วันอาทิตย์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

ปี่เซียะ “กวางสวรรค์” หรือกิมปุรุษะของจีน กลายเป็นสิงโตมีเขามีปีก


ในตำนานเทพนิยายของจีนที่เก่าแก่คือ ซานไฮ่จิน山海經 ซึ่งน่าจะแต่งขึ้นในสมัยราชวงศ์ฮั่น (๒๐๖ ปี ก่อน ค.ศ. ถึง ค.ศ. ๒๒๐) โดยเชื่อว่าเป็นการรวบรวมตำนานเทพนิยายจีนที่มีมาก่อนหน้านั้น ทำให้ซานไฮ่จินมีถึง ๑๘ ตอนได้กล่าวถึงเรื่องราวของ ๕๕๐ ขุนเขา และ ๓๐๐ ดินแดนชนเผ่าท้องถิ่นต่าง ๆ ในโลกภูมิอันกว้างใหญ่ของชาวจีนที่มีลักษณะที่แปลกประหลาดมากมายตามทัศนะของจีน ที่เสริมเติมแต่งจนกลายเป็นสัตว์ประหลาดหรือสัตว์ในเทพนิยายปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นบรรพบุรุษของเผ่าม้ง ยักษ์  จิ้งจอกเก้าหาง อินทรีเก้าหัว กิเลน มังกร พญานาค สัตว์อสูร สัตว์ประหลาดที่เป็นลูกผสมต่าง ๆ ลูกมังกรต่าง ๆ มากมาย  ซึ่งสมัยต่อมากลายเป็นสัตว์เทพ หรือปีศาจของจีน     ซานไฮ่จินเทียบได้กับปุราณะของอินเดียซึ่งมีการเล่าถึงการสร้างโลก การกำเนิดของมนุษย์ ตำนานน้ำท่วมโลก และเทพบรรพชนจีน เช่น เจ้าแม่นี่หวา เทพน้ำ เทพไฟ ฯลฯ


กวางสวรรค์ในตำนานจีน
ปี่เซียะ ในปัจจุบัน
ภาพกวางสวรรค์จากซานไฮ่จิน ค.ศ. ๒๒๐  
ภาพสิงโตมีเขา ปี่เซียะ  ราชวงศ์จิ๋น ค.ศ. ๒๖๕

ซึ่งสัตว์ที่น่าสนใจคือ ปี่เซียะ Bi Xie 辟邪/ Pixiu 貔貅 ซึ่งในซานไฮ่จินว่ามีลักษณ์เป็นครึ่งคนครึ่งกวาง โดยที่ท่อนบนเป็นคนมีเขาเหมือนกวาง ส่วนท่อนลางเป็นกวาง บางครั้งถูกเรียกว่า "กวางสวรรค์" (天鹿 เทียนลู่) โดยลักษณะของปี่เซียะตามคำบอกเล่าในซานไฮ่จินคล้ายกับพวกครึ่งคนครึ่งม้าของกรีกคือพวกเซนเทอร์ Centaur ของกรีก ซึ่งแต่เดิมน่าจะเป็นชนเผ่าที่ชำนาญการต่อสู้บนหลังม้าแต่ถูกจินตนาการเสริมเติมแต่งเข้าไปจนกลายเป็นครึ่งคนครึ่งม้า ซึ่งเมื่อพวกเซนเทอร์ Centaur เข้ามาในอินเดียก็กลายเป็นพวกกิมปุรุษะ แต่พวกกิมปุรุษะของอินเดียหมายถึงพวกที่ตัวเป็นสัตว์หน้าเป็นคน ซึ่งพวกสฟิงซ์ Sphinx ของอียิปต์ก็จัดได้ว่าเป็นพวกกิมปุรุษะด้วย และกิมปุรุษะในศิลปกรรมของอินเดียส่วนใหญ่คือพวก ครึ่งคนครึ่งสิงโต เหมือนสฟิงซ์มากกว่า Sphinx เมื่อเข้าไปสู่จีนอิทธิพลจากอินเดียจึงทำให้ในสมัยหลัง ปี่เซียะ Bi Xie 辟邪/ Pixiu 貔貅 เหมือนสิงโตมีเขาไปหรือไม่? แต่อย่างไรก็ดีในจีนยังมีการแบ่งแยกระหว่าง ปี่เซียะ Bi Xie 辟邪/ Pixiu 貔貅กับกิเลน ซึ่งเป็นครึ่งม้าครึ่งมังกร Kylin/ qilin/ 麒麟 ซึ่งมีการเชื่อมโยงว่ากิเลนเทียบได้กับ “ม้าสวรรค์” คือยูนิคอน Unicorn หรือเพกาซัส Pegasus ของจีน ในขณะที่ เซีย Bi Xie 辟邪/ Pixiu 貔貅 คือกวางสวรรค์ที่ปัจจุบันกลายเป็นสิงโตมีเขามีปีก จากเดิมที่เคยเป็นครึ่งคนครึ่งกวาง



