วันอาทิตย์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2562

การบูชาเทพเจ้าดาวเหนือทั้งเก้าของจีนกับเทศกาลกินเจ



เทพสตรีองศ์สำคัญในทางลัทธิเต๋าเรียกว่า ต่าวหมู่หยวนจวิน เต๋าบ้อหง่วงกุง เต้าโบ้หงวนกุน หรือเต้าโบ้เทียนจุน 斗姆元君,斗姆天尊 ) ในหมู่ชาวจีนตามแต่งสำเนียงท้องถิ่นที่ใช้ เดิมเป็นพระแม่แห่งดวงดาวมารีจี ( 摩利支 ) มหาโพธิสัตว์ของพุทธศาสนานิกายมหายาน และนั่งบนราชรถเทียมด้วยหมู่ป่า 7 ตัว หรือทรงหมู่ป่าหรือราชสีห์ตัวใหญ่เป็นพาหนะ พระนางมีสามพักตร์คือหน้ามนุษย์ตรงกลางหน้ายักษ์ (โกรธ) และหน้าหมู (เจ้าแม่วราหีของอินเดีย) และมีแปดกรทรงศาสตราวุทธต่าง ๆ ซึ่งพระแม่มารีจีโพธิสัตว์นี้ได้รับอิทธิพลจากทุรคาเทวีของอินดูอีกต่อหนึ่ง ส่วนในทางพุทธศาสนามหายานในบางตำนานถือว่าเป็นอวตารของพระแม่กวนอิม
                  ในศาสนาฮินดีนิกายศักติกล่าวว่าเมื่อจักรวาลว่างเปล่าไม่มีสิ่งใดเลยแต่แรกเริ่ม ความดีและมนตราทั้งหลายได้รวมกันจนเกิดเป็นอาทิปราศักติขึ้น แล้วอาทิปราศักติจึงได้สร้างเทพเจ้าทั้งสาม คือพระพรหม พระนารายณ์ และพระศิวะขึ้น จากนั้นก็อวตารไปเป็นพระชายา (ศักติ) ของเทพเจ้าทั้งสาม ก่อนที่เทพเจ้าทั้งสามจะสรรค์สร้างเทพทั้งหลายและจักรวาลขึ้น ซึ่งความเชื่อเรื่องอาทิปราศักตินี้สอดคล้องกับความเชื่อเรื่องมาดาแห่งสรรพชีวิตในลัทธิเต๋า และพุทธศาสนามหายานในคัมภีร์อวโลกิเตศวร การัณฑวยูหสูตรของธิเบตและอินเดียได้กล่าวก่อนที่จักรวาลจะเกิดขึ้นธรรมชาติแห่งพุทธก่อให้เกิดดอกบัวและในดอกบัวนั้นก็มีพระอาทิพุทธอุบัติขึ้น แล้วพระอาทิพุทธจึงแบ่งภาคเป็นพระอวโลกิเตศวรแล้วพระอวโลกิเตศวรจึงได้สร้างเทพและศักติทั้งหลายขึ้น ก่อนที่เทพและศักติทั้งหลายจะสร้างโลก ซึ่งต่อมาพระอวโลกิเตศวรได้จำแลงภาคเป็นพระแม่กวนอิมซึ่งสอดคล้องกับความเชื่อเรื่องมาดาแห่งสรรพชีวิตของลัทธิเต๋า ซึ่งตำนานฝ่ายพุทธก็ว่าพระแม่กวนอิมได้อวตารเป็น เจ้าแม่เต้าโบ้เทียนจุน (หรือ ไซอ๋วงบ๋อ หรือบางตำนานก็ว่าซีหวังมู่) เป็นมารดาแห่งกลุ่มดาวเหนือทั้งเก้า ซึ่งดาวเหนือทั้งเก้าหรือ北斗七ดาวปักเต้าชิกแซทั้ง 7 ดาวจักรพรรดิ์ผู้ควบคุมความตาย และกลุ่มดาวหนานเต้าลักแซ 南斗六星ประจำทิศใต้ทั้ง 6  เทพผู้ควบคุมการเกิด
ภาพที่ 1: กลุ่มดาวปักเต้าเหนือ 北斗 (ดาวหมีใหญ่) และหนานเต้าใต้ 南斗(ราศีธนู)

