วันอาทิตย์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

ปี่เซียะ “กวางสวรรค์” หรือกิมปุรุษะของจีน กลายเป็นสิงโตมีเขามีปีก


ในตำนานเทพนิยายของจีนที่เก่าแก่คือ ซานไฮ่จิน山海經 ซึ่งน่าจะแต่งขึ้นในสมัยราชวงศ์ฮั่น (๒๐๖ ปี ก่อน ค.ศ. ถึง ค.ศ. ๒๒๐) โดยเชื่อว่าเป็นการรวบรวมตำนานเทพนิยายจีนที่มีมาก่อนหน้านั้น ทำให้ซานไฮ่จินมีถึง ๑๘ ตอนได้กล่าวถึงเรื่องราวของ ๕๕๐ ขุนเขา และ ๓๐๐ ดินแดนชนเผ่าท้องถิ่นต่าง ๆ ในโลกภูมิอันกว้างใหญ่ของชาวจีนที่มีลักษณะที่แปลกประหลาดมากมายตามทัศนะของจีน ที่เสริมเติมแต่งจนกลายเป็นสัตว์ประหลาดหรือสัตว์ในเทพนิยายปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นบรรพบุรุษของเผ่าม้ง ยักษ์  จิ้งจอกเก้าหาง อินทรีเก้าหัว กิเลน มังกร พญานาค สัตว์อสูร สัตว์ประหลาดที่เป็นลูกผสมต่าง ๆ ลูกมังกรต่าง ๆ มากมาย  ซึ่งสมัยต่อมากลายเป็นสัตว์เทพ หรือปีศาจของจีน     ซานไฮ่จินเทียบได้กับปุราณะของอินเดียซึ่งมีการเล่าถึงการสร้างโลก การกำเนิดของมนุษย์ ตำนานน้ำท่วมโลก และเทพบรรพชนจีน เช่น เจ้าแม่นี่หวา เทพน้ำ เทพไฟ ฯลฯ


กวางสวรรค์ในตำนานจีน
ปี่เซียะ ในปัจจุบัน
ภาพกวางสวรรค์จากซานไฮ่จิน ค.ศ. ๒๒๐  
ภาพสิงโตมีเขา ปี่เซียะ  ราชวงศ์จิ๋น ค.ศ. ๒๖๕

ซึ่งสัตว์ที่น่าสนใจคือ ปี่เซียะ Bi Xie 辟邪/ Pixiu 貔貅 ซึ่งในซานไฮ่จินว่ามีลักษณ์เป็นครึ่งคนครึ่งกวาง โดยที่ท่อนบนเป็นคนมีเขาเหมือนกวาง ส่วนท่อนลางเป็นกวาง บางครั้งถูกเรียกว่า "กวางสวรรค์" (天鹿 เทียนลู่) โดยลักษณะของปี่เซียะตามคำบอกเล่าในซานไฮ่จินคล้ายกับพวกครึ่งคนครึ่งม้าของกรีกคือพวกเซนเทอร์ Centaur ของกรีก ซึ่งแต่เดิมน่าจะเป็นชนเผ่าที่ชำนาญการต่อสู้บนหลังม้าแต่ถูกจินตนาการเสริมเติมแต่งเข้าไปจนกลายเป็นครึ่งคนครึ่งม้า ซึ่งเมื่อพวกเซนเทอร์ Centaur เข้ามาในอินเดียก็กลายเป็นพวกกิมปุรุษะ แต่พวกกิมปุรุษะของอินเดียหมายถึงพวกที่ตัวเป็นสัตว์หน้าเป็นคน ซึ่งพวกสฟิงซ์ Sphinx ของอียิปต์ก็จัดได้ว่าเป็นพวกกิมปุรุษะด้วย และกิมปุรุษะในศิลปกรรมของอินเดียส่วนใหญ่คือพวก ครึ่งคนครึ่งสิงโต เหมือนสฟิงซ์มากกว่า Sphinx เมื่อเข้าไปสู่จีนอิทธิพลจากอินเดียจึงทำให้ในสมัยหลัง ปี่เซียะ Bi Xie 辟邪/ Pixiu 貔貅 เหมือนสิงโตมีเขาไปหรือไม่? แต่อย่างไรก็ดีในจีนยังมีการแบ่งแยกระหว่าง ปี่เซียะ Bi Xie 辟邪/ Pixiu 貔貅กับกิเลน ซึ่งเป็นครึ่งม้าครึ่งมังกร Kylin/ qilin/ 麒麟 ซึ่งมีการเชื่อมโยงว่ากิเลนเทียบได้กับ “ม้าสวรรค์” คือยูนิคอน Unicorn หรือเพกาซัส Pegasus ของจีน ในขณะที่ เซีย Bi Xie 辟邪/ Pixiu 貔貅 คือกวางสวรรค์ที่ปัจจุบันกลายเป็นสิงโตมีเขามีปีก จากเดิมที่เคยเป็นครึ่งคนครึ่งกวาง



