วันอังคารที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2563

ศัพท์ควรรู้เกี่ยวกับโควิด 19 (ปี 63)


1) โควิด 19 คือ Coronavirus disease 2019 (โคโรนาไวรัส ดิซีซ ทูทาวซันนายทีน) หริอ COVID-19 ( โควิด 19) มีชื่อเรียกอื่นคือ โคโรนาไวรัส (ชื่อกลุ่มไวรัสที่มีปุ่มหนามคล้ายมงกุฎ เช่น ไวรัสซาร์ส SARS ไวรัสเมอร์ส MERS ไวรัสโควิด 19 ซึ่งเป็นชื่อกลุ่มย่อย ๆ) , ไวรัสอู่ฮั่น (เรียกตามชื่อเมืองในประเทศจีนซึ่งมีผู้พบผู้ติดเชื้อครั้งแรก) , ไวรัสจีน เรียกตามประธานาธบดีสหรัฐอเมริกา "โดนัลด์ ทรัมป์ (donald trump)" ซึ่งต่อมาชื่อนี้ได้รับการต่อต้านว่าเป็นการเหยียดเชื้อชาติ 
    โดยมากเชื้อไวรัสชนิดนี้มีสายพันธุกรรมคู่เดียวคือ RNA ที่เข้าไปเกาะกับสายพันธุกรรมคู่ในสิ่งมีชีวิตที่เป็น DNA แล้วขยายพันธุ์ตัวของมันเองในสิ่งมีชีวิต

2) ซากเชื้อ (วาทกรรมใหม่) น่าจะมาจากคำว่า killed virus (คิลเล็ด ไวรัส หมายถึงไวรัสที่ถูกฆ่า) หรือ inactivated virus (อินเอคทิเวเอ็ด ไวรัส หมายถึงไวรัสที่ไม่ทำงาน) ถ้านำมาใช้ว่า "ไวรัสที่ตรวจพบในผู้ป่วยที่เคยคิดว่าหายป่วยแล้ว เชื่อว่าเป็นจำนวนไวรัสที่น้อย หรือตายแล้วไม่ก่อให้เกิดการติดโรคอีก?" 


3) Vaccine (วัคซีน) ผลิตภัณฑ์ชีวภาพที่อาจจะสร้างขึ้นจาก เชื้อโรค แบคทีเรีย หรือไวรัสที่ถูกฆ่า หรือทำให้มีฤทธิ์อ่อนแรง ไม่เป็นพิษกับร่างกาย หรือลดจำนวนเชื้อโรคนั้น ๆ ลงจนไม่ก่อโรค แล้วสามารถใช้ฉีดเข้าสู่ร่างกายได้อย่างปลอดภัย เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันโรคต่าง ๆ

- The live attenuated virus vaccine (เดอะ ไลฟ์ เอตเทนนูเอ็ด ไวรัส วัคซีน) คือวัคซีนที่ถูกสร้างมาจากเชื้อไวรัสที่มีชีวิตแต่ถูกลดปริมาณลงไม่ทำให้ก่อโรค ต้องคำนวนให้ดีเพราะอาจจะกลับทำให้เกิดโรคได้

- The inactivated virus vaccine (เดอะ อินเอคทิเวเอ็ด ไวรัส วัคซีน) คือวัคซีนที่สร้างจากเชื้อไวรัสที่ตายแล้ว และไม่ถูกทำให้เป็นพิษกับร่างกาย แต่ร่างกายก็อาจจะไม่สร้างภูมิคุ้มกันได้ดีเท่าแบบใช้เชื้อที่มีชีวิต แต่โดยมากไม่เสี่ยงทำให้เกิดโรคจากเชื้อที่ฉีด

4) Social Distancing (โซเชียว ดิสแคนซิ่ง ) คือการเว้นระยะห่างระหว่าวบุคคล มาจาก Social เกี่ยวกับสังคม และ Distancing การปลีกตัว