                   ในทางดาราศาสตร์จีนมองว่ากลุ่มดาวปักเต้าเป็นประตูสวรรค์ กระเช้า (ใส่ปลาของพระแม่กวนอิม) ราชรถ กระบวยตักน้ำ ฯลฯ แต่ไทยมองว่าเป็นกลุ่มดาวจระเข้ ส่วนชาวกรีกโรมันโบราณมองเป็นรูปกลุ่มดาวหมีใหญ่และกลุ่มดาวหมีเล็ก อินเดียและชนชาติอื่นมองว่ามี 7 ดวง แต่ต่อมาชาวจีนมองว่ากลุ่มดาวจระเข้มี 9 ดวง ตามความเชื่อลัทธิเต๋าของจีนดาวทั้งเก้าในกลุ่มดาวจระเข้คือเหล่าผู้นำหรือผู้ปกครองที่ทรงคุณธรรมทั้งเก้าท่านที่จะลงมาจุติในโลกมนุษย์เพื่อช่วยเหลือสรรพสัตว์ในแต่ละยุคสมัยชองจีน เมื่อเต๋ารับเทพฮินดูผ่านไปทางพุทธศาสนา ในทางพุทธศาสนามหายานจีนก็รับจักรพรรดิทั้ง 9 หรือ九王爷กิวอ๋องเย๋ (หวางเย่)กลับมาเป็นพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ของพระพุทธศาสนา ประจำเทศกาลกินเจ九皇佛祖 (กิ้วอ้วงฮุดโจ้ว) หรืออริยพุทธทั้งเก้าท่าน โดยนำไปเชื่อมโยงกับดาวนพเคราะห์ทั้งเก้า九曜 กิวเอี๋ยว ที่อ้างว่าจะมาเรียงตัวกันในเทศกาลกินเจ และนำดาวจระเข้ทั้งเจ็ด หรือ北斗七ดาวปักเต้า เพียงเจ็ดดวงมาเรียงต่อกับพระโพธิสัตว์หรือพระพุทธเจ้าซึ่งเป็นตัวแทนแห่งพระอาทิตย์ และพระจันทร์ ซึ่งแต่เดิมน่าจะเป็นบริวารพระไภษัชยคุรุ ซึ่งก็อาจจะเชื่อมโยงกับพุทธเจ้าแห่งการแพทย์ทั้งเจ็ดของมหายานในธิเบต 药师七佛/藥師七ซึ่งได้แก่