กิมปุรุษะ /เซนเทอร์
กิมปุรุษะ / สฟิงซ์
(Kimpurusha) Centaur of India
(Kimpurusha) Sphinx of India
ภาพ กิมปุรุษะ ครึ่งคนครึ่งม้าของอินเดีย (ที่สาญจี)
ภาพ กิมปุรุษะ ครึ่งคนครึ่งสิงโต (ที่มหาบลิปุรัม)

ซึ่งพวกครึ่งคนครึ่งม้าหรือกิมปุรุษะในอินเดียเมื่อเข้าไปในจีนก็กลายเป็น กินนร (紧那罗 จินน่าหลัว) ในคติของจีนมาก่อน และน่าจะเคยถูกเปรียบเทียบเพราะความสับสนกับตัว ปี่เซียะ Bi Xie 辟邪/ Pixiu 貔貅 กวางสวรรค์มาเหมือนกัน ก่อนที่จะถูกจับแยกจากกันกลายเป็นเทวดาจำพวกหนึ่ง ปัจจุบันตัวปี่เซียะถูกเล่าใหม่ว่าเป็นลูกหนึ่งในเก้าชนิดของมังกร ส่วนตัวกิเลนหรือม้าสวรรค์ในศิลปะจีนมีมานานแล้ว แล้วก็มีการซ้อนทับกับตำนานปี่เซียะ ทำให้ปี่เซียะที่เป็นมังกรครึ่งเสือหรือครึ่งม้ามีปีกหรือไม่มีปีก ก็อาจจะมีมาก่อนตำนานซานไฮ่จิน จึงมีการเล่าใหม่ในสมัยหลังให้


กินนร (紧那罗 จินน่าหลัว) เป็นเทพหรือคนภูเขาเผ่าหนึ่งในทางพุทธศาสนา
ปี๋เซียะ (辟邪) /กวางสวรรค์ (天鹿 เทียนลู่)  กลายเป็นกิเลนมีปีก หรือครึ่งสิงโตหัวมังกรมีปีก
กิเลน (麒麟) ม้าสวรรค์ เป็นครึ่งม้าครึ่งมังกร  (สมัยราชวงศ์หมิง ค.ศ. ๑๙๔๘ ของพระเจ้าหย่งเล่อ 永乐 มีขุนนาง/ขันทีจีน เจิ้งเหอ 郑和 ได้ออกเดินเรือไปถึงแอฟริกาและนำยีราฟกลับมาประเทศจีน ซึ่งยีราฟ giraffe ได้รับการยอมรับจากชาวจีนว่าคือตัว "กิเลน" ในสมัยนั้น)

โดยคำว่า ปี๋ หมายถึงเพศชายและ เซียะ หมายถึงเพศหญิงกลายเป็นคู่สัตว์มงคลตามความเชื่อในปัจจุบัน

กินนรเป็นสัตว์ในตำนานจีน
กินนรเป็นเทพเจ้าในตำนานจีน
ภาพกินนร (紧那罗 จินน่าหลัว) ของจีน
ที่ถูกเปรียบกับพวกเซนเทอร์
ภาพกินนร (紧那罗 จินน่าหลัว) ของจีน
ในฐานะเทพเจ้า


8 ความคิดเห็น: