वीरासन วีราสน อ่าน วี-รา-สะ-นะ (วีร [ปุลลิงค์ แปลว่า ผู้กล้า ผู้ชาย ลูกชาย หัวหน้า สามี ฯ นปุงสกลิงค์ แปลว่า รากของขิง พริกไทย ต้นกก ฯ สตรีลิงค์ใช้อาการันต์ที่สุดธาตุ เป็น วีรา แปลว่า ส่วนหนึ่งของศรุติ ; ศรุติ {สตรีลิงค์} สิ่งที่ได้ยินแล้ว , พระเวท, คุณนาม แปลว่า ที่กล้าหาญ ที่เกี่ยวกับผู้กล้า ฯ และคำว่า วิรา {สตรีลิงค์ } แปลว่า ภริยา ] ที่นี้แปลว่าผู้กล้า + อาสน [นปุงสกลิงค์] ที่ ที่นั่ง ที่อาศัย มั่นคง ฯลฯ และท่าทำโยคะ) แปลว่า ท่าผู้กล้า (เหมือนท่านั่งแบบเทพธิดาของไทย หรือท่านั่งเตรียมรอฝึกอาคิโอ หรือยูโด ของญี่ปุ่น)
सुप्त वीरासन สุปฺต วีราสน อ่าน สุป-ตะ-วี-รา-สะ-นะ (สุปฺต [ ปุลลิงค์ แปลว่า นกเดาลม เป็นนกขนาดเล็กชนิดหนึ่งมีหางยาว wagtail, นปุงสกลิงค์ แปลว่า การนอน การหลับลึก การนอนกรน ,คุณนาม แปลว่า ที่พักผ่อน ที่นอนหลับ ที่ล้มตัวลงนอน เอนตัว ฯลฯ ] วีร [ปุลลิงค์ แปลว่า ผู้กล้า ผู้ชาย ลูกชาย หัวหน้า สามี ฯ นปุงสกลิงค์ แปลว่า รากของขิง พริกไทย ต้นกก ฯ สตรีลิงค์ใช้อาการันต์ที่สุดธาตุ เป็น วีรา แปลว่า ส่วนหนึ่งของศรุติ ; ศรุติ {สตรีลิงค์} สิ่งที่ได้ยินแล้ว , พระเวท, คุณนาม แปลว่า ที่กล้าหาญ ที่เกี่ยวกับผู้กล้า ] ในที่นี้แปลว่า ผู้กล้า + อาสน [นปุงสกลิงค์] ที่ ที่นั่ง ที่อาศัย มั่นคง ฯลฯ และท่าทำโยคะ) แปลว่า ท่าผู้กล้าที่เอนตัวนอน
ตฺริวิกฺรมาสน (ตฺริ [ สังขยา] สาม + วิกฺรม [ปุลลิงค์] การเดินทาง การไป ก้าวเดิน เท้า พลัง ฯลฯ = ตฺริวิกฺรม [ปุลลิงค์] คือ การเหยียบสามโลกเพียงสามก้าวของพระนารายณ์ ปางวามนาวตาร ที่อวตารเป็นพราหมณ์เตี้ยปราบเจ้ากรุงพาล + อาสน [ นปุงสกลิงค์] ที่ สถานที่ ที่นั่ง ที่อาศัย มั่นคง ฯลฯ และท่าทำโยคะ = ตฺริวิกฺรมาสน [นปุงสกลิงค์] ) แปลว่า "ท่าเหยียบสามโลก" (แบบวามนาวตารของพระนารายณ์) ปล. ท่านี้ถูกใช้ในศิลปะประติมากรรม จิตรกรรม และนาฏกรรมการแสดงนาฏศิลป์ของอินเดียแสดงเรื่อง วามนาวตารของพระนารายณ์ด้วย
.........
รูปที่ 1 วามนาวตาร หรือวามเทพ เหยียบสามโลก,ศิลปะประคิมากรรมหินแกะนูนสูงของอินเดีย
.........
(ปล. ท่านี้ไม่มีการนำมาใช้ในนาฏกรรมการแสดงอินเดียแทนท่านารายณ์บรรทมสินธุ์ เพราะอาจจะมองดูไม่สวย ใช้เป็นท่าในโยคะเท่านั้น)
.......
รูปที่ 2 ท่านารายณ์บรรทมสินธุ์ที่ใช้ในนาฏกรรมการแสดงของอินเดีย
ที่มา ; https://www.lassiwithlavina.com/features/dance/bharatanatyam-dancer-from-peru-a-love-story/html
.......
วฤกฺษาสน वृक्षासन (วฤกฺษ [ปุลลิงค์] ต้นไม้ + อาสน [นปุงสกลิงก์] ที่ สถานที่ ที่อาศัย ที่นั่ง มั่นคง ฯลฯ และท่าทำโยคะ) แปลว่า "ท่าต้นไม้"
(เหมือนท่ายืนขาเดียวเดี่ยวกินลมของนางสวาหะในรามเกียรติ์ไทย และแมวทุศีลหลอกกินลูกนกในเรื่องหิโตปเทศ เรื่องย่อย "แร้งแก่กับแมว")
अधोमुखवृक्षासन (อโธ [อุปสรรค prefix ] ลง ,ลงต่ำ + มุข [ปุลลิงค์] ใบหน้า, หน้า, ปาก = อโธมุข [คุณนาม หรือนามนามปุลลิงค์] ใบหน้าลงต่ำ + วฤกฺษ [ปุลลิงค์] ต้นไม้ + อาสน [นปุงสกลิงค์] ที่ สถานที่ ที่นั่ง ที่อาศัย มั่นคง ฯลฯ และท่าปฏิบัติโยคะ) = อโธมุขวฤกฺษาสน [เป็นนปุงสกลิงค์ผันตามคำหลังสุดคือ อาสน] แปลว่า ท่าต้นไม้ (ที่เอา) หน้าลง (ท่าหกสูง /ท่ายืนด้วยมือ hand stand)
ศีรฺษาสน (ศีรฺษ [นปุงสกลิงค์] หัว+ อาสน [ นปุงสกลิงค์] ที่ สถานที่ ที่นั่ง ที่อาศัย มั่นคง ฯลฯ และท่าปฏิบัติโยคะ ; กฏสระสนธิ อะ/อา+อะ/อา= อา) แปลว่า "ท่าหัว" (ท่ายืนด้วยหัว Head stand หรือท่าใช้หัวเป็นอาสนะ)
जानु शीर्षासन ชานุ ศีรฺษาสน (ชานุ [ผันได้ทั้งแบบปุลลิงค์และนปุงสกลิงค์] เข่า , ศีรฺษ [นปุงสกลิงค์] หัว + อาสน [นปุงสกลิงค์] ที่ สถานที่ ที่นั่ง ที่อยู่ มั่นคง ฯลฯ และท่าปฏิบัคิโยคะ ; ตามกฏสระสนธิ อะ/อา + อะ/อา = อา) แปลว่า "ท่าเข่า (จรด) หัว"
ปศฺจิโมตฺตานาสน อ่าน ปัศ-จิ-โมต-ตา-นา-ส-นะ, เสียง /ศ/ /ษ/ /ส/ ในภาษาอินเดียแตกต่างกัน ( ปศฺจิม [คุณนาม] ตะวันตก ที่อยู่ทิศตะวันตก ด้านหลัง ที่อยู่ด้านหลัง สิ้นสุด สุดท้าย ฯ + อุตฺตาน [คุณนาม] ยืด ขยายออก นอนอย่างดี นอนหงาย เปิด ฯลฯ ตามกฏสระสนธิ อะ + อุ = โอ ดังนั้น ปศฺจิม [ปัศ-จิ-มะ] + อุตฺตาน = ปศฺจิโมตฺตาน [ปัศ-จิ-โมต-ตา-นะ] + อาสน [นปุงสกลิงค์] ที่ สถานที่ ที่อาศัย ที่นั่ง มั่นคง ฯลฯ และท่าปฏิบัติโยคะ = ปศฺจิโมตฺตานาสน ตามกฎสระสนธิ อะ/อา + อะ/อา= อา) แปลว่า "ท่ายืดส่วนหลัง"
ตฺริโกณาสน อ่าน ตฺริ-โก-ณา-สะ-นะ ในภาษาอินเดียมีเสียง วรรคฏ เช่นเสียง /ณ/ เป็นเสียงยกลิ้น (ตฺรีโกณ [ตฺริ-โก-ณะ , ปุลลิงค์] สามเหลี่ยม ที่เป็นรูปสามเหลี่ยม ผลแห้ว ฯ + อาสน [ นปุงสกลิงค์] ที่ ที่นั่ง สถานที่ ที่อยู่ มั่นคง ฯ และท่าทางปฏิบัติโยคะ ; กฏสระสนธิ อะ/อา + อะ/อา = อา) แปลว่า "ท่าสามเหลี่ยม"
ภุชํคาสน (อ่าน ภุ-ชง-คา-สะ-นะ เพราะนิคหิตต้องเปลี่ยนเป็นเสียงนาสิก [ตัวสุดท้ายวรรค] ตามพยัญชนะวรรค ในที่นี้มี /ค/ ตามหลัง ค เป็นพยัญชนะวรรค ก (ก ข ค ฆ ง) มี /ง/ เป็นเสียงนาสิก อนึ่ง ภุชงฺค [ปุลลิงค์] งูขนาดใหญ่ งู ที่รัก เพื่อนเสเพลของเจ้าชาย ฯ + อาสน [นปุงสกลิงค์] ที่ ที่นั่ง สถานที่ มั่นคง ฯลฯ และท่าทางปฏบัติโยคะ) แปลว่า ท่างู
เนากาสนะ (เนากา [สตรีลิงค์] เรือ + อาสนะ [นปุงสกลิงค์] มั่งคง สถานที่ ที่อาศัย ที่นั่ง ฯลฯ และท่าทางที่ใช้ปฏิบัติโยคะ : ตามกฏสระสนธิ อะ/อา+อะ/อา = อา) แปลว่า ท่า (ทำโยคะเหมือน) เรือ
वीरभद्रासन วีรภทฺราสน (วีรภทฺร [ปุลลิงค์] ผู้ดีงาม/งดงามด้วยความกล้า อวตารของพระศิวะที่ไปตัดหัวท้าวทักษะพ่อตา (ชื่อเฉพาะชื่อคน) + อาสน [ นปุงสกลิงค์] ที่ ที่นั่ง สถานที่ มั่นคง ฯลฯ และท่าทำโยคะ) แปล "ท่าทำโยคะ (แบบ) พระวีรภัทระ" (เป็นชุดท่า)
सूर्य नमस्कार สูรฺย นมสฺการ (สูรฺย [ปุลลิงค์] พระอาทิตย์ + นนสฺการ [ปุลลิงค์] การไหว์) แปลว่า "การไหว้พระอาทิตย์" (เป็นชุดท่า และมีมนต์สวดเวลาทำแต่ละท่า)
................
.......
........
สูรฺยนมสฺการ มนฺตฺร (มนต์ที่ใช้สวดตอนทำสูรยนมัสการท่าต่าง ๆ)
การฝึกลมหายใจ ปราณายาม
1. नाडी शोधन प्राणायाम นาฑี โศธน ปราณายาม (นาฑี [สตรีลิงค์] ชีพจร เส้นเลือดแดง/ดำ เส้นประสาท + โศธน [นปุงสกลิงค์] การตรวจสอบ การถอดถอน การเคลื่อนที่ ; ปราณายาม [ปุลลิงค์] หายใจ / กำหนดลมหายใจ ) คือ การกำหนดลมหายใจที่ปลายจมูกตรวจสอบลมหายใจเข้าออก เพื่อบำรุงเส้นชีพจรในร่างกาย
การฝึกลมหายใจ ปราณายาม
1. नाडी शोधन प्राणायाम นาฑี โศธน ปราณายาม (นาฑี [สตรีลิงค์] ชีพจร เส้นเลือดแดง/ดำ เส้นประสาท + โศธน [นปุงสกลิงค์] การตรวจสอบ การถอดถอน การเคลื่อนที่ ; ปราณายาม [ปุลลิงค์] หายใจ / กำหนดลมหายใจ ) คือ การกำหนดลมหายใจที่ปลายจมูกตรวจสอบลมหายใจเข้าออก เพื่อบำรุงเส้นชีพจรในร่างกาย
2. कपालभाति प्राणायाम กปาลภาติ ปราณายาม (กปาล [เป็นได้ทั้งปุลลิงค์และนปุงสกลิงค์] หัว กะโหลก + ภาติ [สตรีลิงค์ แปลว่า หลักฐาน, ความรู้, แสง แต่ถ้าเป็นกริยา แปลว่า เห็น แสดง ปรากฏ] = กปาลภาติ [สตรีลิงค์] แปลว่าลำดับของส่วนประกอบแห่งความร้อน หรือตบะ) ซึ่งหมายถึงการกำหนดจิตไปพร้อมกับการหายใจภายใน เพื่อให้เกิดการมองเห็นในหัว (นิมิตร การกำหนดจิต หรือที่ไทยพุทธเรียกว่า ธรรมกาย ? แต่ฮินดูจะเพ่งไปที่เทพต่าง ๆ ที่แต่ละคนนับถือ)
.........
หมายเหตุ : ศัพท์ทางไวยากรณ์ บาลี และสันสกฤต
บาลี | สันสกฤต | ไทย
ปุงลิงค์ | ปุลลิงค์ | เพศชาย
อิตถีลิงค์ | สตรีลิงค์ | เพศหญิง
นปุงสกลิงค์ | นปุงสกลิงค์ | ไม่กำหนดเพศ
สังขยา | สังขยา | จำนวนนับ
นามนาม | นามนาม | คำนาม
คุณนาม | คุณนาม | คำวิเศษ
อุปสัคคะ | อุปสรรค | คำเติมหน้า (prefix)
วิภัตติ | วิภักติ | คำเติมท้าย (suffix)
ปัจจัย | ปรัตยยะ | คำเติมท้ายธาตุ root ให้เป็นต้นคำ stem แต่ต้องลงวิภักติจึงใช้ได้
อาคม | อาคม | คำเติมกลางแทรกลงในคำ (infix)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น