กิมปุรุษะ /เซนเทอร์
กิมปุรุษะ / สฟิงซ์
(Kimpurusha) Centaur of India
(Kimpurusha) Sphinx of India
ภาพ กิมปุรุษะ ครึ่งคนครึ่งม้าของอินเดีย (ที่สาญจี)
ภาพ กิมปุรุษะ ครึ่งคนครึ่งสิงโต (ที่มหาบลิปุรัม)

ซึ่งพวกครึ่งคนครึ่งม้าหรือกิมปุรุษะในอินเดียเมื่อเข้าไปในจีนก็กลายเป็น กินนร (紧那罗 จินน่าหลัว) ในคติของจีนมาก่อน และน่าจะเคยถูกเปรียบเทียบเพราะความสับสนกับตัว ปี่เซียะ Bi Xie 辟邪/ Pixiu 貔貅 กวางสวรรค์มาเหมือนกัน ก่อนที่จะถูกจับแยกจากกันกลายเป็นเทวดาจำพวกหนึ่ง ปัจจุบันตัวปี่เซียะถูกเล่าใหม่ว่าเป็นลูกหนึ่งในเก้าชนิดของมังกร ส่วนตัวกิเลนหรือม้าสวรรค์ในศิลปะจีนมีมานานแล้ว แล้วก็มีการซ้อนทับกับตำนานปี่เซียะ ทำให้ปี่เซียะที่เป็นมังกรครึ่งเสือหรือครึ่งม้ามีปีกหรือไม่มีปีก ก็อาจจะมีมาก่อนตำนานซานไฮ่จิน จึงมีการเล่าใหม่ในสมัยหลังให้


กินนร (紧那罗 จินน่าหลัว) เป็นเทพหรือคนภูเขาเผ่าหนึ่งในทางพุทธศาสนา
ปี๋เซียะ (辟邪) /กวางสวรรค์ (天鹿 เทียนลู่)  กลายเป็นกิเลนมีปีก หรือครึ่งสิงโตหัวมังกรมีปีก
กิเลน (麒麟) ม้าสวรรค์ เป็นครึ่งม้าครึ่งมังกร  (สมัยราชวงศ์หมิง ค.ศ. ๑๙๔๘ ของพระเจ้าหย่งเล่อ 永乐 มีขุนนาง/ขันทีจีน เจิ้งเหอ 郑和 ได้ออกเดินเรือไปถึงแอฟริกาและนำยีราฟกลับมาประเทศจีน ซึ่งยีราฟ giraffe ได้รับการยอมรับจากชาวจีนว่าคือตัว "กิเลน" ในสมัยนั้น)

โดยคำว่า ปี๋ หมายถึงเพศชายและ เซียะ หมายถึงเพศหญิงกลายเป็นคู่สัตว์มงคลตามความเชื่อในปัจจุบัน

กินนรเป็นสัตว์ในตำนานจีน
กินนรเป็นเทพเจ้าในตำนานจีน
ภาพกินนร (紧那罗 จินน่าหลัว) ของจีน
ที่ถูกเปรียบกับพวกเซนเทอร์
ภาพกินนร (紧那罗 จินน่าหลัว) ของจีน
ในฐานะเทพเจ้า


วันเสาร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2561

นร วานร กินนร และนรสิงห์

นร (นะ - ระ) แปลว่า คน , มนุษย์  เป็นเพศชาย  ถ้าเป็นเพศหญิงใช้ว่า นรี (นะ-รี) หรือ นารี (นา - รี)

