😊 เป็นการแปลบทความวิชาการภาษาอังกฤษที่ผู้สอนเคยไปนำเสนอในการวิจัยระดับนานาชาติที่ประเทศญี่ปุ่น และฮ่องกง สามารถอ่านบทความวิชาการได้ที่ลิงก์ ประชุมวิชาการนานาชาติที่ญี่ปุ่น 2015 , ประชุมวิชาการนานาชาติที่ฮ่องกง 2014 เป็นต้น
วันอาทิตย์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2562
วันอาทิตย์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2562
การบูชาเทพเจ้าดาวเหนือทั้งเก้าของจีนกับเทศกาลกินเจ
เทพสตรีองศ์สำคัญในทางลัทธิเต๋าเรียกว่า ต่าวหมู่หยวนจวิน เต๋าบ้อหง่วงกุง เต้าโบ้หงวนกุน
หรือเต้าโบ้เทียนจุน ( 斗姆元君,斗姆天尊 )
ในหมู่ชาวจีนตามแต่งสำเนียงท้องถิ่นที่ใช้
เดิมเป็นพระแม่แห่งดวงดาวมารีจี ( 摩利支 ) มหาโพธิสัตว์ของพุทธศาสนานิกายมหายาน และนั่งบนราชรถเทียมด้วยหมู่ป่า 7 ตัว
หรือทรงหมู่ป่าหรือราชสีห์ตัวใหญ่เป็นพาหนะ
พระนางมีสามพักตร์คือหน้ามนุษย์ตรงกลางหน้ายักษ์ (โกรธ) และหน้าหมู
(เจ้าแม่วราหีของอินเดีย) และมีแปดกรทรงศาสตราวุทธต่าง ๆ ซึ่งพระแม่มารีจีโพธิสัตว์นี้ได้รับอิทธิพลจากทุรคาเทวีของอินดูอีกต่อหนึ่ง ส่วนในทางพุทธศาสนามหายานในบางตำนานถือว่าเป็นอวตารของพระแม่กวนอิม
ในศาสนาฮินดีนิกายศักติกล่าวว่าเมื่อจักรวาลว่างเปล่าไม่มีสิ่งใดเลยแต่แรกเริ่ม
ความดีและมนตราทั้งหลายได้รวมกันจนเกิดเป็นอาทิปราศักติขึ้น
แล้วอาทิปราศักติจึงได้สร้างเทพเจ้าทั้งสาม คือพระพรหม พระนารายณ์ และพระศิวะขึ้น
จากนั้นก็อวตารไปเป็นพระชายา (ศักติ) ของเทพเจ้าทั้งสาม
ก่อนที่เทพเจ้าทั้งสามจะสรรค์สร้างเทพทั้งหลายและจักรวาลขึ้น
ซึ่งความเชื่อเรื่องอาทิปราศักตินี้สอดคล้องกับความเชื่อเรื่องมาดาแห่งสรรพชีวิตในลัทธิเต๋า
และพุทธศาสนามหายานในคัมภีร์อวโลกิเตศวร การัณฑวยูหสูตรของธิเบตและอินเดียได้กล่าวก่อนที่จักรวาลจะเกิดขึ้นธรรมชาติแห่งพุทธก่อให้เกิดดอกบัวและในดอกบัวนั้นก็มีพระอาทิพุทธอุบัติขึ้น
แล้วพระอาทิพุทธจึงแบ่งภาคเป็นพระอวโลกิเตศวรแล้วพระอวโลกิเตศวรจึงได้สร้างเทพและศักติทั้งหลายขึ้น
ก่อนที่เทพและศักติทั้งหลายจะสร้างโลก
ซึ่งต่อมาพระอวโลกิเตศวรได้จำแลงภาคเป็นพระแม่กวนอิมซึ่งสอดคล้องกับความเชื่อเรื่องมาดาแห่งสรรพชีวิตของลัทธิเต๋า
ซึ่งตำนานฝ่ายพุทธก็ว่าพระแม่กวนอิมได้อวตารเป็น เจ้าแม่เต้าโบ้เทียนจุน (หรือ
ไซอ๋วงบ๋อ หรือบางตำนานก็ว่าซีหวังมู่) เป็นมารดาแห่งกลุ่มดาวเหนือทั้งเก้า
