วันศุกร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2564

ดาวชเยษฐาของอินเดีย และดาวจิ้งจอกเก้าหางของจีน (ปรับปรุงใหม่)

   

รูปอวตารของพระศิวะและชายา (น่าจะเป็นเทพท้องถิ่นหรือผีดั้งเดิมของดราวิเดียนที่ถูกฮินดูกลืน มีมากมาย)

ที่มา https://monidipa.net/2019/11/08/from-to-jara-hariti-jyestha-alakshmi-to-sitala-an-interesting-study-of-the-worship-of-folk-devis/

นางชเยษฐา หรือ นางอลักษมี คือเทวีแห่งความโชคร้าย เป็นพี่สาวของนางลักษมีเทวีแห่งความโชคดี ที่เกิดมาในการกวนเกษียรสมุทร เมื่อตอนนางเกิดมาเทวดาเห็นว่านางมีรูปไม่งามจึงให้นางชเยษฐาควบคุมดูแลโชคร้ายให้มนุษย์ ต่อมาหลังจากนางลักษมีเกิดขึ้นจึงให้นางลักษมีหรือพระศรีควบคุมดูแลสิริมงคลและความโชคดี บางตำนานก็ว่านางชเยษฐาเป็นชายาพระชเยษฐะพระศิวะอวตาร หรือบางตำนานก็ว่าเป็นชายาพระเสาร์ที่คุมเคราะห์ของมนุษย์ แต่สำนวนที่นิยมที่สุดว่าเทวดามอบให้เป็นชายาของฤๅษีทุสสหะ ซึ่งต่อมาทนความโชคร้ายของนางไม่ไหวจึงได้หนีไป

ส่วนในทางโบราณคดีว่าเดิม นางชเยษฐาเทวีเคยได้รับการบูชาในฐานะของเทพีแห่งโลกเป็นตัวแทนของหญิงที่เป็นภรรยาหลวงมีรูปร่างอ้วนแสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ของสตรีที่เคยผ่านการคลอดบุตร เป็นชายาของพระชเยษฐะเทพ ผู้เป็นพระศิวะอวตาร นางชเยษฐาอาจเคยถูกบูชาเหมือนเทวีแห่งความสำเร็จ หรือความอุดมสมบูรณ์ เหมือนกับรูปปั้นวีนัสอ้วนหรือวีนัสแห่งวิลเลนดอร์ฟ (Venus of Willendorf) แต่ต่อมานางถูกบูชาเป็นเทวีแห่งความโชคร้าย และบูชานางเพื่อไม่ให้มีโชคร้าย เหมือนการบูชาพระคเณศเทพแห่งอุปสรรค อาจจะเนื่องจากค่านิยมของความงามที่เปลี่ยนแปลงไป พระเทวีแห่งความงดงามแบบพระลักษมีที่ผอมบางมากขึ้นที่เกิดขึ้นที่หลังเหมือนน้องสาวจึงได้ดูแลโชคแทน นางชเยษฐาที่เคยถูกบูชามาก่อนก็ถูกบูชาเพราะให้ดูแลโชคร้ายไม่ให้เข้ามาใกล้แทน

รูปนางชเยษฐาเทวี ชายาของพระชเยษฐะเทวะ (ศิวอวตาร) กับวัวนนทิและเจ้าหญิงบริวาร

ซึ่งตำนานนางชเยษฐานี้อาจจะเชื่อมโยงกับ เจ้าแม่กาลีที่มีหมาในเป็นบริวาร เพราะมีนิทานท้องถิ่นที่กล่าวว่า มีพระธิดาแห่งอินเดียใต้ผู้หนึ่งมีหน้าเหมือนสุนัข (นางสุนัขสวรรค์สรมา?) แต่เมื่อนางได้บูชานางชเยษฐาแล้วอาบน้ำในสระศักดิสิทธิ์แล้วก็กลับกลายเป็นสตรีที่มีใบหน้างดงาม ซึ่งก็เป็นไปได้ว่าอาจจะเป็นการอธิบายรูปสลักของวัวนนทิ (เทพหน้าวัว) ที่อาจจะสลักขึ้นว่าเป็นบริวารของนางชเยษฐาในฐานะของชายาของศิวอวาตาร ที่นานวันไปเกิดภาพสึกมองไม่ชัดเจนแล้วก็สร้างนิทานท้องถิ่นอธิบายขึ้นใหม่ ซึ่งนิทานนี้กลับด้านจากเรื่องนางจิ้งจอกแปลงเป็นนางขันกี (ต๋าจี) ในวรรณกรรมเรื่องห้องสินของจีน

รูปดาวชเยษฐาของอินเดีย 

แต่ในตำนานได้กล่าวว่า นางชเยษฐา เป็นบุตรสาวของทักษะประชาบดี และนางเป็นหนึ่งใน 27/28 ดาวนักษัตรัม ที่เป็นชายาของพระจันทร์ ซึ่งผู้เกิดใต้ฤกษ์ดาวนี้ตามโหราศาสตร์ว่ามีพระอินทร์เป็นเทพประจำ น่าต้องถือว่าเป็นคนละตนกัน กล่าวคือ เจ้าแม่ชเยษฐาเทวีแห่งโชคร้าย กับนางชเยษฐาชายาของพระจันทร์ มีชื่อซ้ำในนิทานอินเดีย แต่เป็นเทวีคนละตนกัน