5) Plusma (พลาสมา) สถานะหนึ่งของสสาร หรือของเหลวภายในเซลล์ นม หรือเลือด โดยพลาสมาที่พบภูมิต้านทานไวรัสมักมาจากเลือดของผู้เคยติดไวรัสนั้น ๆ

6) นักรบเสื้อกาวน์ คำว่าเสื้อกาวน์ในภาษาอังกฤษคือ hospital gown (ฮอสปิทอล กาวน์) คือเสื้อยาวคลุมถึงเข่าของผู้ป่วย แต่ก็มีเสื้อแบบเดียวกันที่แพทย์หรือหมอใช้ในห้องผ่าตัดหรือฉุกเฉินที่เรียกว่า doctor gown (ด็อกเตอร์ กาวน์) หรือ Hospital Doctor Surgical Gown (ฮอสปิทอล ด็อกเตอร์ เซอจิเกิล กาวน์) 

7) นักรบชุดขาว คำว่าชุดขาว เป็นคำแปลมาจากคำว่า white coat (ไวท์โคท) หมายถึงชุดสูทยาวสีขาวที่หมอใส่เวลาตรวจโรค เพราะช่วงปลายคริสตวรรษที่ 19 สีขาวเป็นตัวแทนความสะอาดและถูกนำมาใช้ในวงการแพทย์และสาธารณสุขที่กำลังเฟื่องฟู ทำให้ชุดครุยสีขาวจึงถูกเลือกใช้สำหรับที่นักศึกษาแพทย์เมื่อสำเร็จการศึกษาในสถาบันการแพทย์ต่าง ๆ ดังนั้นนักรบเสื้อกาวน์และนักรบชุดขาวจึงหมายถึง หมอ หรือบุคลากรทางการแพทย์ต่าง ๆ

8) Lock down (ล็อคดาวน์) ปิดประเทศ หรือ ปิดเมือง

9) Curfew (เคอร์ฟิว) เป็นคำสั่งกำหนดเวลาใช้ข้อบังคับบางอย่าง โดยปรกติเป็นการกำหนดเวลาให้บุคคลต้องอยู่ภายในเคหสถาน หรือให้ปิดทำการสำนักงานบางประเภท และผู้ออกคำสั่งดังกล่าวมักเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ โดยผู้ฝ่าฝืนจะได้รับโทษทางกฎหมายต่าง ๆ ในช่วงเวลานั้น

10) Herd Immunity (เฮิร์ด อิมมูนิตี้) หรือการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ (มาจากคำว่า Herd ฝูงสัตว์ หมู่ +Immunity ภูมิคุ้มกัน) คือทฤษฎีที่เชื่อว่าถ้ามีผู้ติดเชื้อโรคเป็นจำนวนมากแล้ว ร่างกายคนส่วนใหญ่จะสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นได้เองทำให้ผู้คนที่เหลือรอดไม่ติดเชื้อ ซึ่งทฤษฎีนี้มีจุดอ่อนตรงที่ก่อนที่ร่างกายมนุษย์จะสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นได้เองอาจจะทำให้มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก

11) Video Conference (วิดีโอคอนเฟอเรนซ์) คือการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ระบบการประชุมทางไกลหรือออนไลน์ผ่านจอภาพ

12) E-learning (อีเลินนิ่ง) คือการเรียนในลักษณะที่ใช้การถ่ายทอดเนื้อหาด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ แท็บเล็ต ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ออนไลน์ต่าง ๆ ทางสัญญาณโทรทัศน์ หรือ สัญญาณดาวเทียม (Satellite) ฯ ร่วมถึงโปรแกรมออฟไลน์ในแผ่นซีดี