ซึ่งดาวเหนือทั้งเก้าหรือ北斗七星ดาวปักเต้าชิกแซทั้ง 7 ดาวจักรพรรดิ์ผู้ควบคุมความตาย และกลุ่มดาวหนานเต้าลักแซ 南斗六星ประจำทิศใต้ทั้ง 6 เทพผู้ควบคุมการเกิด
ภาพที่ 1: กลุ่มดาวปักเต้าเหนือ 北斗 (ดาวหมีใหญ่) และหนานเต้าใต้ 南斗(ราศีธนู)
ในทางดาราศาสตร์จีนมองว่ากลุ่มดาวปักเต้าเป็นประตูสวรรค์ กระเช้า
(ใส่ปลาของพระแม่กวนอิม) ราชรถ กระบวยตักน้ำ ฯลฯ แต่ไทยมองว่าเป็นกลุ่มดาวจระเข้
ส่วนชาวกรีกโรมันโบราณมองเป็นรูปกลุ่มดาวหมีใหญ่และกลุ่มดาวหมีเล็ก
อินเดียและชนชาติอื่นมองว่ามี 7 ดวง แต่ต่อมาชาวจีนมองว่ากลุ่มดาวจระเข้มี 9
ดวง
ตามความเชื่อลัทธิเต๋าของจีนดาวทั้งเก้าในกลุ่มดาวจระเข้คือเหล่าผู้นำหรือผู้ปกครองที่ทรงคุณธรรมทั้งเก้าท่านที่จะลงมาจุติในโลกมนุษย์เพื่อช่วยเหลือสรรพสัตว์ในแต่ละยุคสมัยชองจีน
เมื่อเต๋ารับเทพฮินดูผ่านไปทางพุทธศาสนา ในทางพุทธศาสนามหายานจีนก็รับจักรพรรดิทั้ง
9 หรือ九王爷กิวอ๋องเย๋ (หวางเย่)กลับมาเป็นพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ของพระพุทธศาสนา
ประจำเทศกาลกินเจ九皇佛祖 (กิ้วอ้วงฮุดโจ้ว) หรืออริยพุทธทั้งเก้าท่าน
โดยนำไปเชื่อมโยงกับดาวนพเคราะห์ทั้งเก้า九曜 กิวเอี๋ยว ที่อ้างว่าจะมาเรียงตัวกันในเทศกาลกินเจ
และนำดาวจระเข้ทั้งเจ็ด หรือ北斗七星ดาวปักเต้า
เพียงเจ็ดดวงมาเรียงต่อกับพระโพธิสัตว์หรือพระพุทธเจ้าซึ่งเป็นตัวแทนแห่งพระอาทิตย์
และพระจันทร์ ซึ่งแต่เดิมน่าจะเป็นบริวารพระไภษัชยคุรุ
ซึ่งก็อาจจะเชื่อมโยงกับพุทธเจ้าแห่งการแพทย์ทั้งเจ็ดของมหายานในธิเบต 药师七佛/藥師七佛ซึ่งได้แก่
ภาพที่ 2: 7 medicine Buddha (Saptabhaishajyagurus)
Refer to: https://www.pulung.com/threedbuddha_seven_01_simp.php (ในภาพเป็นอักษรจีนตัวเต็ม ใน blog เป็นอักษรจีนตัวย่อ)
1)善称名吉祥王如来 พระสุประกีรติตานามศรี
พุทธเจ้า ,พระสุปริกีรติตานามศรี พุทธเจ้า หรือพระสุนามยศศิริราชาตถาคต
2)宝月智严光音自在王如来 พระนิรโฆษราชพุทธเจ้า, พระสวรโฆษราชพุทธเจ้า
หรือพระรัตนจันทรประภาปรัชญาประภาศัพทศวรราชาตถาคต
3)金色宝光妙行成就如来 พระสุวรรณภัทรวิมลพุทธเจ้า,พระสุวรรณภัทรวิมลรัตนประภาสพุทธเจ้า หรือพระสุวรรณรัตนประภามัญชุจรยสิทธิตถาคต
4)无忧最胜吉祥如来 พระอโศกัตตามศรี
พุทธเจ้า หรือ พระอโศกาวิชยตถาคต
5)本师迦牟尼佛 (พระศากยมุนี)/
藥師琉璃光(王)如來
พระไภษัชยคุรุพุทธเจ้า หรือพระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาตถาคต (ตรงกลาง)
6)法海雷音如来พระธรรมกีรติสาครโฆษพุทธเจ้า หรือพระธรรมสาครครชิตศัพทตถาคต
7)法海胜慧游戏神通如来 พระ อภิชญาราชพุทธเจ้า หรือพระธรรมสาครชยประภาอภิญญากรีฑาตถาคต
ทำให้พิธีกินเจตามโรงเจซึ่งเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมของพุทธ+เต๋า ผสมกลมกลืนไปกับวัฒนธรรมชาวจีนในเมืองไทย
ซึ่งไปตรงกับเทศกาลนวราตรีของศาสนาฮินดูซึ่งมีการบูชาเจ้าแม่ทุรคาทั้งเก้าปาง
โดยบางปีเทศกาลกินเจก็ตรงกับเทศกาลนวราตรี
แต่บางปีก็ไม่ตรงกันบางทำโหราศาสตร์จีนและอินเดียที่ต่างก็ถือฤกษ์ยามตามระบบจันทรคติเป็นสำคัญ ซึ่งเป็นที่น่าสนใจว่า เจ้าแม่เต้าโบ้เทียนจุน เป็นแม่ของกลุ่มดาวเหนือปักเต้าที่ว่ามีเจ็ดบางเก้าบาง ส่วนทุรคาเทวีเป็นปางหนึ่งของอุมาเทวีชายาพระศิวะเมื่อครั้งที่แต่งงานกันก็มีสัปตฤาษีทั้งเจ็ดมาช่วยงานแต่งงานโดยสัปตฤาษีทั้งเจ็ดนี้ก็คือกลุ่มดาวหมีใหญ่หรือกลุ่มดาวปักเต้าของจีนเช่นเดียวกัน สัปตฤาษีทั้งเจ็ดมีการจัดไว้ต่างกันแล้วแต่ตำนานแต่ที่นิยมคือ 1) กระตุ, 2) ปุลหะ, 3) ปุลัสตยะ (ท้าวลัสเตียน), 4) อาตริ, 5) อังคีรัส, 6) วสิษฐะ, 7) ภฤคุ โดยในบางตำนานก็มีฤาษี มริจี เข้ามาแทนที่ฤาษีภฤคุ ซึ่งสอดคล้องกับโพธิสัตว์มริจีในเรื่องห้องสิน (เฟิงเฉินหยั่นอี้ 封神演义) ที่เป็นเพศชายเช่นกัน แต่ต่อมาเมื่อความนิยมเปลี่ยนโพธิสัตว์ให้อวตารเป็นเพศหญิงมริจีโพธิสัตว์จึงกลายเป็นอวตารของเจ้าแม่กวนอิมหรือเจ้าแม่เต้าโบ้เทียนจุน มาดาแห่งเทพเจ้าดาวเหนือจีนทั้ง 9
รูปที่ 3: เจ้าแม่เต้าโบ้เทียนจุน
Refer to: https://m.sohu.com/n/455473304/
|
รูปที่ 4: ตรีเทวีของฮินดู
|
รูปที่ 5: กลุ่มดาวปักเต้าชิกแซ (หรือดาวกระบวยเหนือ)
|
|
รูปที่ 6: ดาวต่าง ๆ ในกลุ่มดาวหมีใหญ่
|
รูปที่ 7: ดาวทั้งเก้าในกลุ่มดาวปักเต้า
|
ตาราง A แสดงความเชื่อเรื่องเทพทั้งเก้าตนประจำกลุ่มดาวจระเข้แบบ 7 ดวง
(ก่อนที่จะเปลี่ยนกลายเป็นเทพนพเคราะห์ของพุทธศาสนา)
(ก่อนที่จะเปลี่ยนกลายเป็นเทพนพเคราะห์ของพุทธศาสนา)
No.
|
九王爷
กิวอ๋องเย๋ (หวางเย่)
|
北斗七星
ดาวปักเต้า
|
กลุ่มดาวจระเข้ ฯ
|
九曜
กิวเอี๋ยว
|
ดาวนพเคราะห์จีน
|
นพเคราะห์ฮินดู
|
九皇佛祖
(กิ้วอ้วงฮุดโจ้ว)
|
บริวารพระไภษัชยคุรุ
|
1.
|
“勾陈天皇大帝”
(Vega Star)
|
Gou Chen Tian Huang Da Di
โกวเซินเทียนหวงต้าตี้ |
ดาวเวกา/
Alpha Lyrae
|
太陽星君
|
ดาวไท้เอี๊ยงแชกุง
|
พระอาทิตย์
|
最勝世界運意通證如來佛
พระวิษยโลกมนจรพุทธะ
|
ยิกกวงผ่อสัก
日光王菩薩พระสุริยะประภาโพธิสัตว์
|
2.