รูปกลุ่มดาวหัวใจสามดวงในกลุ่มดาวมังกรเขียวของจีน

รูปเทพซินเย่หู 心月狐 ปัจจุบันเป็นจิ้งจอกเก้าหาง

รูปเทพซินเย่หู 心月狐 เทพแมงป่องมีบริวารเป็นจิ้งจอก

ที่มา http://www.pc6.com/edu/87694.html

ที่มา https://kknews.cc/zh-hk/culture/pgk5k4p.html



แต่ก็บังเอิญว่า ดาวดวงนี้ในจีนคือดาวซิน หัวใจ มีจิ้งจอกเป็นสัญลักษณ์ เช่นเดียวกับฑากีนี (เหล่านางบริวารของเจ้าแม่กาลี) ของญี่ปุ่นที่มีจิ้งจอกเป็นบริวาร ซึ่งการที่กลุ่มดาวซิน หรือหัวใจมีสัตว์ประจำคือจิ้งจอกนั้นทำให้ในสมัยหลังมีผู้ผูกเรื่องว่าปีศาจจิ้งจอกของจีนมักแปลงเป็นสาวงามมาหลอกขโมยกินหัวใจของชายหนุ่มหรือไม่ ? แต่อย่างไรก็ตามปัจจุบันดาวจิงจอกจีนถูกดาราศาสตร์ตะวันตกครอบงำดังนั้น ดาวจิ้งจอกจีนอาจจะถูกอ้างถึงกลุ่มดาวจิ้งจอก (Vulpecula) ที่เป็นสากลด้วย (เป็นคนละกลุ่มดาวกับกลุ่มดาวซินของจีน)


รูปนางฑากีนี เตน (เทพอินาริ ?) ของญี่ปุ่นทรงจิ้งจอกบริวาร

ที่มา http://road-station.com/2014/02/the-mystery-of-inari-shinto-god-or-buddhism-deity/

แต่อย่างไรก็ตามลัทธิที่บูชานางกาลี เป็นเทพสูงสุดก็ว่านางเป็นมารดาแห่งโลก เทียบชั้นได้กับเทพธิดาหนึ่งวาสี หรือเจ้าแม่หนี่วา มารดาแห่งโลก (ศัตรุปา) ของจีนในเรื่องห้องสินที่มีนางปีศาจจิ้งจอกเป็นบริวาร และในปัจจุบันเจ้าแม่ชเยษฐาก็ไม่เป็นที่รู้จักและบูชากันมากเท่าเจ้าแม่กาลีที่มาแทน หรือมองในมุมกลับเจ้าแม่ชเยษฐาอาจจะพัฒนาการมาเป็นเจ้าแม่กาลีที่ดุร้ายน่ากลัวกว่า


รูปเจ้าแม่หนี่วา (ดาวค้างคาว) กับฝูซี (พระมนูจีน) มีหางเป็นงูพันกันกลางกลุ่มดาวจักรราศีจีน

ที่มา https://www.twoeggz.com/news/9824416.html

สำหรับเจ้าแม่หนี่วา (女媧) หรือโลกมารดา (ศัตรุปา) ของจีน  ในทางดาราศาสตร์อาจจะเทียบได้กับกลุ่มดาวค้างคาว หรือเรียกอีกชื่อว่ากลุ่มดาวแคสซิโอเปีย (Cassiopeia เป็นคนละกลุ่มดาวกับชเยษฐาในราศีพิจิก) ในนิทานกรีก ราชินีแคสซิโอเปียเป็นพระชนนีของเจ้าหญิงแอนโดรเมด้า ดูหมิ่นเทพ ทำให้เจ้าหญิงถูกจับสังเวย อสูรวาฬ แต่วีรบุรุษเพอร์ซิอุส มาช่วยไว้ทัน ซึ่งกลุ่มดาวแคสซิโอเปียอยู่ใกล้กับกลุ่มดาวเซเฟอุส (Cepheus) เป็นกษัตริย์ แห่งเอธิโอเบีย ผู้เป็นสามีซึ่งอาจจะเทียบได้กับฝูซี (伏羲) พระมนูของจีน โดยกลุ่มดาวค้างคาวนี้ใช้เชื่อมโยงเพื่อหาดาวเหนือได้ ทำให้อาจจะเคยถูกมองว่าเป็นศูนย์กลางท้องฟ้าในทัศนะของจีนมาก่อนดังเช่นปรากฏภาพเจ้าแม่หนี่วาและฝูซีมีท่อนร่างเป็นหางงูพันกันในทามกลางกลุ่มดาวต่าง ๆ



ภาพกลุ่มดาวราชาเซเฟอุส และราชินีแคสซิโอเปีย ใกล้กลุ่มดาวเหนือ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น