ภาพที่ 2: 7 medicine Buddha (Saptabhaishajyagurus)
Refer to: https://www.pulung.com/threedbuddha_seven_01_simp.php (ในภาพเป็นอักษรจีนตัวเต็ม ใน blog เป็นอักษรจีนตัวย่อ)
1)善称名吉祥王如来 พระสุประกีรติตานามศรี พุทธเจ้า ,พระสุปริกีรติตานามศรี พุทธเจ้า หรือพระสุนามยศศิริราชาตถาคต
2)宝月智严光音自在王如来 พระนิรโฆษราชพุทธเจ้า, พระสวรโฆษราชพุทธเจ้า หรือพระรัตนจันทรประภาปรัชญาประภาศัพทศวรราชาตถาคต
3)金色宝光妙行成就如来 พระสุวรรณภัทรวิมลพุทธเจ้าพระสุวรรณภัทรวิมลรัตนประภาสพุทธเจ้า หรือพระสุวรรณรัตนประภามัญชุจรยสิทธิตถาคต
4)无忧最胜吉祥如来 พระอโศกัตตามศรี พุทธเจ้า หรือ พระอโศกาวิชยตถาคต
5)本师迦牟尼佛 (พระศากยมุนี)/ 藥師琉璃光()如來 พระไภษัชยคุรุพุทธเจ้า หรือพระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาตถาคต (ตรงกลาง)
6)法海雷音如来พระธรรมกีรติสาครโฆษพุทธเจ้า หรือพระธรรมสาครครชิตศัพทตถาคต
7)法海胜慧游戏神通如来 พระ อภิชญาราชพุทธเจ้า หรือพระธรรมสาครชยประภาอภิญญากรีฑาตถาคต 
ทำให้พิธีกินเจตามโรงเจซึ่งเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมของพุทธ+เต๋า ผสมกลมกลืนไปกับวัฒนธรรมชาวจีนในเมืองไทย ซึ่งไปตรงกับเทศกาลนวราตรีของศาสนาฮินดูซึ่งมีการบูชาเจ้าแม่ทุรคาทั้งเก้าปาง โดยบางปีเทศกาลกินเจก็ตรงกับเทศกาลนวราตรี แต่บางปีก็ไม่ตรงกันบางทำโหราศาสตร์จีนและอินเดียที่ต่างก็ถือฤกษ์ยามตามระบบจันทรคติเป็นสำคัญ ซึ่งเป็นที่น่าสนใจว่า เจ้าแม่เต้าโบ้เทียนจุน เป็นแม่ของกลุ่มดาวเหนือปักเต้าที่ว่ามีเจ็ดบางเก้าบาง ส่วนทุรคาเทวีเป็นปางหนึ่งของอุมาเทวีชายาพระศิวะเมื่อครั้งที่แต่งงานกันก็มีสัปตฤาษีทั้งเจ็ดมาช่วยงานแต่งงานโดยสัปตฤาษีทั้งเจ็ดนี้ก็คือกลุ่มดาวหมีใหญ่หรือกลุ่มดาวปักเต้าของจีนเช่นเดียวกัน สัปตฤาษีทั้งเจ็ดมีการจัดไว้ต่างกันแล้วแต่ตำนานแต่ที่นิยมคือ 1) กระตุ, 2) ปุลหะ, 3) ปุลัสตยะ (ท้าวลัสเตียน), 4) อาตริ, 5) อังคีรัส, 6) วสิษฐะ, 7) ภฤคุ โดยในบางตำนานก็มีฤาษี มริจี เข้ามาแทนที่ฤาษีภฤคุ ซึ่งสอดคล้องกับโพธิสัตว์มริจีในเรื่องห้องสิน (เฟิงเฉินหยั่นอี้ 封神演义) ที่เป็นเพศชายเช่นกัน แต่ต่อมาเมื่อความนิยมเปลี่ยนโพธิสัตว์ให้อวตารเป็นเพศหญิงมริจีโพธิสัตว์จึงกลายเป็นอวตารของเจ้าแม่กวนอิมหรือเจ้าแม่เต้าโบ้เทียนจุน มาดาแห่งเทพเจ้าดาวเหนือจีนทั้ง 9



รูปที่ 3:  เจ้าแม่เต้าโบ้เทียนจุน
รูปที่ 4: ตรีเทวีของฮินดู





รูปที่ 5: กลุ่มดาวปักเต้าชิกแซ (หรือดาวกระบวยเหนือ) 


รูปที่ 6: ดาวต่าง ๆ ในกลุ่มดาวหมีใหญ่

รูปที่ 7: ดาวทั้งเก้าในกลุ่มดาวปักเต้า

ตาราง แสดงความเชื่อเรื่องเทพทั้งเก้าตนประจำกลุ่มดาวจระเข้แบบ 7 ดวง
               (ก่อนที่จะเปลี่ยนกลายเป็นเทพนพเคราะห์ของพุทธศาสนา)
No.
九王爷
กิวอ๋องเย๋ (หวางเย่)
北斗七
ดาวปักเต้า
กลุ่มดาวจระเข้
九曜
 กิวเอี๋ยว
ดาวนพเคราะห์จีน
นพเคราะห์ฮินดู
九皇佛祖
(กิ้วอ้วงฮุดโจ้ว)
บริวารพระไภษัชยคุรุ
1.
勾陈天皇大帝
(Vega Star)
Gou Chen Tian Huang Da Di
โกวเซินเทียนหวงต้าตี้
ดาวเวกา/ Alpha Lyrae
太陽星君
 ดาวไท้เอี๊ยงแชกุง
พระอาทิตย์
最勝世界運意通證如來佛
พระวิษยโลกมนจรพุทธะ
ยิกกวงผ่อสัก  日光王菩薩พระสุริยะประภาโพธิสัตว์
2.
北极紫微大帝
(Polaris Star)
Bei Ji Zhi Wei Da Di
เปยจีซือเวยต้าตี้
ดาวเหนือ/ Polaris / Alpha Ursae Minoris
太陰星君
 ดาวไท้อิมแชกุง
พระจันทร์
妙寶世界光音自在如來พระศรีรัตนโลกประภาโฆษธิศวรพุทธะ
อ่วยกวงผ่อสัก  月光王菩薩พระจันทรประภาโพธิสัตว์
3.
Tan Lang
ทานหลาง
ดาว Dubhe /Alpha Ursae Majoris
火星君
 ดาวฮวยแชกุง 
ดาวพระอังคาร
圓滿世界金色成就如來พระเวปูลลรัตนโลกสุวรรณสิทธิพุทธะ