วันอาทิตย์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2563

โยคาสนะ ต่าง ๆ และปราณายาม

वीरासन วีราสน อ่าน วี-รา-สะ-นะ (วีร [ปุลลิงค์ แปลว่า ผู้กล้า ผู้ชาย ลูกชาย หัวหน้า สามี ฯ นปุงสกลิงค์ แปลว่า รากของขิง พริกไทย ต้นกก ฯ สตรีลิงค์ใช้อาการันต์ที่สุดธาตุ เป็น วีรา แปลว่า  ส่วนหนึ่งของศรุติ ; ศรุติ {สตรีลิงค์} สิ่งที่ได้ยินแล้ว , พระเวท, คุณนาม แปลว่า ที่กล้าหาญ ที่เกี่ยวกับผู้กล้า ฯ และคำว่า วิรา {สตรีลิงค์ } แปลว่า ภริยา ] ที่นี้แปลว่าผู้กล้า + อาสน [นปุงสกลิงค์] ที่ ที่นั่ง ที่อาศัย มั่นคง ฯลฯ และท่าทำโยคะ) แปลว่า ท่าผู้กล้า (เหมือนท่านั่งแบบเทพธิดาของไทย หรือท่านั่งเตรียมรอฝึกอาคิโอ หรือยูโด ของญี่ปุ่น)


सुप्त वीरासन สุปฺต วีราสน อ่าน สุป-ตะ-วี-รา-สะ-นะ (สุปฺต [ ปุลลิงค์ แปลว่า นกเดาลม เป็นนกขนาดเล็กชนิดหนึ่งมีหางยาว wagtail, นปุงสกลิงค์ แปลว่า การนอน การหลับลึก การนอนกรน ,คุณนาม แปลว่า ที่พักผ่อน ที่นอนหลับ ที่ล้มตัวลงนอน เอนตัว ฯลฯ ] วีร [ปุลลิงค์ แปลว่า ผู้กล้า ผู้ชาย ลูกชาย หัวหน้า สามี ฯ นปุงสกลิงค์ แปลว่า รากของขิง พริกไทย ต้นกก ฯ สตรีลิงค์ใช้อาการันต์ที่สุดธาตุ เป็น วีรา แปลว่า  ส่วนหนึ่งของศรุติ ; ศรุติ {สตรีลิงค์} สิ่งที่ได้ยินแล้ว , พระเวท, คุณนาม แปลว่า ที่กล้าหาญ ที่เกี่ยวกับผู้กล้า ] ในที่นี้แปลว่า ผู้กล้า + อาสน [นปุงสกลิงค์] ที่ ที่นั่ง ที่อาศัย มั่นคง ฯลฯ และท่าทำโยคะ) แปลว่า ท่าผู้กล้าที่เอนตัวนอน



ตฺริวิกฺรมาสน (ตฺริ [ สังขยา] สาม + วิกฺรม [ปุลลิงค์] การเดินทาง การไป ก้าวเดิน เท้า พลัง ฯลฯ = ตฺริวิกฺรม [ปุลลิงค์] คือ การเหยียบสามโลกเพียงสามก้าวของพระนารายณ์ ปางวามนาวตาร ที่อวตารเป็นพราหมณ์เตี้ยปราบเจ้ากรุงพาล + อาสน [ นปุงสกลิงค์] ที่ สถานที่ ที่นั่ง ที่อาศัย มั่นคง ฯลฯ และท่าทำโยคะ = ตฺริวิกฺรมาสน [นปุงสกลิงค์] ) แปลว่า "ท่าเหยียบสามโลก" (แบบวามนาวตารของพระนารายณ์) ปล. ท่านี้ถูกใช้ในศิลปะประติมากรรม จิตรกรรม และนาฏกรรมการแสดงนาฏศิลป์ของอินเดียแสดงเรื่อง วามนาวตารของพระนารายณ์ด้วย


.........

รูปที่ 1 วามนาวตาร หรือวามเทพ เหยียบสามโลก,ศิลปะประคิมากรรมหินแกะนูนสูงของอินเดีย
.........


अनंतासन อนํตาสน อ่าน อะ-นัน-ตา-สะ-นะ (อนํต [ เป็นได้ทั้งสามลิงค์ คือ ปุลลิงค์จะแปลว่า เส้นไหม เลขหนึ่ง อักษร อะ แป้งทาตัว ฯลฯ ถ้าเป็น นปุงสกลิงค์จะแปลว่า ท้องฟ้า ชั้นอากาศ  ถ้าเป็นสตรีลิงค์ใช้อาการันต์ที่สุดคำเป็น อนนฺตา แปลว่า แผ่นดิน โลก พิภพ และถ้าใช้เป็นคุณนาม แปลว่า ไม่มีสิ้นสุด ไม่มีจุดจบ ตรงกับคำว่า อนันต์ ของไทย] ในที่นี้ใช้ในความหมายคุณนาม + นาค [ปุลลิงค์] ช้าง พญางู พญานาค = อนํตนาค / อนนฺนาค [ปุลลิงค์] เศษนาคพี่ชายของวาสุกีนาคราช [วาสุกีเป็นราชาปกครองนาคโลกดินแดนหนึ่งในอีกหลายแห่งในบาดาลโลก] บัลลังก์ [เตียง] ของพระนารายณ์ที่เป็นพญานาคที่ค้ำจักรวาลทั้งสามโลกไว้อยู่ใต้มหาสมุทร และเป็นสังวาล ของพระศิวะ [ร่างกายพระศิวะคือจักรวาล ; พรหม นารายณ์ ศิวะ เป็นตรีมูรติ คือเป็นองค์เดียวกันปรากฏเป็น สามคุณะ [รชะ ตมะ สัตตวะ] ด้วยลีลาของปรเมศวร เทพสูงสุด หรือที่หนังแขกแปลว่า ปฐมพรหม ตามปรัชญาฮินดูขั้นสูง] โดยคำว่า อนนฺตนาค ได้ตัดคำว่า นาค / นาคราชออก เป็น อนนฺต/อนํต + อาสน [นปุงสกลิงค์] ที่ สถานที่ ที่นั่ง ที่อาศัย มั่นคง ฯลฯ และท่าทำโยคะ = อนํตาสน [นปุงสกลิงค์] ) แปลว่า "ท่า (นอนบน) พญาอนันตนาคราช" ตรงกับตำนานนารายณ์บรรทมสินธุ์ของไทย

(ปล. ท่านี้ไม่มีการนำมาใช้ในนาฏกรรมการแสดงอินเดียแทนท่านารายณ์บรรทมสินธุ์ เพราะอาจจะมองดูไม่สวย ใช้เป็นท่าในโยคะเท่านั้น)



.......


รูปที่ 2 ท่านารายณ์บรรทมสินธุ์ที่ใช้ในนาฏกรรมการแสดงของอินเดีย
.......

วฤกฺษาสน वृक्षासन (วฤกฺษ [ปุลลิงค์] ต้นไม้ + อาสน [นปุงสกลิงก์] ที่ สถานที่ ที่อาศัย ที่นั่ง มั่นคง ฯลฯ และท่าทำโยคะ) แปลว่า "ท่าต้นไม้" 
(เหมือนท่ายืนขาเดียวเดี่ยวกินลมของนางสวาหะในรามเกียรติ์ไทย และแมวทุศีลหลอกกินลูกนกในเรื่องหิโตปเทศ เรื่องย่อย "แร้งแก่กับแมว")




अधोमुखवृक्षासन (อโธ [อุปสรรค prefix ] ลง ,ลงต่ำ +  มุข [ปุลลิงค์] ใบหน้า, หน้า, ปาก = อโธมุข [คุณนาม หรือนามนามปุลลิงค์] ใบหน้าลงต่ำ + วฤกฺษ [ปุลลิงค์] ต้นไม้ + อาสน [นปุงสกลิงค์] ที่ สถานที่ ที่นั่ง ที่อาศัย มั่นคง ฯลฯ และท่าปฏิบัติโยคะ) = อโธมุขวฤกฺษาสน [เป็นนปุงสกลิงค์ผันตามคำหลังสุดคือ อาสน]  แปลว่า ท่าต้นไม้ (ที่เอา) หน้าลง (ท่าหกสูง /ท่ายืนด้วยมือ hand stand)


ศีรฺษาสน (ศีรฺษ [นปุงสกลิงค์] หัว+ อาสน [ นปุงสกลิงค์] ที่ สถานที่ ที่นั่ง ที่อาศัย มั่นคง ฯลฯ และท่าปฏิบัติโยคะ ; กฏสระสนธิ อะ/อา+อะ/อา= อา) แปลว่า "ท่าหัว" (ท่ายืนด้วยหัว Head stand หรือท่าใช้หัวเป็นอาสนะ)





जानु शीर्षासन ชานุ ศีรฺษาสน (ชานุ [ผันได้ทั้งแบบปุลลิงค์และนปุงสกลิงค์] เข่า , ศีรฺษ [นปุงสกลิงค์] หัว + อาสน [นปุงสกลิงค์] ที่ สถานที่ ที่นั่ง ที่อยู่ มั่นคง ฯลฯ และท่าปฏิบัคิโยคะ ; ตามกฏสระสนธิ อะ/อา + อะ/อา = อา) แปลว่า "ท่าเข่า (จรด) หัว"


ปศฺจิโมตฺตานาสน อ่าน ปัศ-จิ-โมต-ตา-นา-ส-นะ, เสียง /ศ/ /ษ/ /ส/ ในภาษาอินเดียแตกต่างกัน ( ปศฺจิม [คุณนาม]  ตะวันตก ที่อยู่ทิศตะวันตก ด้านหลัง ที่อยู่ด้านหลัง สิ้นสุด สุดท้าย ฯ + อุตฺตาน [คุณนาม] ยืด ขยายออก นอนอย่างดี นอนหงาย เปิด ฯลฯ ตามกฏสระสนธิ อะ + อุ = โอ ดังนั้น ปศฺจิม [ปัศ-จิ-มะ] + อุตฺตาน = ปศฺจิโมตฺตาน [ปัศ-จิ-โมต-ตา-นะ] + อาสน [นปุงสกลิงค์] ที่ สถานที่ ที่อาศัย ที่นั่ง มั่นคง ฯลฯ และท่าปฏิบัติโยคะ = ปศฺจิโมตฺตานาสน ตามกฎสระสนธิ อะ/อา + อะ/อา= อา) แปลว่า "ท่ายืดส่วนหลัง"



ตฺริโกณาสน อ่าน ตฺริ-โก-ณา-สะ-นะ ในภาษาอินเดียมีเสียง วรรคฏ เช่นเสียง /ณ/ เป็นเสียงยกลิ้น (ตฺรีโกณ [ตฺริ-โก-ณะ , ปุลลิงค์] สามเหลี่ยม ที่เป็นรูปสามเหลี่ยม ผลแห้ว ฯ + อาสน [ นปุงสกลิงค์] ที่ ที่นั่ง สถานที่ ที่อยู่ มั่นคง ฯ และท่าทางปฏิบัติโยคะ ; กฏสระสนธิ อะ/อา + อะ/อา = อา) แปลว่า "ท่าสามเหลี่ยม" 



ภุชํคาสน (อ่าน ภุ-ชง-คา-สะ-นะ เพราะนิคหิตต้องเปลี่ยนเป็นเสียงนาสิก [ตัวสุดท้ายวรรค] ตามพยัญชนะวรรค ในที่นี้มี /ค/ ตามหลัง ค เป็นพยัญชนะวรรค ก (ก ข ค ฆ ง) มี /ง/ เป็นเสียงนาสิก อนึ่ง ภุชงฺค [ปุลลิงค์] งูขนาดใหญ่  งู ที่รัก เพื่อนเสเพลของเจ้าชาย ฯ + อาสน [นปุงสกลิงค์] ที่ ที่นั่ง สถานที่ มั่นคง ฯลฯ และท่าทางปฏบัติโยคะ) แปลว่า ท่างู



เนากาสนะ (เนากา [สตรีลิงค์]  เรือ + อาสนะ [นปุงสกลิงค์] มั่งคง สถานที่ ที่อาศัย ที่นั่ง ฯลฯ และท่าทางที่ใช้ปฏิบัติโยคะ : ตามกฏสระสนธิ อะ/อา+อะ/อา = อา) แปลว่า ท่า (ทำโยคะเหมือน) เรือ



वीरभद्रासन วีรภทฺราสน (วีรภทฺร [ปุลลิงค์] ผู้ดีงาม/งดงามด้วยความกล้า อวตารของพระศิวะที่ไปตัดหัวท้าวทักษะพ่อตา (ชื่อเฉพาะชื่อคน) + อาสน [ นปุงสกลิงค์] ที่ ที่นั่ง สถานที่ มั่นคง ฯลฯ และท่าทำโยคะ) แปล "ท่าทำโยคะ (แบบ) พระวีรภัทระ" (เป็นชุดท่า)


सूर्य नमस्कार  สูรฺย นมสฺการ (สูรฺย [ปุลลิงค์] พระอาทิตย์ + นนสฺการ [ปุลลิงค์] การไหว์) แปลว่า "การไหว้พระอาทิตย์" (เป็นชุดท่า และมีมนต์สวดเวลาทำแต่ละท่า)



................

ท่าโยคาสนะ แบบอื่น ๆ




.......



........

สูรฺยนมสฺการ มนฺตฺร (มนต์ที่ใช้สวดตอนทำสูรยนมัสการท่าต่าง ๆ)



การฝึกลมหายใจ ปราณายาม

1. नाडी शोधन प्राणायाम นาฑี โศธน ปราณายาม (นาฑี [สตรีลิงค์] ชีพจร เส้นเลือดแดง/ดำ เส้นประสาท + โศธน [นปุงสกลิงค์] การตรวจสอบ การถอดถอน การเคลื่อนที่ ; ปราณายาม [ปุลลิงค์] หายใจ / กำหนดลมหายใจ )  คือ การกำหนดลมหายใจที่ปลายจมูกตรวจสอบลมหายใจเข้าออก เพื่อบำรุงเส้นชีพจรในร่างกาย


2. कपालभाति प्राणायाम กปาลภาติ ปราณายาม (กปาล [เป็นได้ทั้งปุลลิงค์และนปุงสกลิงค์] หัว กะโหลก + ภาติ [สตรีลิงค์ แปลว่า หลักฐาน, ความรู้, แสง แต่ถ้าเป็นกริยา แปลว่า เห็น แสดง ปรากฏ] = กปาลภาติ [สตรีลิงค์] แปลว่าลำดับของส่วนประกอบแห่งความร้อน หรือตบะ) ซึ่งหมายถึงการกำหนดจิตไปพร้อมกับการหายใจภายใน เพื่อให้เกิดการมองเห็นในหัว (นิมิตร การกำหนดจิต หรือที่ไทยพุทธเรียกว่า ธรรมกาย ? แต่ฮินดูจะเพ่งไปที่เทพต่าง ๆ ที่แต่ละคนนับถือ)


.........

หมายเหตุ : ศัพท์ทางไวยากรณ์ บาลี และสันสกฤต

บาลี            |    สันสกฤต    |    ไทย

ปุงลิงค์       |     ปุลลิงค์       |   เพศชาย

อิตถีลิงค์     |     สตรีลิงค์     |    เพศหญิง

นปุงสกลิงค์ |   นปุงสกลิงค์  |    ไม่กำหนดเพศ

สังขยา         |  สังขยา          |    จำนวนนับ

นามนาม       | นามนาม         |    คำนาม

คุณนาม        |  คุณนาม         |   คำวิเศษ

อุปสัคคะ       | อุปสรรค          | คำเติมหน้า (prefix)

วิภัตติ           | วิภักติ              | คำเติมท้าย (suffix)

ปัจจัย           | ปรัตยยะ           | คำเติมท้ายธาตุ root ให้เป็นต้นคำ stem แต่ต้องลงวิภักติจึงใช้ได้

อาคม           | อาคม               | คำเติมกลางแทรกลงในคำ (infix)