วา ในภาษาสันสกฤต แปลว่า หรือ

กิม ในภาษาสันสกฤต แปลว่า อะไร

สิงหะ (สิง - หะ) สีหะ (สี -หะ) หรือสิงห์ (สิง) ในภาษาบาลีสันสกฤต แปลว่า สิงโตอินเดีย ไทยเอามาใช้เป็นสัตว์ป่าหิมพานต์ชนิดหนึ่งตระกูลเสือ



     วา + นร = วานร (วา - นะ- ระ / วา - นอน) แปลตามรากศัพท์ว่า "นี่หรือคน?" หมายถึงสัตว์จำพวกลิง
   
      กิม+นร = กินนร (เพศชาย) กินนรี (เพศหญิง แต่ไทยใช้ว่า กินรี) ซึ่งเสียง /ม/ ของคำว่ากิม กลายเป็นเสียง /น/ เพราะกฎการกลมกลืนเสียงตามเสียงหลังคือเสียง /น/ จากคำว่า นร (เพราะ /ม/ และ /น/ ต่างก็เป็นพยัญชนะนาสิกท้ายพยัญชนะ วรรค)



      โดยคำว่า กินนร แปลตามรากศัพท์แปลว่า "คนอะไร" หมายถึงครึ่งคนครึ่งนกในวรรณคดีบาลี แต่ในวรรณคดีสันสกฤต กินนรคืออมนุษย์ชนิดหนึ่งที่ตัวเป็นคนหน้าเป็นสัตว์ โดยมากเป็นม้า ส่วนพวกอมนุษย์ที่ตัวเป็นสัตว์หน้าเป็นคนในวรรณคดีสันสกฤตเรียกว่า "กิมปุรุษะ"
      ซึ่งไม่ว่าจะเป็น กินรี (ท่อนบนเป็นคนท่อนล่างเป็นนก/ คนมีปีก) หรือตัวอรหัน (ออ-ระ-หัน) หรือจิงโจ้ ก็ว่าซึ่งเป็น นกหน้าคน คนอินเดียเข้าใจว่าเป็นกินรีในวรรณคดีบาลีหมด เพราะกินรี ดังและเป็นที่นิยมกว่าตัวอรหัน
      และนอกจากนี้เชื่อว่าตามวรรณคดีสันสกฤตจะเรียกพวกครึ่งคนครึ่งนกว่า ครุฑ (เพศชาย) ครุฑ ปัตนี (เมียครุฑ เพศหญิง) ส่วนพวกกินนร กินรี คืออมุษย์ร่างมนุษย์ หน้าเป็นม้าเหมือนนางแก้วหน้าม้า แต่ต่อมาเมื่ออิทธิพลทางวรรณคดีพุทธศาสนามีอิทธิพลไปทั่วโลก นักโบราณคดีอินเดียดูจะพอใจกับการใช้คำว่า กินนร ปักษี หรือกินรี เรียกรูปสลักครึ่งคนครึ่งนก เช่นกัน ดังนั้นนัยยะของ "กินนร" ที่มีความหมายโดยรากศัพท์ว่า "คนอะไร?" จึงหมายถึงอมนุษย์ที่เป็นครึ่งคนครึ่งสัตว์ด้วย
    ในปัจจุบันคำว่า กินนรี (ภาษาฮินดี) หรือ กินรีในภาษาไทย เป็นสแลงในภาษาอินเดียแปลว่า เกย์ หรือชายรักชายที่แต่งเป็นหญิง (คนอะไร?) เทียบได้กับสแลงในภาษาอังกฤษว่า angel / fairy (นางฟ้า)

อ่านเรื่องตัวอรหัน และพระอรหันต์ ได้ที่เว็บไซต์ของราชบัณฑิต ตามลิงก์คือ; http://www.royin.go.th/?knowledges=อรหัน-กับ-อรหันต์-๗-พฤศจิ