4.
Ju Meng
จวี้เหมิน

ดาว Merak /Beta Ursae Majoris
水星君
 ดาวจุ๊ยแชกุง
ดาวพระพุธ
無憂世界最勝吉祥如來
พระอโศโลกวิชยมังคลพุทธะ

5.
 Lu Chun
ลู่ฉุน
ดาวPhecda/Gamma Ursae Majoris
木星君
 ดาวบั๊กแชกุง
ดาวพระพฤหัสบดี
淨住世界廣達智辨如來
พระวิสุทธอาศรมเวปุลลปริชญาวิภาคพุทธะ

6.
 Wen Qu
เหวินฉวี่

ดาว Megrez /Delta Ursae Majoris
金星君
 ดาวกิมแชกุง
ดาวพระศุกร์
法意世界法海遊戲如來
พระธรรมมติธรรณสาครจรโลกมโนพุทธะ 

7.
 Lian Zhen
เหลียนเจิน

ดาว Alioth /Epsilon Ursae Majoris
土星君
 ดาวโท้วแชกุง
ดาวพระเสาร์
琉璃世界藥師琉璃光如來
พระเวปุลลจันทรโลกเภสัชชไวฑูรยพุทธะ

8.
 Wu Qu
อู๋ฉวี่
ดาว Mizar/ Zeta Ursae Majoris
罗睺星君
 ล่อเกาแชกุง
(หลัวโหวซิงจุน)
พระราหู
妙喜世界華藏莊嚴菩薩
พระโพธิสัตว์ศรีสุขโลกปัทมครรภอลังการ

9.
 
 Po Jun
พ่อจวิน
ดาว Alkaid/ Eta Ursae Majoris/破軍
计都星君
 โกยโต้วแชกุง
พระเกตุ
妙圓世界安樂自在菩薩
พระโพธิสัตว์ศรีเวปูลลสังสารโลกสุขเอศวร



💥💥💥💥💥💥💥💥💥💥💥

        ตาราง B แสดงความเชื่อเรื่องเทพทั้งเก้าตนประจำกลุ่มดาวจระเข้แบบ 9 ดวง 
(ก่อนที่จะเปลี่ยนกลายเป็นเทพนพเคราะห์ของพุทธศาสนา)
No.
九王爷
กิวอ๋องเย๋ (หวางเย่)
北斗七
ดาวปักเต้า
กลุ่มดาวจระเข้ 
九曜
 กิวเอี๋ยว
ดาวนพเคราะห์จีน
นพเคราะห์ฮินดู
九皇佛祖
(กิ้วอ้วงฮุดโจ้ว)
บริวารพระไภษัชยคุรุ
1.
 
Tan Lang
ทานหลาง
ดาว Dubhe /Alpha Ursae Majoris
太陽星君
 ดาวไท้เอี๊ยงแชกุง
พระอาทิตย์
最勝世界運意通證如來佛
พระวิษยโลกมนจรพุทธะ
ยิกกวงผ่อสัก  日光王菩薩พระสุริยะประภาโพธิสัตว์
2.
 
Ju Meng
จวี้เหมิน
ดาว Merak /Beta Ursae Majoris
太陰星君
 ดาวไท้อิมแชกุง
พระจันทร์
妙寶世界光音自在如來พระศรีรัตนโลกประภาโฆษธิศวรพุทธะ
อ่วยกวงผ่อสัก  月光王菩薩พระจันทรประภาโพธิสัตว์
3.
 
 Lu Chun 
ลู่ฉุน
ดาวPhecda/Gamma Ursae Majoris
火星君
 ดาวฮวยแชกุง 
ดาวพระอังคาร
圓滿世界金色成就如來พระเวปูลลรัตนโลกสุวรรณสิทธิพุทธะ

4.
 
 Wen Qu
เหวินฉวี่
ดาว Megrez /Delta Ursae Majoris
水星君
 ดาวจุ๊ยแชกุง
ดาวพระพุธ
無憂世界最勝吉祥如來
พระอโศโลกวิชยมังคลพุทธะ

5.
 
Lian Zhen
เหลียนเจิน
ดาว Alioth /Epsilon Ursae Majoris
木星君
 ดาวบั๊กแชกุง
ดาวพระพฤหัสบดี
淨住世界廣達智辨如來
พระวิสุทธอาศรมเวปุลลปริชญาวิภาคพุทธะ

6.
 
Wu Qu
อู๋ฉวี่
ดาว Mizar/ Zeta Ursae Majoris
金星君
 ดาวกิมแชกุง
ดาวพระศุกร์
法意世界法海遊戲如來
พระธรรมมติธรรณสาครจรโลกมโนพุทธะ 

7.
  
 Po Jun
พ่อจวิน
ดาว Alkaid/ Eta Ursae Majoris/破軍
土星君
 ดาวโท้วแชกุง
ดาวพระเสาร์
琉璃世界藥師琉璃光如來
พระเวปุลลจันทรโลกเภสัชชไวฑูรยพุทธะ

8.
左輔
 Jou Fu
จั๋วฝู่
ดาว Alcor A寿命星/死兆星
罗睺星君
 ล่อเกาแชกุง
(หลัวโหวซิงจุน)
พระราหู
妙喜世界華藏莊嚴菩薩
พระโพธิสัตว์ศรีสุขโลกปัทมครรภอลังการ

9.
右弼
 You Pi
โย่วปี้
ดาว Alcor B
计都星君
 โกยโต้วแชกุง
พระเกตุ
妙圓世界安樂自在菩薩
พระโพธิสัตว์ศรีเวปูลลสังสารโลกสุขเอศวร

หมายเหตุก) ในตำนานญี่ปุ่นเรียกดาว Alcor (อรุนธตี) ว่า寿命星 (จุมโยโปชิ: ดาวแห่งอายุ) ที่เชื่อกันว่าถ้าใครไม่เห็นดาวดวงนี้จะตายภายในปีนั้น หรือ (ซือโจชิ: ดาวแห่งความตาย)死兆星 และมีความเชื่อว่าถ้าใครเห็นดาวดวงนี้จะตายภายในปีนั้น (เห็นก็ตายไม่เห็นก็ตาย? แล้วแต่ความเชื่อ) ข) ส่วนตำนานอินเดียดาวอรุนธตีคือชายาผู้ซื่อสัตย์ของฤๅษีวสิษฐะ เนื่องจากชายาทั้งเจ็ดของสัปตฤๅษีมีความงามมากวันหนึ่งนางสวาหเทวีแห่งขี้เถ้าชายาพระอัคนีเทพแห่งไฟจึงแปลงกายเป็นภรรยาทั้งหกของสัปตฤๅษีเพื่อมีสัมพันธ์สวาทกับพระอัคนี แต่ยกเว้นแต่นางอรุนธตีที่มีอำนาจความสัตย์มากจนนางสวาหา (คนละตนกับสวาหะหรืออัญชนาแม่หนุมาน) ไม่สามารถแปลงกายเป็นนางได้ด้วยความอายนางสวาหาจึงแปลงเป็นนกแล้วบินหนีไป

สรุป 九王爷 กิวอ๋องเย๋ (หวางเย่) หรือดาวจักรพรรดิทั้ง 9 ที่เป็นอวตารของอริยพุทธทั้ง 9 (九皇佛祖กิ้วอ้วงฮุดโจ้ว) ได้แก่
1. ไต้ข่วยเอี๊ยงเม้งทัมหลังไท้แชกุน大魁陽明贪狼太星君 คือดาวทานหลาง (ทัมหลัง) /Dubhe (กรตุฤๅษี)ในกลุ่มดาวปักเต้า (Ursa Major กระบวยเหนือ) เห็นได้ชัดจากอักษร ทัน (ทาน)  หลัง (หลาง) 
2. ไต้เจียกอิมเจ็งกื้อมึ้งง้วนแชกุน 大鬼勺陰精巨門元星君คือดาวจวี้เหมิน (กื้อมึ้ง)  / Merak (ปุลหฤๅษี) ในกลุ่มดาวปักเต้า (Ursa Major กระบวยเหนือ) เห็นได้ชัดจากอักษร กื้อ (จวี้)  มึ้ง (เหมิน) 
3. ไต้กวนจิงหยิ้งลกชุ๊งเจงแชกุน  大鬼雚真人祿存貞星君คือดาวลู่ฉุน (ลกชุ๊ง)  /Phecda (ปุลัสตยฤๅษี) ในกลุ่มดาวปักเต้า (Ursa Major กระบวยเหนือ) เห็นได้ชัดจากอักษร祿  ลก (ลู่) ชุ๊ง (ฉุน) 
4. ไต้ฮั้งเฮี่ยงเม้งบุ่งเคียกนิวแชกุน 大鬼行玄冥文曲紐星君คือดาวเหวินฉวี่ (บุ่งเคียก)  / Megrez (อัตริฤๅษี) ในกลุ่มดาวปักเต้า (Ursa Major กระบวยเหนือ) เห็นได้ชัดจากอักษร   บุ่ง (เหวิน) เคียก (ฉวี่) 
5. ไต้ปิ๊กตังง้วนเนี้ยมเจงกังแชกุน 大鬼畢丹元廉貞罡星君คือดาวเหลียนเจิน (เนี้ยมเจง)  / Alioth (อังคีรสฤๅษี) ในกลุ่มดาวปักเต้า (Ursa Major กระบวยเหนือ) เห็นได้ชัดจากอักษร  เนี้ยม (เหลียน)  เจง (เจิน) 
6. ไต้โพ้วปั๊กเก๊กบู๊เคียกกี่แชกุน 大鬼甫北極武曲紀星君คือดาวอู๋ฉวี่ (บู๊เคียก)  / Mizar (วสิษฐฤๅษี) ในกลุ่มดาวปักเต้า (Ursa Major กระบวยเหนือ) เห็นได้ชัดจากอักษร  บู๊ (อู๋) เคียก (ฉวี่) 
7. ไต้เพียวเทียนกวนพั่วกุงกวนแชกุน 大魒天關破軍關星君คือดาวพ่อจวิน (พั่วกุง)  / Alkaid (มริจี/ภฤคุฤๅษี) ในกลุ่มดาวปักเต้า (Ursa Major กระบวยเหนือ) เห็นได้ชัดจากอักษร   พั่ว (พ่อ) กุง (จวิน) 
8. ตั่งเม้งงั่วหูแชกุน洞明外星君/天蓬元帥外星君คือดาวจั๋วฝู่  (จ๋อหู) 左輔Alcor/Alcor A (อรุนธตีฤๅษิณี)ในกลุ่มดาวปักเต้า (Ursa Major กระบวยเหนือ) เห็นได้ชัดจากอักษร   หู (ฝู่) 

9. ฮุ้ยกวงไล้เพี๊ยกแชกุน隱光內星君/天猷元帥內星君คือดาวโย่วปี้ (อิ่วเพี๊ยก) 右弼 /Alcor B/ M51/M97 (อรุนธตีฤๅษิณี) ในกลุ่มดาวปักเต้า (Ursa Major กระบวยเหนือ) เห็นได้ชัดจากอักษร  เพี๊ยก (ปี้) 