|
“北极紫微大帝”
(Polaris Star)
|
Bei Ji Zhi Wei Da Di
เปยจีซือเวยต้าตี้ |
ดาวเหนือ/
Polaris /
Alpha
Ursae Minoris
|
太陰星君
|
ดาวไท้อิมแชกุง
|
พระจันทร์
|
妙寶世界光音自在如來พระศรีรัตนโลกประภาโฆษธิศวรพุทธะ
|
อ่วยกวงผ่อสัก
月光王菩薩พระจันทรประภาโพธิสัตว์
|
3.
|
“贪 狼”
|
Tan Lang
ทานหลาง
|
ดาว Dubhe /Alpha
Ursae Majoris樞
|
火星君
|
ดาวฮวยแชกุง
|
ดาวพระอังคาร
|
圓滿世界金色成就如來พระเวปูลลรัตนโลกสุวรรณสิทธิพุทธะ
|
|
4.
|
“巨 门”
|
Ju Meng
จวี้เหมิน
|
ดาว Merak /Beta Ursae
Majoris璇
|
水星君
|
ดาวจุ๊ยแชกุง
|
ดาวพระพุธ
|
無憂世界最勝吉祥如來
พระอโศโลกวิชยมังคลพุทธะ
|
|
5.
|
“禄 存”
|
Lu Chun
ลู่ฉุน
|
ดาวPhecda/Gamma Ursae Majoris璣
|
木星君
|
ดาวบั๊กแชกุง
|
ดาวพระพฤหัสบดี
|
淨住世界廣達智辨如來
พระวิสุทธอาศรมเวปุลลปริชญาวิภาคพุทธะ
|
|
6.
|
“文 曲”
|
Wen Qu
เหวินฉวี่
|
ดาว Megrez /Delta
Ursae Majoris權
|
金星君
|
ดาวกิมแชกุง
|
ดาวพระศุกร์
|
法意世界法海遊戲如來
พระธรรมมติธรรณสาครจรโลกมโนพุทธะ
|
|
7.
|
“廉 贞”
|
Lian Zhen
เหลียนเจิน
|
ดาว Alioth /Epsilon
Ursae Majoris玉衡
|
土星君
|
ดาวโท้วแชกุง
|
ดาวพระเสาร์
|
琉璃世界藥師琉璃光如來
พระเวปุลลจันทรโลกเภสัชชไวฑูรยพุทธะ
|
|
8.
|
“武 曲”
|
Wu Qu
อู๋ฉวี่
|
ดาว Mizar/ Zeta Ursae Majoris開陽
|
罗睺星君
|
ล่อเกาแชกุง
(หลัวโหวซิงจุน)
|
พระราหู
|
妙喜世界華藏莊嚴菩薩
พระโพธิสัตว์ศรีสุขโลกปัทมครรภอลังการ
|
|
9.
|
“破 军”
|
Po Jun
พ่อจวิน
|
ดาว Alkaid/ Eta Ursae Majoris劍/破軍星
|
计都星君
|
โกยโต้วแชกุง
|
พระเกตุ
|
妙圓世界安樂自在菩薩
พระโพธิสัตว์ศรีเวปูลลสังสารโลกสุขเอศวร
|
💥💥💥💥💥💥💥💥💥💥💥
ตาราง B แสดงความเชื่อเรื่องเทพทั้งเก้าตนประจำกลุ่มดาวจระเข้แบบ 9 ดวง
(ก่อนที่จะเปลี่ยนกลายเป็นเทพนพเคราะห์ของพุทธศาสนา)
No.
|
九王爷
กิวอ๋องเย๋ (หวางเย่)
|
北斗七星
ดาวปักเต้า
|
กลุ่มดาวจระเข้ ฯ
|
九曜
กิวเอี๋ยว
|
ดาวนพเคราะห์จีน
|
นพเคราะห์ฮินดู
|
九皇佛祖
(กิ้วอ้วงฮุดโจ้ว)
|
บริวารพระไภษัชยคุรุ
|
1.
|
“贪 狼”
|
Tan Lang
ทานหลาง
| ดาว Dubhe /Alpha Ursae Majoris樞 |
太陽星君
|
ดาวไท้เอี๊ยงแชกุง
|
พระอาทิตย์
|
最勝世界運意通證如來佛
พระวิษยโลกมนจรพุทธะ
|
ยิกกวงผ่อสัก 日光王菩薩พระสุริยะประภาโพธิสัตว์
|
2.