นร+ สิงห์ = นรสิงห์ หมายถึงอมนุษย์ชนิดหนึ่บที่ตัวเป็นคนหัวเป็นสิงโต ซึ่งนรสิงห์ตนแรกคือสิงหาวตารคือพระนารายณ์ปางหนึ่งที่แปลงมาใช้กรงเล็บแหกอกฆ่าอสูรร้ายผู้ครองจักรวาลที่ชื่อว่า หรัณยกศิปุ  (พ่อของท้าวประหลาด ทวดของเจ้ากรุงพาลพญาอสูรผู้ครองบาดาลโลก) ซึ่ง ได้พรจากพระพรหมว่าขออย่าได้ถูกใคร หรืออาวุธใด ๆ ที่เขารู้จักฆ่าตาย โดยนัยหนึ่งนรสิงห์เป็นสัญลักษณ์ของกษัตริย์ผู้กล้าหาญดุจสิงโต เพราะคนดินเดียสมัยโบราณ ยกย่องวัวตัวผู้ และสิงโต ซึ่งการนับถือวัว และสิงโตว่าเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์มีมาตั้งแต่อารยธรรมอียิปต์โบราณ กรีก และบาบิโลน เช่นการที่วีรบุรุษหรือเทพกรีก เฮอร์คิวลิส (Hercules) และ กิลกาเมซ (Gilgamesh) กษัตริย์ผู้ครองนครอุรุคและอาณาจักรบาบิโลน สร้างวีรกรรมด้วยการปราบหรือมีอำนาจเหนือสิงโต เป็นต้น

ภาพเทพ Maahes แห่งอียิปต์มีเศียรเป็นสิงโต


วันพุธที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2561

ระมาด มาจากภาษาเขมร

       ตระกูลแรดมีทั้งสิ้น 5 ชนิด นอกจากแรดแล้วยังมี กระซู่ แรดอินเดีย แรดขาว และแรดดำ สัตว์ในตระกูลแรดอาจเรียกเหมารวมกันว่า แรด ดังนั้น เมื่อเอ่ยถึงแรดคำเดียว อาจหมายถึงแรดชนิดใดชนิดหนึ่งในห้าชนิดนี้ หรืออาจหมายถึงแรดที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Rhinoceros sondaicusนี้ก็ได้ ด้วยเหตุนี้การเอ่ยเพียงคำว่า "แรด" (สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ. 2061: ออนไลน์)



     ตามพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน  คำว่า ระมาด เป็นคำนาม แปลว่า แรด เป็นคำยืมภาษาเขมรซึ่งเขียนว่า รมาส ในภาษาเขมร เป็นชื่อสัตว์ชนิดหนึ่งในป่าหิมพานต์ (แรดอินเดีย?)

     แรดในภาษาฮินดี และสันสกฤตได้แก่

गैंडा
ฮินดี
ไคณฑา
แรดตัวผู้
नर गैंडा
ฮินดี
นัร ไคณฑา
แรดตัวผู้
मादा गैंडा
ฮินดี
มาดา ไคณฑา
แรดตัวเมีย
गण्डक
สันสกฤต
คณฺฑก
แรดตัวผู้
एकशृङ्ग
สันสกฤต
เอกศฤงฺค
แรดตัวผู้
खड्ग
สันสกฤต
ขงฺค
แรดตัวผู้
नासिकामूल
สันสกฤต
นาสิกามูล
แรดตัวผู้
क्रोधिन्
สันสกฤต
โกฺรธินฺ
แรดตัวผู้
मुखशृङ्ग
สันสกฤต
มุขศฤงฺค
แรดตัวผู้
गणोत्साह
สันสกฤต
คโณตฺสาห
แรดตัวผู้
खङ्गिन्
สันสกฤต
ขงฺคินฺ
แรดตัวผู้
वनोत्साह
สันสกฤต
วโนตฺสาห
แรดตัวผู้
मुखेबलिन्
สันสกฤต
มุเขพลินฺ
แรดตัวผู้
वार्ध्राणस
สันสกฤต
วารฺธฺราณส
แรดตัวผู้
तैतिल
สันสกฤต
ไตติล
แรดตัวผู้
क्रोडीमुख
สันสกฤต
โกฺรฑิมุข
แรดตัวผู้
वाध्रीणस
สันสกฤต
วาธฺรีณส
แรดตัวผู้
खड्गाह्व
สันสกฤต
ขฑฺคาหว
แรดตัวผู้
गण्ड
สันสกฤต
คณฺฑ
แรดตัวผู้
वार्ध्रीणस
สันสกฤต
วารฺธฺรีณส
แรดตัวผู้
तुङ्गमुख
สันสกฤต
ตุงฺคมุข
แรดตัวผู้
गजनक्र
สันสกฤต
คชนกฺร
แรดตัวผู้
वाध्रीणसक
สันสกฤต
วาธฺรีณสก
แรดตัวผู้
एकचर
สันสกฤต
เอกจร
แรดตัวผู้
स्वनोत्साह
สันสกฤต
สฺวโนตฺสาห
แรดตัวผู้
गण्डाङ्ग
สันสกฤต
คณฺฑางฺค
แรดตัวผู้
वज्रचर्मन्
สันสกฤต
วชฺรจรฺมนฺ
แรดตัวผู้
खड्गविषाण
สันสกฤต
ขฑฺควิษาณ
แรดตัวผู้
दौहित्र
สันสกฤต
เทาหิตฺร
แรดตัวผู้
खड्गिधेनुका
สันสกฤต
ขฑฺคิเธนุกา
แรดตัวเมีย
खड्गधेनु
สันสกฤต
ขฑฺคเธนุ
แรดตัวเมีย
खङ्ग धेनु
สันสกฤต
ขฑฺค เธนุ
แรดตัวเมีย