            💥ในบางตำนานเชื่อมโยงดาวทั้งเจ็ดดาวในกลุ่มดาว北斗七星ดาวปักเต้าจีน (กลุ่มหมีใหญ่ของกรีก) กับดาวเหนือ Polaris / Alpha Ursae Minoris และดาวเวกา Vega/ Alpha Lyrae ซึ่งมีอิทธิพลต่อการหาทิศและฤดูกาลมาแต่ครั้งโบราณเพราะแต่เดิมดาวเวกาทำหน้าที่ใช้นำทางไปทางทิศเหนืออยู่ราว 12,000-14,000 ปีแล้วจนเมื่อโลกเปลี่ยนทิศทางทำให้ปัจจุบันใช้ดาวโพลาริส   Polaris เป็นดาวเหนือเพื่อหาทิศเหนือในปัจจุบัน โดยในตำนานจีนโบราณดาวเวกาในกลุ่มดาวพิณคือ จือหนวี่” (织女, สาวทอผ้า) ซึ่งหลงรักหนุ่มเลี้ยงวัวหรือดาวอัลแตร์ Altair อยู่ในกลุ่มดาวนกอินทรี (Aquila) ซึ่งเป็นเทศกาลแห่งความรักของจีนในช่วงฤดูร้อน (ฤดูฝนของไทย) ส่วนในช่วงกินเจที่จัดขึ้นตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 9 ไปจนถึงวันขึ้น 9 ค่ำ เดือน 9 ของทุกปี ตามปฏิทินจันทรคติของจีน  เดิมเรียกว่าเทศกาล ‘จิ่วหวงเซิ่งหุ้ย’ (กิ้วอ๋องเซ่งโห่ย) 九皇勝會แปลว่าชัยชนะของกษัตริย์ทั้งเก้า (ดาวปักเต้า) แต่ไทยเราเรียกง่ายว่า ‘เทศกาลกินเจ’ เป็นช่วงปลายฤดูใบไม้ร่วง ต่อต้นฤดูหนาว ที่กลางคืนจะเริ่มยาวกว่ากลางวัน อาจจะมีความสำคัญกับพิธีกรรมเกี่ยวกับความอุดมสมบูรณ์ หรือการเตรียมความพร้อมสำหรับการปรับตัวให้เข้ากับช่วงฤดูหนาวที่เนื้อสัตว์เป็นของหายากมีราคาแพงในช่วงฤดูหนาว และเชื่อว่าแต่เดิมการกินเจนั้นเป็นการถือศีลถือพรตของพวกนักบวช หรือพิธีกรรมทางศาสนาไม่ใช่เพื่อสุขภาพ ต่อมาสมัยหลังเมื่อพบว่าพวกนักบวชนักพรตมีอายุยืนเพราะบริโภคน้อยไม่กินเนื้อสัตว์แล้วจึงได้เข้าใจว่าการกินเจเพื่อสุขภาพและล้างพิษในภายหลัง
 ตามการที่นำดาวเวกา และดาวโพลาริส มาจัดว่าเป็นเก้าอ๋องแห่งกลุ่มดาวเหนือนั้นก็เป็นตำนานหนึ่งของจีน แต่ก็มีอีกตำนานหนึ่งที่กล่าวว่าเก้าอ๋องแห่งกลุ่มดาวเหนือคือ ดาวทั้งเก้าแห่งกลุ่มดาวปักเต้าจีน เพราะคนจีนมองว่า北斗七星ดาวปักเต้าจีน (กลุ่มหมีใหญ่ของกรีก) มีเก้าดวงเพราะนอกจากจะมีดาวหลักเจ็ดดวงได้แก่ 1)“ ทานหลาง 2)“ จวี้เหมิน 3)“ ลู่ฉุน 4)“ เหวินฉวี่ 5)“ เหลียนเจิน 6)“ อู๋ฉวี่ และ 7)“ พ่อจวิน หรือ เจี้ยน (ดาบ) ใช้ประโยชน์ในการทำนายชัยชนะหรือการพ่ายแพ้ของกองทัพ
โดยที่ดาวทั้งเจ็ดเป็นดวงดาวที่เห็นได้ชัดเจนแล้วยังมีดาวซ่อนเร้นอีก 2 ดวงหรือ สองซ่อนเร้น 二隱เอ้อรฺหยิน) ได้แก่ 8) 左輔 จั๋วฝู่ ในทางดาราศาสตร์สากลคือดาว Alcor (ซึ่งในทางอินเดียเรียกว่าอรุนธตี ผู้เป็นชายาของวสิษฐะ Mizar ชื่อว่าเป็นดาวแฝดปรากฏในนวนิยายเรื่องซันต๊อกมหาราชินีละครทีวีของเกาหลีในอดีตซึ่งควรแปลเป็นดาวจระเข้ ดาวเหนือ หรือดาวหมีใหญ่ แต่ผู้แปลกลับแปลผิดเป็นกลุ่มดาวลูกไก่ซึ่งอยู่ในราศีพฤกษภต้องหมุนไปตามจักรราศีจึงใช้หาทิศเหนือไม่ได้ เพราะขาดความรู้ด้านดาราศาสตร์)