|
“巨 门”
|
Ju Meng
จวี้เหมิน
| ดาว Merak /Beta Ursae Majoris璇 |
太陰星君
|
ดาวไท้อิมแชกุง
|
พระจันทร์
|
妙寶世界光音自在如來พระศรีรัตนโลกประภาโฆษธิศวรพุทธะ
|
อ่วยกวงผ่อสัก 月光王菩薩พระจันทรประภาโพธิสัตว์
|
3.
| “禄 存” |
Lu Chun
ลู่ฉุน
| ดาวPhecda/Gamma Ursae Majoris璣 |
火星君
|
ดาวฮวยแชกุง
|
ดาวพระอังคาร
|
圓滿世界金色成就如來พระเวปูลลรัตนโลกสุวรรณสิทธิพุทธะ
| |
4.
| “文 曲” |
Wen Qu
เหวินฉวี่
| ดาว Megrez /Delta Ursae Majoris權 |
水星君
|
ดาวจุ๊ยแชกุง
|
ดาวพระพุธ
|
無憂世界最勝吉祥如來
พระอโศโลกวิชยมังคลพุทธะ
| |
5.
| “廉 贞” |
Lian Zhen
เหลียนเจิน
| ดาว Alioth /Epsilon Ursae Majoris玉衡 |
木星君
|
ดาวบั๊กแชกุง
|
ดาวพระพฤหัสบดี
|
淨住世界廣達智辨如來
พระวิสุทธอาศรมเวปุลลปริชญาวิภาคพุทธะ
| |
6.
| “武 曲” |
Wu Qu
อู๋ฉวี่
| ดาว Mizar/ Zeta Ursae Majoris開陽 |
金星君
|
ดาวกิมแชกุง
|
ดาวพระศุกร์
|
法意世界法海遊戲如來
พระธรรมมติธรรณสาครจรโลกมโนพุทธะ
| |
7.
| “破 军” |
Po Jun
พ่อจวิน
| ดาว Alkaid/ Eta Ursae Majoris劍/破軍星 |
土星君
|
ดาวโท้วแชกุง
|
ดาวพระเสาร์
|
琉璃世界藥師琉璃光如來
พระเวปุลลจันทรโลกเภสัชชไวฑูรยพุทธะ
| |
8.
| “左輔” |
Jou Fu
| ดาว Alcor A寿命星/死兆星 |
罗睺星君
|
ล่อเกาแชกุง
(หลัวโหวซิงจุน)
|
พระราหู
|
妙喜世界華藏莊嚴菩薩
พระโพธิสัตว์ศรีสุขโลกปัทมครรภอลังการ
| |
9.
| “右弼” |
You Pi
| ดาว Alcor B |
计都星君
|
โกยโต้วแชกุง
|
พระเกตุ
|
妙圓世界安樂自在菩薩
พระโพธิสัตว์ศรีเวปูลลสังสารโลกสุขเอศวร
|
หมายเหตุ: ก) ในตำนานญี่ปุ่นเรียกดาว Alcor (อรุนธตี) ว่า寿命星 (จุมโยโปชิ: ดาวแห่งอายุ) ที่เชื่อกันว่าถ้าใครไม่เห็นดาวดวงนี้จะตายภายในปีนั้น หรือ (ซือโจชิ: ดาวแห่งความตาย)死兆星 และมีความเชื่อว่าถ้าใครเห็นดาวดวงนี้จะตายภายในปีนั้น (เห็นก็ตายไม่เห็นก็ตาย? แล้วแต่ความเชื่อ) ข) ส่วนตำนานอินเดียดาวอรุนธตีคือชายาผู้ซื่อสัตย์ของฤๅษีวสิษฐะ เนื่องจากชายาทั้งเจ็ดของสัปตฤๅษีมีความงามมากวันหนึ่งนางสวาหเทวีแห่งขี้เถ้าชายาพระอัคนีเทพแห่งไฟจึงแปลงกายเป็นภรรยาทั้งหกของสัปตฤๅษีเพื่อมีสัมพันธ์สวาทกับพระอัคนี แต่ยกเว้นแต่นางอรุนธตีที่มีอำนาจความสัตย์มากจนนางสวาหา (คนละตนกับสวาหะหรืออัญชนาแม่หนุมาน) ไม่สามารถแปลงกายเป็นนางได้ด้วยความอายนางสวาหาจึงแปลงเป็นนกแล้วบินหนีไป
สรุป 九王爷 กิวอ๋องเย๋ (หวางเย่) หรือดาวจักรพรรดิทั้ง 9 ที่เป็นอวตารของอริยพุทธทั้ง 9 (九皇佛祖กิ้วอ้วงฮุดโจ้ว) ได้แก่
