วันพุธที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2561

ระมาด มาจากภาษาเขมร

       ตระกูลแรดมีทั้งสิ้น 5 ชนิด นอกจากแรดแล้วยังมี กระซู่ แรดอินเดีย แรดขาว และแรดดำ สัตว์ในตระกูลแรดอาจเรียกเหมารวมกันว่า แรด ดังนั้น เมื่อเอ่ยถึงแรดคำเดียว อาจหมายถึงแรดชนิดใดชนิดหนึ่งในห้าชนิดนี้ หรืออาจหมายถึงแรดที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Rhinoceros sondaicusนี้ก็ได้ ด้วยเหตุนี้การเอ่ยเพียงคำว่า "แรด" (สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ. 2061: ออนไลน์)



     ตามพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน  คำว่า ระมาด เป็นคำนาม แปลว่า แรด เป็นคำยืมภาษาเขมรซึ่งเขียนว่า รมาส ในภาษาเขมร เป็นชื่อสัตว์ชนิดหนึ่งในป่าหิมพานต์ (แรดอินเดีย?)

     แรดในภาษาฮินดี และสันสกฤตได้แก่

गैंडा
ฮินดี
ไคณฑา
แรดตัวผู้
नर गैंडा
ฮินดี
นัร ไคณฑา
แรดตัวผู้
मादा गैंडा
ฮินดี
มาดา ไคณฑา
แรดตัวเมีย
गण्डक
สันสกฤต
คณฺฑก
แรดตัวผู้
एकशृङ्ग
สันสกฤต
เอกศฤงฺค
แรดตัวผู้
खड्ग
สันสกฤต
ขงฺค
แรดตัวผู้
नासिकामूल
สันสกฤต
นาสิกามูล
แรดตัวผู้
क्रोधिन्
สันสกฤต
โกฺรธินฺ
แรดตัวผู้
मुखशृङ्ग
สันสกฤต
มุขศฤงฺค
แรดตัวผู้
गणोत्साह
สันสกฤต
คโณตฺสาห
แรดตัวผู้
खङ्गिन्
สันสกฤต
ขงฺคินฺ
แรดตัวผู้
वनोत्साह
สันสกฤต
วโนตฺสาห
แรดตัวผู้
मुखेबलिन्
สันสกฤต
มุเขพลินฺ
แรดตัวผู้
वार्ध्राणस
สันสกฤต
วารฺธฺราณส
แรดตัวผู้
तैतिल
สันสกฤต
ไตติล
แรดตัวผู้
क्रोडीमुख
สันสกฤต
โกฺรฑิมุข
แรดตัวผู้
वाध्रीणस
สันสกฤต
วาธฺรีณส
แรดตัวผู้
खड्गाह्व
สันสกฤต
ขฑฺคาหว
แรดตัวผู้
गण्ड
สันสกฤต
คณฺฑ
แรดตัวผู้
वार्ध्रीणस
สันสกฤต
วารฺธฺรีณส
แรดตัวผู้
तुङ्गमुख
สันสกฤต
ตุงฺคมุข
แรดตัวผู้
गजनक्र
สันสกฤต
คชนกฺร
แรดตัวผู้
वाध्रीणसक
สันสกฤต
วาธฺรีณสก
แรดตัวผู้
एकचर
สันสกฤต
เอกจร
แรดตัวผู้
स्वनोत्साह
สันสกฤต
สฺวโนตฺสาห
แรดตัวผู้
गण्डाङ्ग
สันสกฤต
คณฺฑางฺค
แรดตัวผู้
वज्रचर्मन्
สันสกฤต
วชฺรจรฺมนฺ
แรดตัวผู้
खड्गविषाण
สันสกฤต
ขฑฺควิษาณ
แรดตัวผู้
दौहित्र
สันสกฤต
เทาหิตฺร
แรดตัวผู้
खड्गिधेनुका
สันสกฤต
ขฑฺคิเธนุกา
แรดตัวเมีย
खड्गधेनु
สันสกฤต
ขฑฺคเธนุ
แรดตัวเมีย
खङ्ग धेनु
สันสกฤต
ขฑฺค เธนุ
แรดตัวเมีย

     พฤติกรรมของแรด: แรดเป็นสัตว์สันโดษปกติจะอยู่เพียงตัวเดียวลำพังยกเว้นจับคู่ผสมพันธุ์และเลี้ยงดูลูกอ่อน บางครั้งจะมีการรวมฝูงเล็ก ๆ ที่โป่งหรือปลักโคลน การลงแช่ปลักเป็นพฤติกรรมที่พบได้ในแรดทุกชนิด เพื่อช่วยในการควบคุมอุณหภูมิร่างกายและช่วยป้องกันผิวหนังจากปรสิตภายนอกและแมลงอื่น ๆ
   วัยเจริญพันธุ์ : แรดเพศเมียถึงวัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้ราว 3–4 ปีในขณะที่เพศผู้ที่ประมาณ 6 ปี ตั้งท้องประมาณ 16–19 เดือน ให้กำเนิดลูกห่างกัน 4–5 ปี ลูกแรดจะอยู่กับแม่จนถึงอายุ 2 ปี
     
1. ความเชื่อเกี่ยวกับแรด (ตำนานพรานป่า)

1.1 แรดตัวเมียถึงฤดูผสมพันธุ์จะมีความต้องการทางเพศสูงจนฆ่าตัวผู้ที่ไม่ยอมผสมพันธุ์

1.2 แรดตัวเมียฆ่าลูกเพื่อจะผสมพันธุ์กับตัวผู้
2. ความจริงเกี่ยวกับแรด (วิทยาศาสตร์)

2.1 แรดอินเดียตัวเมียตัวหนึ่งถูกแรดตัวผู้สองตัวที่ต้องการจะผสมพันธุ์ด้วยขวิดตาย เพราะไม่ยอมผสมพันธุ์ด้วย เป็นข่าวเมื่อสองสามปีที่ผ่านมา

2.2 ลูกของสัตว์ตัวเมียในธรรมชาติส่วนใหญ่จะถูกตัวผู้ฆ่า เพื่อที่จะเร่งให้ตัวเมียพร้อมที่จะผสมพันธุ์ไวขึ้น
   
      คำว่า แรด เป็นคำสแลงใหม่ถึงผู้หญิงที่ จัดจ้าน, ดัดจริต, แก่แดด, ไวไฟ ซึ่งอาจจะมาจากการที่แรดชอบเล่นปลักโคลน และแรดเพศเมียสามารถถึงวัยเจริญพันธุ์ได้เร็วคือราว 3–4 ปี มากกว่า ตำนานที่ว่าแรดมีอารมณ์ทางเพศรุนแรงจนฆ่าแรดตัวผู้ ซึ่งในนิยามความหมายของแรด คือพุ่งเข้าใส่ผู้ชายไม่ได้ฆ่าหรือทำร้ายผู้ชาย 

........................ส่วนสัตว์ในธรรมชาติที่ผสมพันธุ์แล้วชอบฆ่าตัวผู้เป็นอาหารส่วนใหญ่มักจะเป็นสัตว์จำพวกแมลงมากกว่า เช่น แมงมุมแม่ม่ายดำ.......................................


1. สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน). (2061). ทรัพยากรณ์ชีวภาพสัตว์ "แรด". ระบบฐานข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่น. แหล่งที่มา: http://bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view2.aspx?id=9226

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น