกรผู้บรรลุธรรมเป็นพระพุทธเจ้าประจำพุทธเกษตรทันทีที่ถวายแก้วมณีวิเศษให้พระยูไล ต่อมาอวตารเป็นกุมารีหยกคู่กับกุมารทอง "กิมท้ง" แบบจีน เพื่อรับใช้พระแม่กวนอิม ตามความประสงค์ของปวงเทพจีน)
9. พระมัญชุศรีมหาโพธิสัตว์ (ปัญญา)
10. พระสมันตภัทรมหาโพธิสัตว์ (พละ)
11. พระกษิติครรภมหาโพธิสัตว์ คือพระตี่จั๋ง (คล้ายพระมาลัยของมหายาน มีหน้าที่โปรดสัตว์นรก)
12. ต้าวหมิงเหอซ้าง ภิกษุผู้เป็นบุตรท่านคหบดีเมี่ยนกง หรือพระถังซำจั๋ง (ซึ่งว่าเป็นอวตารของพระตี่จั๋ง)
13. คหบดีเมี่ยนกง สาวกพระกิมเคียวกัก (พระตี่จั๋งอวตารสมัยราชวงศ์ถัง เป็นเจ้าชายจากเกาหลี) หรือพระวิมลกีรติโพธิสัตว์
14 . พระกุเวร หรือเวสสุวรรณเทวราช คือยักษราช (โลกบาลแห่งอุตรทิศ/เหนือ)
15. พระวิรุฬหกเทวราช คือเจ้าแห่งกุมภัณฑ์ (โลกบาลแห่งทักษิณทิศ/ใต้)
16. พระธตรฐเทวราช คือเจ้าแห่งคนธรรพ์ (โลกบาลแห่งบูรพาทิศ/ออก)
17. พระวิรูปักษ์เทวราช คือเจ้าแห่งครุฑและนาค (โลกบาลแห่งปัศจิมทิศ/ตก)
18. พระศรีอาริยเมตตาไตรย หรือพระขือเว่ย (อนาคตพุทธเจ้าแห่งมหาสหโลกธาตุพุทธเกษตร และพุทธเจ้าองค์สุดท้ายแห่งภัทรกัลป์ ภาพลักษณ์เหมือนพระสังกัจจายน์ จึงมักเรียกว่าพระสังกัจจายน์จีน)
19.  พระเวทโพธิสัตว์ หรือพระขันธกุมาร (ธรรมบาล)
20. เจ้าพ่อกวนอู (เทพผู้คุมหอสมุดแห่งสวรรค์; เทพแห่งความซื่อสัตย์วีรบุรุษในเรื่องสามก๊ก)


หมายเหตุ
     1) มหายานแบบจีนมีคตินับถืออัครสาวกเบื้องซ้ายขวาอย่างพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ ไม่มากนัก เพราะมีพระโพธิสัตว์เป็นตัวแทนแห่งปัญญา อิทธิฤทธิ์ และบารมีอย่างพระแม่กวนอิมอยู่แล้ว มีหลักฐานปรากฏชัดในเรื่องไซอิ๋วคือ (ซีโยวจีในสำเนียงจีนกลาง) ว่า "อัครสาวกทั้งสองเรียกรับสินบนจากพระถังซำจั๋ง" สมัยเดินทางไปถึงชมพูทวีปทำให้อัครสาวกทั้งสองถูกเฮ่งเจียไล่ตีจนพระยูไลมาห้ามไว้ หรือในคัมภีร์พระสัทธรรมปุณฑริกสูตรของมหายาน ก็แสดงให้เห็นว่าพระมัญชุศรีมหาโพธิสัตว์มีพระปัญญาบารมีญาณเหนือกว่าพระสารีบุตร เพราะทรงรู้ธรรมและความจริงต่าง ๆ ที่พระสารีบุตรเป็นฝ่ายถาม
       2) ซึ่งมหายานจีนว่าแท้จริงแล้วพระยูไลคือพระศากยมุนีพุทธเจ้านั้นเพียงละสังขารไปเท่านั้นการปรินิพพานคือการที่พุทธองค์ทั้งปวงที่เป็นอวตารของพระอาทิพุทธกลับคืนไปรวมกับจิตวิญญาณแห่งพุทธสูงสุดคือพระอาทิพุทธเท่านั้น แท้จริงพระยูไล หรือพระศากยมุนียังอยู่ในรูปกายทิพย์ในมหาสหโลกธาตุพุทธเกษตรซึ่งก็คือโลกใบนี้ที่ผู้มีกิเลสถูกอวิชชาปกปิดอยู่จึงไม่รู้ไม่เห็น (ได้รับอิทธิพลจากแนวคิดเรื่องชีวาตมัน และปรมาตมันของพราหมณ์) และอัตลักษณ์ทางปรัชญาคิดที่ว่าพุทธยาน หรือโพธิสัตว์ยานเท่านั้นที่อยู่เหนือกิเลสแท้จริง ส่วนสาวกยานอื่น ๆ เป็นเพียงอุบาย ให้สาธุชนพักกลางทางก่อนเดินทางไปสู่การบรรลุธรรมที่แท้จริงคือพุทธยานสูงสุดหนึ่งเดียวเท่านั้น
      3) พระยูไลหรือพระศากยมุนีพุทธเจ้าผู้ปรินิพพานไปแล้วจึงสามารถปรากฏกายทิพย์เพื่อโปรดสัตว์ได้อีกด้วยอำนาจแห่งพระอาทิพุทธ และพระมหาโพธิสัตว์ที่ยิ่งใหญ่บางพระองค์อย่างพระอวโลกิเตศวรกวนอิมที่อาจจะเชิญมา หรือแปลงเป็นพระองค์เองก็ได้เพื่อใช้เป็นกุศโลบายในการสั่งสอนสรรพสัตว์ตามคติมหายานของจีน เพราะแม้แต่ปีศาจหรือพญามารที่มีอำนาจมาก ๆ ก็ปลอมเป็นพระพุทธเจ้าหรือพระมหาโพธิสัตว์ได้ด้วย ดังนั้นหลักการคิดด้วยกาลามสูตรจึงเป็นหลักธรรมที่สำคัญของความจริงทั้งในทางโลกิยธรรมและโลกุตรธรรม
   4) พระอาทิพุทธ คือพระพุทธเจ้าผู้อุบัติขึ้นเป็นองค์แรกสุดในจักรวาลคือธรรมชาติแห่งพุทธและความจริงผู้แบ่งภาคเป็นพระอวโลกิเตศวรมหาโพธิสัตว์ก่อนที่พระมหาสัตว์จะแบ่งภาคของตนเป็นพระโพธิสัตว์ต่าง ๆ และช่วยกันสร้างเทพเจ้าต่าง ๆ ขึ้นในจักรวาล แล้วเทพเจ้าต่าง ๆ จึงช่วยกันสร้างจักรวาลและโลกใบนี้ขึ้น ตามที่ปรากฏใน อวโลกิเตศวร การัณฑวยูหสูตร (Kāraṇḍavyūha Sūtra is a Mantrayāna sūtra) ซึ่งน่าจะได้อิทธิพลจากคัมภีร์ปุราณะของพราหมณ์

พระแม่กวนอิม 84 ปาง


ปีศาจนกอินทรีเก้าเศียรใช้อำนาจสร้างพระยูไลขึ้นมารบกับเฮ่งเจีย 
ก่อนที่พระยูไลองค์จริงจะมาปราบปีศาจอินทรีเก้าเศียร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น