1. ไต้ข่วยเอี๊ยงเม้งทัมหลังไท้แชกุน大魁陽明贪狼太星君 คือดาวทานหลาง
(ทัมหลัง)贪 狼/Dubhe (กรตุฤๅษี)ในกลุ่มดาวปักเต้า
(Ursa Major กระบวยเหนือ) เห็นได้ชัดจากอักษร贪 ทัน (ทาน) 狼 หลัง (หลาง)
2. ไต้เจียกอิมเจ็งกื้อมึ้งง้วนแชกุน 大鬼勺陰精巨門元星君คือดาวจวี้เหมิน
(กื้อมึ้ง) 巨 门/ Merak (ปุลหฤๅษี) ในกลุ่มดาวปักเต้า (Ursa Major กระบวยเหนือ) เห็นได้ชัดจากอักษร巨 กื้อ (จวี้) 門 มึ้ง (门เหมิน)
3. ไต้กวนจิงหยิ้งลกชุ๊งเจงแชกุน 大鬼雚真人祿存貞星君คือดาวลู่ฉุน (ลกชุ๊ง) 禄 存/Phecda
(ปุลัสตยฤๅษี)
ในกลุ่มดาวปักเต้า (Ursa Major กระบวยเหนือ)
เห็นได้ชัดจากอักษร祿 ลก (禄ลู่) 存ชุ๊ง (ฉุน)
4. ไต้ฮั้งเฮี่ยงเม้งบุ่งเคียกนิวแชกุน 大鬼行玄冥文曲紐星君คือดาวเหวินฉวี่
(บุ่งเคียก) 文 曲/ Megrez
(อัตริฤๅษี) ในกลุ่มดาวปักเต้า (Ursa
Major กระบวยเหนือ) เห็นได้ชัดจากอักษร文 บุ่ง (เหวิน) 曲เคียก (ฉวี่)
5. ไต้ปิ๊กตังง้วนเนี้ยมเจงกังแชกุน 大鬼畢丹元廉貞罡星君คือดาวเหลียนเจิน
(เนี้ยมเจง) 廉 贞/ Alioth (อังคีรสฤๅษี)
ในกลุ่มดาวปักเต้า (Ursa Major กระบวยเหนือ) เห็นได้ชัดจากอักษร廉 เนี้ยม (เหลียน) 貞 เจง (贞เจิน)
6. ไต้โพ้วปั๊กเก๊กบู๊เคียกกี่แชกุน 大鬼甫北極武曲紀星君คือดาวอู๋ฉวี่ (บู๊เคียก) 武 曲/
Mizar (วสิษฐฤๅษี) ในกลุ่มดาวปักเต้า (Ursa Major กระบวยเหนือ)
เห็นได้ชัดจากอักษร武 บู๊ (อู๋) 曲เคียก (ฉวี่)
7. ไต้เพียวเทียนกวนพั่วกุงกวนแชกุน 大魒天關破軍關星君คือดาวพ่อจวิน (พั่วกุง) 破 军/
Alkaid (มริจี/ภฤคุฤๅษี) ในกลุ่มดาวปักเต้า (Ursa Major กระบวยเหนือ)
เห็นได้ชัดจากอักษร破 พั่ว (พ่อ) 軍กุง (军จวิน)
8. ตั่งเม้งงั่วหูแชกุน洞明外輔星君/天蓬元帥外輔星君คือดาวจั๋วฝู่ (จ๋อหู) 左輔/ Alcor/Alcor A (อรุนธตีฤๅษิณี)ในกลุ่มดาวปักเต้า (Ursa Major กระบวยเหนือ)
เห็นได้ชัดจากอักษร輔 หู (ฝู่)
9. ฮุ้ยกวงไล้เพี๊ยกแชกุน隱光內弼星君/天猷元帥內弼星君คือดาวโย่วปี้ (อิ่วเพี๊ยก)
右弼 /Alcor B/ M51/M97 (อรุนธตีฤๅษิณี) ในกลุ่มดาวปักเต้า
(Ursa Major กระบวยเหนือ) เห็นได้ชัดจากอักษร弼 เพี๊ยก (ปี้)
