เทศกาลนวราตรีทั้ง
4
นวราตรีจะมีปีละ 4
ครั้ง คือ
1.จิตรา นวราตรี หรือ วสันต นวราตรี
หรือ รามะ นวราตรี (วันที่ 9 เป็นวันเกิดพระราม) นี้มีการเฉลิมฉลองในช่วง ฤดูใบไม้ผลิ
วสันตฤดู (จุดเริ่มต้นของฤดูร้อน) (มีนาคมถึงเมษายน) นี้เป็นที่รู้จักกัน
ในชื่อ จิตรา นวราตรี จะตกอยู่ในช่วงเดือน จิตรามาส
2.อาสาฬหะ นวราตรี เรียกกันว่า
อาสาฬหะ คุปตะ นวราตรี เป็นพิธีจัดขึ้นเก้าวันเพื่อบูชาถวายแด่
เทพีศักติทั้ง 9 ปาง ในเดือน อาสาฬหะมาส วัสสานฤดู
/วรฺษาฤดู ฤดูฝน (เดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม)
3.สารทะ นวราตรี (ศารทิยะ นวราตรี)
เป็นเทศกาลที่สำคัญที่สุดของเทศกาลนวราตรี (มหานวราตรี) และมีการเฉลิมฉลองในขึ้น 1
ค่ำของเดือนอัศวินีมาส
เป็นการเฉลิมฉลองในช่วงฤดูใบไม้ร่วงหลังพายุ สารทฤดู/ศรทฤดู (จุดเริ่มต้นของฤดูหนาว,
กันยายนตุลาคม) สารทฤดู
เป็นช่วงที่ดาวจระเข้เห็นเด่นชัดในกลางท้องฟ้ามากที่สุด
ขณะที่ช่วงไตปูซัมเป็นช่วงที่เห็นดาวกฤติกากลางท้องฟ้าเด่นชัดที่สุด
4.มาฆะ นวราตรี หรือ มาฆะ คุปตะ
นวราตรี เป็นพิธีเก้าวันที่บูชาศักติเทวีทั้ง 9ปาง
ในเดือนมาฆะมาส ฤดูหมอกน้ำค้าง สิสิรฤดู/ศีตฤดู (เดือนมกราคมถึงเดือนกุมภาพันธ์)
เทศกาลนวราตรีที่สำคัญที่สุดมีการเต้นรำฉลองทั้งเมืองคือ
“สารทะ นวราตรี” จึงเรียกอีกอย่างว่า “มหานวราตรี”
ส่วนใหญ่จะตรงกับเทศกาลกินเจของชาวไทยเชื้อสายจีน
อาจจะคลาดเคลื่อนต่างวันกันบ้างเหมือชาวไทยเชื้อสายจีนและแขกที่ชุมชนจีนในประเทศไทยตั้งใจจะจัดงานไม่ให้ตรงกัน
แม้ว่าจะใช้หลักจันทรคติเดียวกัน
เป็นเรื่องหน้าสนใจว่าการฉลองเทศกาลนวราตรีทั้ง
4 ของอินเดีย (เดิมอาจจะมี 5 หรือ 6)
เป็นเทศกาลฉลองการเปลี่ยนแปลงฤดูกาลของอินเดียที่มีการเปลี่ยนแปลงของวันคืนที่อาจจะไม่เท่ากัน
และน่าจะเกี่ยวกับ วันเหมายัน วันวสันตวิษุวัต วันครีษมายัน และวันศารทวิษุวัต
โดยเฉพาะเทศกาล สารทะ นวราตรีจะเป็นวันสิ้นสุดหรือวันถัดมาจากเทศกาลสารท 16
วันของอินเดียที่เรียกว่า “ปิตฤ ปักษะ” पितृ पक्ष หรือ
“ปิตะระ ปะขะ” पितर पख
เป็นวันระลึกถึงและทำบุญให้บรรพบุรุษผู้ล่วงลับ
แต่ในรัฐเบงกาลีถือว่าวันแรกของนวราตรีเป็นวันสุดท้ายของเทศกาลสารทของอินเดียเรียกว่า
“มหาลย ปักษะ” 'महालय पक्ष' โดยพิธีสารททำบุญให้บรรบุรุษเป็นพิธีศักดิ์สิทธิ์ไม่มีงานรื่นเริง
16 วัน ตามความเชื่อว่าดวงวิญญาณของบรรพชนจะถูกพระยายมนำไปสู่ปิตฤโลก
ถ้าไม่ได้บรรลุธรรมหรือไปสู่โมกษะ แล้วพอถึงช่วงเวลาที่
พระอาทิตย์เคลื่อนไปสู่ราศีกันย์ ก่อนที่เคลื่อนไปสู่ราศีตุลย์ หรือพิจิก
ก็จะเป็นช่วงเวลา 16 วันก่อนการสิ้นสุดเทศกาลสารทของอินเดียและเริ่มเทศกาลนวราตรีซึ่งเป็นเทศกาลบูชาเจ้าแม่ทุรคาเทวี
เจ้าแม่ศักติต่าง ๆ และลูกของพระองค์
เดิมคงเป็นการฉลองรื่นเริงหลังจากสิ้นสุดพิธีสารทที่เป็นงานส่วนตัวของแต่ละครอบครัวเงียบมากกว่า
ก่อนที่จะกลายเป็นงานถือศีลกินมังสวิรัติบูชาพระเจ้าเพราะได้อิทธิพลจากศาสนาไชนะและพุทธศาสนา
……………………………….