 และ  9) 右弼 โย่วปี้ อาจจะเป็นดาว Whirlpool Galaxy / Messier 51 (M51)  หรือ Owl Nebula (M97) ซึ่งเป็นดาวที่สุกสว่างขึ้นในบางครั้งตามตำแหน่งที่ชาวจีนโบราณอาจจะเห็นในท้องฟ้าทางเหนือ
อย่างไรก็ตามเชื่อว่าพิธีกินเจตามเทศกาลบูชาดาวเหนือน่าจะมีมาในหมู่ชาวจีนตั้งแต่ 2,500 ปีแล้ว โดยแต่เดิมน่าจะเป็นพิธีในท้องถิ่นหรือพิธีกรรมในลัทธิเต๋าของจีนมาก่อน ต่อมาจึงรับเข้ามาในพุทธศาสนาที่ปรับให้เข้ากับหลักพรหมวิหารสี่และอหิงสาของฮินดูธรรมได้อย่างไม่ขัดแย้งกันดังเรื่องการไม่ควรบริโภคเนื้อสัตว์ในคัมภีร์ลังกาวตารสูตรของพุทธศาสนามหายานทำให้พระจีนต้องกินเจไม่ต่างจากนักพรตในลัทธิเต๋าเพื่อสร้างศรัทธาให้ชาวบ้านซึ่งก็คงจะเป็นสาเหตุหนึ่ง และประกอบกับพระภิกษุชาวจีนมีเมตตาธรรมสูงไม่ต้องการให้ชาวบ้านที่ยากจนเดือดร้อนปรุงอาหารที่ประกอบด้วยเนื้อสัตว์ที่มีราคาแพงในช่วงฤดูหนาวมาถวายพระสงฆ์ซึ่งถ้าพระคุณเจ้าทั้งหลายจะเลือกกินเจเฉพาะเทศกาลหรือฤดูหนาวก็คงเป็นเรื่องประหลาด และการไม่บริโภคเนื้อสัตว์ก็ไม่ขัดกับหลักธรรมทางพุทธศาสนาอยู่แล้วไม่ว่าจะเป็นการกินเจตลอดชีวิตของพระจีน หรือกินเจตามเทศกาลของชาวบ้าน (เทศกาลกินเจก็เป็นช่วงต้นฤดูหนาวของจีน) ทำให้การกินเจสืบทอดและต่อเนื่องกันมายาวนานด้วยรากฐานทางความเชื่อพุทธ+เต๋าแบบจีน ๆ โดยพุทธจีนเปลี่ยนว่าการกินเจเป็นบูชาเทพนพเคราะห์แทนซึ่งความเชื่อเรื่องเทพนพเคราะห์เป็นความเชื่อที่รับมาจากฮินดูอีกต่อหนึ่งมีกลิ่นไอโหราศาสตร์อินเดียชัดเจน แต่เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมในช่วงสมัยการเปลี่ยนแปลงการปกครองทำให้เทศกาลกินเจไม่มีในประเทศจีน แต่จะมีการกินเจตามวัด และการกินเจตลอดชีวิตของนักบวชเท่านั้น ปัจจุบันเทศกาลกินเจแพร่หลายอยู่ในประเทศไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย เป็นต้น เฉพาะในพื้นที่มีจีนโพ้นทะเลซึ่งเป็นคนเชื้อสายจีนอพยพมาอาศัยในถิ่นต่าง ๆ ในอาเซียน


บทสวดปักเต้าเก็งบูชาเทพเจ้าดาวเหนือของเต๋า หรือเทพนพเคราะห์ของฮินดูที่พุทธมหายานรับมาเป็นพุทธเจ้าหรือพระโพธิสัตว์



เนื้อหาบทสวดปักเต้าเก็งที่เกี่ยวกับดาวกระบวย/จระเข้เหนือ กับเทพนพเคราะห์ และอริยพุทธทั้งเก้า







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น