วันพฤหัสบดีที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2561

ภาษาทมิฬ

ภาษาทมิฬ
เป็นภาษา ๑ ในสี่ภาษาของอินเดียใต้ ที่มีสี่รัฐสำคัญของชาวดราวิเดียนคือ

๑. รัฐทมิฬนาฑู ใช้ภาษาทมิฬ
๒.รัฐอานธระประเทศ ใช้ภาษาเตลุคุ
๓. รัฐกรรณาฏกะ ใช้ภาษากรรณาฑะ
๔.รัฐเกรลา ใช้ภาษามลายะลัม (ไม่ใช่ภาษามลายู หรือยาวี)

ความสำคัญ:

              ชนชาติทมิฬมีความผูกพันกับวัฒนธรรมอาเซียนมาแต่ครั้งโบราณกาล ในทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีอักษรในอาเซียนเกือบทั้งหมดที่ไม่ใช้อักษรโรมัน จีนหรืออังกฤษ

               นั้นพัฒนามาจากอักษรอินเดียใต้ ที่นักวิชาการปัจจุบันถือว่าเป็นอักษรชนิดเดียวกันกับอักษรทมิฬโบราณ (เพียงแต่เรียกตามราชวงศ์หรือชื่อยุคสมัยของอินเดียใต้ เช่น อักษรปัลลวะ อักษรโจฬะ เป็นต้น)


             ในปัจจุบันภาษาทมิฬยังใช้ในอาเซียน คือเป็นภาษาของชนกลุ่มน้อยในไทย (ชุมชนวัดแขกสีลมที่กรุงเทพ ฯ) ส่วนในประเทศมาเลเซียมีชุมชนแขกทมิฬขนาดใหญ่แถว ๆ ถ้ำบาตู
             และประเทศสิงคโปร์ก็มีชาวทมิฬอาศัย หรือไปหางานทำจำนวนมากถึงกับมีการเรียนการสอนภารตนาฏยัมที่เป็นศิลปะการแสดงเต้นรำประจำชาติของชาวทมิฬที่นั้น



อะ อา อิ อี อุ อู เอะ

เอ ไอ โอะ โอ เอา อะห์ อิกฺ

อิงฺ อิจฺ อิญฺ อิฏฺ อิณฺ อิถฺ อินฺ .... ฯลฯ

 พัฒนาการอักษรอินเดียใต้เป็นอักษรอาเซียนและไทย


 เปรียบเทียบอักษรครันถะ (อักษรครึนถ์ หรือคฤนถ์ ก็ว่า)
อักษรทมิฬตัวน้อยกว่าอักษร ครึนถ์ แต่เขียนสันสกฤตได้ 

โดยที่ตัวปลายลูกศรที่หายไป ใช้อักษรตัวเดียวกับหัวลูกศร ใช้อักษรซ้ำ ๆ กัน  
แต่การออกเสียงไม่เหมือนกันโดยสิ้นเชิง

เช่น க หรือ ก ออกเสียงได้เป็น /ก/ /ข/ /ค/ /ฆ/  
ซึ่งเป็นเสียงที่มีอยู่ในภาษาสันสกฤต ขึ้นอยู่กับคำ ๆ ไป 
เพียงแต่ใช้อักษรตัวเดียวกัน
ต่างกับอักษรครึนถ์ที่มีอักษรครบ

ดังนั้นภาษาพูดของภาษาทมิฬจึงมีความสำคัญพอ ๆ กับภาษาเขียน และต้องจำเป็นคำ ๆ ไป
ว่าคำอย่างนี้เขียนอย่างไร แต่ออกเสียงอย่างไร?

 ฐานเกิดเสียงต่าง ๆ ในช่องปาก

เสี้ยงม้วนลิ้นที่ไม่มีในภาษาไทย

คำบ่งสถานที่ในภาษาทมิฬ

 ตัวอย่างการออกเสียงกับรูปเขียนภาษาทมิฬที่แตกต่างกัน

 โอะ - โอฏฏะกัม (อ่าน อด - ดะ - กัม)

..........

எது ஒட்டகம் ? (เอดตือ อดดะกัม) ตัวไหน อูฐ?

இது ஒட்டகம் (อิตือ อดดะกัม) นี่อูฐ

 อา - อาฏุ (อ่าน อา - ดือ)

.......

அது நாயா ? (อะ ตือ นายา) นั้นหมาใช่ไหม?

இல்லை(อิลไล) ไม่ใช่.... அது ஆடு (อะตือ อาดือ ) นั้นแพะ


 เขียน: เปจัณฎ นคัร อ่าน: เบสันตะ นาคัร
เขียน: ถิรุวาลห์มิยูร อ่าน: ตีรุวัลเมียวร์
เขียน: อินถิรา นคัร อ่าน: อินดิรา นาคัร


เขียน อรุลห์มิกุ ถิรุวัลห์ลุห์วัร ถิรุกโกยิล

มยิลาปปูร , เจนไน - 4

อ่าน อรุลห์มิกือ ตีรุวัลห์ลุห์วัร ตีรุกโกยิล

ไมลาโปร (Mylapore) , เซนไน - 4
................
 อรุลห์มิกุ แปลว่า เพื่อ/ แห่ง/ที่ พรมงคล

ถิรุวัลห์ลุห์วัร แปลว่า ชื่อกวี วรรณะพราหมณ์ของทมิฬโบราณที่แต่งกวีนิพนธ์สุภาษิตภาษาทมิฬ

ถิรุกโกยิล แปลว่า วัด

มยิลาปปูร แปลว่า แดนแห่งแววมยุรา (เป็นชื่อเขตเมือง ในเมืองเจนไน

เจนไน แปลว่า ชื่อเมืองเซนไน (ตามการออกเสียงคนกรุง) เมืองหลวงของรัฐทมิฬนาฑู

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น