วันเหมายัน
วันวสันตวิษุวัต วันครีษมายัน และวันศารทวิษุวัต
วันเหมายัน (Winter
Solstice) ประมาณวันที่ 20 - 21 ธันวาคม โลกหันซีกโลกใต้เข้าหาดวงอาทิตย์
ทำให้เรามองเห็นดวงอาทิตย์อยู่ค่อนไปทางทิศใต้ (Dec -23.5°) ซีกโลกเหนือเป็นฤดูหนาว ดวงอาทิตย์ขึ้นช้าตกเร็ว เวลากลางวันสั้นกว่ากลางคืน โลกจึงได้รับพลังงานจากดวงอาทิตย์น้อยที่สุด
ต้นไม้ในเขตละติจูดสูงทิ้งใบหมด
เนื่องจากพลังงานแสงแดดไม่พอสำหรับการสังเคราะห์แสง
วันวสันตวิษุวัต
(Vernal Equinox) ประมาณวันที่ 20 - 21 มีนาคม เป็น ดวงอาทิตย์ขึ้นตรงทิศตะวันออกและตกตรงทิศตะวันตกพอดี
กลางวันและกลางคืนยาวเท่ากัน ซีกโลกเหนือเป็นฤดูใบไม้ผลิ
เนื่องจากโลกได้รับพลังงานจากดวงอาทิตย์มากขึ้นเมื่อเทียบกับฤดูหนาว
ต้นไม้ผลิใบออกมาเพื่อสังเคราะห์แสงผลิตอาหาร
วันครีษมายัน (Summer
Solstice) ประมาณวันที่ 20 - 21 มิถุนายน โลกหันซีกโลกเหนือเข้าหาดวงอาทิตย์ ทำให้เรามองเห็นดวงอาทิตย์อยู่ค่อนไปทางทิศเหนือ (Dec
+23.5°) ดวงอาทิตย์ขึ้นเร็วตกช้า เวลากลางวันยาวกว่ากลางคืน ซีกโลกเหนือเป็นฤดูร้อน
วันศารทวิษุวัต
(Autumnal Equinox) ประมาณวันที่ 22 - 23 กันยายน ดวงอาทิตย์ขึ้นตรงทิศตะวันออกและตกตรงทิศตะวันตกพอดี
กลางวันและกลางคืนยาวเท่ากัน ซีกโลกเหนือเป็นฤดูใบไม้ร่วง เนื่องจากโลกได้รับพลังงานจากดวงอาทิตย์ลดลงเมื่อเทียบกับฤดูร้อน
ต้นไม้จึงผลัดใบทิ้ง
ที่มา https://www.wegointer.com/2019/07/16-reasons-india-is-like-another-planet/
ฤดูกาลของอินเดีย
ฤดูกาลของอินเดียโบราณแบ่งได้เป็น
6 ฤดู ได้แก่
1. เหมันตฤตุ (เห-มัน-ตะ-รึ-ตุ) /ศีตฤตุ
(สี-ตะ-รึ-ตุ) คือ ฤดูหนาว กลางตุลาคม-ธันวาคม
2. สิสิรฤตุ (สิ-สิ-ระ-รึ-ตุ) คือ
ฤดูหนาวตอนปลายที่หิมะเริ่มละลาย บางเรียกว่าฤดูหมอกน้ำค้าง มกราคม-กุมภาพันธ์
3. วสันตฤตุ (วะ-สัน-ตะ-รึ-ตุ) คือ
ฤดูใบไม้ผลิ มีนาคม หรือกลางกุมภาพันธ์ – เมษายน
4. คิมหันตฤตุ (คิม-หัน-ตะ-รึ-ตุ) /
คฺรีษฺมฤตุ (ครีซ-มะ-รึ-ตุ) คือ ฤดูร้อน เมษายน-พฤษภาคม หรือกลางมิถุนายน
5. วัสสานฤตุ (วัด-สา-นะ-รึ-ตุ) /วรฺษาฤตุ
(วัร-ซา-รึ-ตุ) คือ ฤดูฝน มิถุนายน-สิงหาคมหรือกันยายน
6. สารทฤตุ (สา-ระ-ดะ-รึ-ตุ) /ศรทฤตุ
(ซะ-ระ-ดะ-รึ-ตุ) คือ ฤดูใบไม้ร่วง กลางสิงหาคม-กันยายน
ฤดูกาลของอินเดียเหนือปัจจุบันแบ่งได้
4 ฤดู ได้แก่
1. สิสิรฤดู/ศีตฤดู คือ ฤดูหนาว (เดือนมกราคมถึงเดือนกุมภาพันธ์)
2. คิมหันตฤดู / คฺรีษฺมฤดู คือ ฤดูร้อน(มีนาคม-พฤษภาคม)
3. วัสสานฤดู /วรฺษาฤดู คือ ฤดูฝน (เดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม)
4. สารทฤดู/ศรทฤดู คือ ฤดูใบไม้ร่วง (จุดเริ่มต้นของฤดูหนาว,
กันยายนตุลาคม)
ส่วนห้าแคว้นอินเดียใต้มีฤดูกาลสามฤดูกาลเหมือนประเทศไทยเนื่องจากอยู่ในระยะห่างจากเส้นศูนย์สูตรพอ
ๆ กัน เฉพาะรัฐทมิฬนาฑูปัจจุบันมีหน้าฝนจะอยู่ในช่วงเดือนไตปูซัม
หรือช่วงกลางเดือนธันวาคมตอนปลายกับกลางต้นเดือนมกราคมตอนต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น