     พฤติกรรมของแรด: แรดเป็นสัตว์สันโดษปกติจะอยู่เพียงตัวเดียวลำพังยกเว้นจับคู่ผสมพันธุ์และเลี้ยงดูลูกอ่อน บางครั้งจะมีการรวมฝูงเล็ก ๆ ที่โป่งหรือปลักโคลน การลงแช่ปลักเป็นพฤติกรรมที่พบได้ในแรดทุกชนิด เพื่อช่วยในการควบคุมอุณหภูมิร่างกายและช่วยป้องกันผิวหนังจากปรสิตภายนอกและแมลงอื่น ๆ
   วัยเจริญพันธุ์ : แรดเพศเมียถึงวัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้ราว 3–4 ปีในขณะที่เพศผู้ที่ประมาณ 6 ปี ตั้งท้องประมาณ 16–19 เดือน ให้กำเนิดลูกห่างกัน 4–5 ปี ลูกแรดจะอยู่กับแม่จนถึงอายุ 2 ปี
     
1. ความเชื่อเกี่ยวกับแรด (ตำนานพรานป่า)

1.1 แรดตัวเมียถึงฤดูผสมพันธุ์จะมีความต้องการทางเพศสูงจนฆ่าตัวผู้ที่ไม่ยอมผสมพันธุ์

1.2 แรดตัวเมียฆ่าลูกเพื่อจะผสมพันธุ์กับตัวผู้
2. ความจริงเกี่ยวกับแรด (วิทยาศาสตร์)

2.1 แรดอินเดียตัวเมียตัวหนึ่งถูกแรดตัวผู้สองตัวที่ต้องการจะผสมพันธุ์ด้วยขวิดตาย เพราะไม่ยอมผสมพันธุ์ด้วย เป็นข่าวเมื่อสองสามปีที่ผ่านมา

2.2 ลูกของสัตว์ตัวเมียในธรรมชาติส่วนใหญ่จะถูกตัวผู้ฆ่า เพื่อที่จะเร่งให้ตัวเมียพร้อมที่จะผสมพันธุ์ไวขึ้น
   
      คำว่า แรด เป็นคำสแลงใหม่ถึงผู้หญิงที่ จัดจ้าน, ดัดจริต, แก่แดด, ไวไฟ ซึ่งอาจจะมาจากการที่แรดชอบเล่นปลักโคลน และแรดเพศเมียสามารถถึงวัยเจริญพันธุ์ได้เร็วคือราว 3–4 ปี มากกว่า ตำนานที่ว่าแรดมีอารมณ์ทางเพศรุนแรงจนฆ่าแรดตัวผู้ ซึ่งในนิยามความหมายของแรด คือพุ่งเข้าใส่ผู้ชายไม่ได้ฆ่าหรือทำร้ายผู้ชาย 

........................ส่วนสัตว์ในธรรมชาติที่ผสมพันธุ์แล้วชอบฆ่าตัวผู้เป็นอาหารส่วนใหญ่มักจะเป็นสัตว์จำพวกแมลงมากกว่า เช่น แมงมุมแม่ม่ายดำ.......................................


1. สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน). (2061). ทรัพยากรณ์ชีวภาพสัตว์ "แรด". ระบบฐานข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่น. แหล่งที่มา: http://bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view2.aspx?id=9226