💥ในบางตำนานเชื่อมโยงดาวทั้งเจ็ดดาวในกลุ่มดาว北斗七星ดาวปักเต้าจีน (กลุ่มหมีใหญ่ของกรีก) กับดาวเหนือ Polaris / Alpha Ursae Minoris และดาวเวกา Vega/ Alpha Lyrae ซึ่งมีอิทธิพลต่อการหาทิศและฤดูกาลมาแต่ครั้งโบราณเพราะแต่เดิมดาวเวกาทำหน้าที่ใช้นำทางไปทางทิศเหนืออยู่ราว 12,000-14,000 ปีแล้วจนเมื่อโลกเปลี่ยนทิศทางทำให้ปัจจุบันใช้ดาวโพลาริส Polaris เป็นดาวเหนือเพื่อหาทิศเหนือในปัจจุบัน โดยในตำนานจีนโบราณดาวเวกาในกลุ่มดาวพิณคือ “จือหนวี่” (织女, สาวทอผ้า) ซึ่งหลงรักหนุ่มเลี้ยงวัวหรือดาวอัลแตร์ Altair อยู่ในกลุ่มดาวนกอินทรี (Aquila) ซึ่งเป็นเทศกาลแห่งความรักของจีนในช่วงฤดูร้อน (ฤดูฝนของไทย) ส่วนในช่วงกินเจที่จัดขึ้นตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 9 ไปจนถึงวันขึ้น 9 ค่ำ เดือน 9 ของทุกปี ตามปฏิทินจันทรคติของจีน เดิมเรียกว่าเทศกาล ‘จิ่วหวงเซิ่งหุ้ย’ (กิ้วอ๋องเซ่งโห่ย) 九皇勝會แปลว่าชัยชนะของกษัตริย์ทั้งเก้า (ดาวปักเต้า) แต่ไทยเราเรียกง่ายว่า ‘เทศกาลกินเจ’ เป็นช่วงปลายฤดูใบไม้ร่วง ต่อต้นฤดูหนาว ที่กลางคืนจะเริ่มยาวกว่ากลางวัน อาจจะมีความสำคัญกับพิธีกรรมเกี่ยวกับความอุดมสมบูรณ์ หรือการเตรียมความพร้อมสำหรับการปรับตัวให้เข้ากับช่วงฤดูหนาวที่เนื้อสัตว์เป็นของหายากมีราคาแพงในช่วงฤดูหนาว และเชื่อว่าแต่เดิมการกินเจนั้นเป็นการถือศีลถือพรตของพวกนักบวช หรือพิธีกรรมทางศาสนาไม่ใช่เพื่อสุขภาพ ต่อมาสมัยหลังเมื่อพบว่าพวกนักบวชนักพรตมีอายุยืนเพราะบริโภคน้อยไม่กินเนื้อสัตว์แล้วจึงได้เข้าใจว่าการกินเจเพื่อสุขภาพและล้างพิษในภายหลัง
ตามการที่นำดาวเวกา
และดาวโพลาริส มาจัดว่าเป็นเก้าอ๋องแห่งกลุ่มดาวเหนือนั้นก็เป็นตำนานหนึ่งของจีน
แต่ก็มีอีกตำนานหนึ่งที่กล่าวว่าเก้าอ๋องแห่งกลุ่มดาวเหนือคือ
ดาวทั้งเก้าแห่งกลุ่มดาวปักเต้าจีน เพราะคนจีนมองว่า北斗七星ดาวปักเต้าจีน
(กลุ่มหมีใหญ่ของกรีก) มีเก้าดวงเพราะนอกจากจะมีดาวหลักเจ็ดดวงได้แก่ 1)“贪 狼” ทานหลาง 2)“巨
门”
จวี้เหมิน 3)“禄 存” ลู่ฉุน 4)“文 曲” เหวินฉวี่ 5)“廉 贞” เหลียนเจิน 6)“武
曲”
อู๋ฉวี่ และ 7)“破 军” พ่อจวิน หรือ劍 เจี้ยน (ดาบ) ใช้ประโยชน์ในการทำนายชัยชนะหรือการพ่ายแพ้ของกองทัพ
โดยที่ดาวทั้งเจ็ดเป็นดวงดาวที่เห็นได้ชัดเจนแล้วยังมีดาวซ่อนเร้นอีก 2
ดวงหรือ
สองซ่อนเร้น 二隱 ( เอ้อรฺหยิน) ได้แก่ 8) 左輔 จั๋วฝู่ ในทางดาราศาสตร์สากลคือดาว Alcor (ซึ่งในทางอินเดียเรียกว่าอรุนธตี ผู้เป็นชายาของวสิษฐะ Mizar ชื่อว่าเป็นดาวแฝดปรากฏในนวนิยายเรื่องซันต๊อกมหาราชินีละครทีวีของเกาหลีในอดีตซึ่งควรแปลเป็นดาวจระเข้
ดาวเหนือ หรือดาวหมีใหญ่
แต่ผู้แปลกลับแปลผิดเป็นกลุ่มดาวลูกไก่ซึ่งอยู่ในราศีพฤกษภต้องหมุนไปตามจักรราศีจึงใช้หาทิศเหนือไม่ได้
เพราะขาดความรู้ด้านดาราศาสตร์)
และ 9) 右弼
โย่วปี้ อาจจะเป็นดาว Whirlpool Galaxy / Messier 51 (M51) หรือ Owl Nebula (M97) ซึ่งเป็นดาวที่สุกสว่างขึ้นในบางครั้งตามตำแหน่งที่ชาวจีนโบราณอาจจะเห็นในท้องฟ้าทางเหนือ
อย่างไรก็ตามเชื่อว่าพิธีกินเจตามเทศกาลบูชาดาวเหนือน่าจะมีมาในหมู่ชาวจีนตั้งแต่ 2,500 ปีแล้ว โดยแต่เดิมน่าจะเป็นพิธีในท้องถิ่นหรือพิธีกรรมในลัทธิเต๋าของจีนมาก่อน ต่อมาจึงรับเข้ามาในพุทธศาสนาที่ปรับให้เข้ากับหลักพรหมวิหารสี่และอหิงสาของฮินดูธรรมได้อย่างไม่ขัดแย้งกันดังเรื่องการไม่ควรบริโภคเนื้อสัตว์ในคัมภีร์ลังกาวตารสูตรของพุทธศาสนามหายานทำให้พระจีนต้องกินเจไม่ต่างจากนักพรตในลัทธิเต๋าเพื่อสร้างศรัทธาให้ชาวบ้านซึ่งก็คงจะเป็นสาเหตุหนึ่ง และประกอบกับพระภิกษุชาวจีนมีเมตตาธรรมสูงไม่ต้องการให้ชาวบ้านที่ยากจนเดือดร้อนปรุงอาหารที่ประกอบด้วยเนื้อสัตว์ที่มีราคาแพงในช่วงฤดูหนาวมาถวายพระสงฆ์ซึ่งถ้าพระคุณเจ้าทั้งหลายจะเลือกกินเจเฉพาะเทศกาลหรือฤดูหนาวก็คงเป็นเรื่องประหลาด และการไม่บริโภคเนื้อสัตว์ก็ไม่ขัดกับหลักธรรมทางพุทธศาสนาอยู่แล้วไม่ว่าจะเป็นการกินเจตลอดชีวิตของพระจีน หรือกินเจตามเทศกาลของชาวบ้าน (เทศกาลกินเจก็เป็นช่วงต้นฤดูหนาวของจีน) ทำให้การกินเจสืบทอดและต่อเนื่องกันมายาวนานด้วยรากฐานทางความเชื่อพุทธ+เต๋าแบบจีน ๆ โดยพุทธจีนเปลี่ยนว่าการกินเจเป็นบูชาเทพนพเคราะห์แทนซึ่งความเชื่อเรื่องเทพนพเคราะห์เป็นความเชื่อที่รับมาจากฮินดูอีกต่อหนึ่งมีกลิ่นไอโหราศาสตร์อินเดียชัดเจน แต่เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมในช่วงสมัยการเปลี่ยนแปลงการปกครองทำให้เทศกาลกินเจไม่มีในประเทศจีน แต่จะมีการกินเจตามวัด และการกินเจตลอดชีวิตของนักบวชเท่านั้น ปัจจุบันเทศกาลกินเจแพร่หลายอยู่ในประเทศไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย เป็นต้น เฉพาะในพื้นที่มีจีนโพ้นทะเลซึ่งเป็นคนเชื้อสายจีนอพยพมาอาศัยในถิ่นต่าง ๆ ในอาเซียน
บทสวดปักเต้าเก็งบูชาเทพเจ้าดาวเหนือของเต๋า หรือเทพนพเคราะห์ของฮินดูที่พุทธมหายานรับมาเป็นพุทธเจ้าหรือพระโพธิสัตว์
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)