🌟เซียน (จีน: 仙/仚/僊, Daoist immortal) ในลัทธิเต๋าหมายถึงถึงนักสิทธิ์ ผู้บรรลุถึงอมตภาพทางวิญญาณและร่างกายจนกลายเป็นเทพเจ้าต่าง ๆ
💥คัมภีร์จงลฺหวี่ฉวนเต้าจี๋ (鐘呂傳道集) ของจงลฺหวี่ ที่ต่อมาถูกอ้างว่าเป็นคัมภีร์ที่จงหลี ฉวน และลฺหวี่ ต้งปิน เซียน 2 ตนในกลุ่มแปดเซียนเป็นผู้ประพันธ์ขึ้น ได้จำแนกเซียนออกเป็น 5 ชั้น ได้แก่
1.กุ่ยเซียน (鬼仙) เซียนผี คือคนที่มีพลังหยินมากเกินไป และต้องสูบพลังหยางจากแก่นแท้ของสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ เพื่อให้พลังหยินหยางสมดุลในการฝึกเซียน มีลักษณะคล้ายผีดูดเลือด (แวมไพร์) ดังเช่น ปีศาจจิ้งจอกเก้าหาง ปีศาจภูตพิณ ปีศาจไก่เก้าหัว ฯลฯ ในวรรณคดีจีนเรื่องห้องสิน หรือเฟิงเฉิน (封神) อาศัยอยู่ในภูมิของผี เปรียบได้กับปีศาจ ภูตผี พวกอสูร อสูรพรหม และพวกมารต่าง ๆ
ภาพ หูเซียน (胡仙;狐仙) หรือเซียนจิ้งจอก
2.เหรินเซียน (人仙) เซียนคน หรือเซียนมนุษย์ คือมนุษย์ที่มีพลังยินหยางอย่างสมดุล จนมีชีวิตเป็นอมตะได้ ไม่แก่ (บางตำนานว่า แค่แก่ชราช้า และมีอายุยืนยาวนานกว่าคนปกติ) ไม่เจ็บไข้ได้ป่วย แต่ยังมีความหิวกระหายและต้องการเครื่องนุ่งห่มอย่างมนุษย์ทั่วไป อาศัยอยู่ร่วมกับคนทั่วไป เปรียบได้กับนักบวช และฤๅษีต่าง ๆ ที่บรรลุธรรมชั้นต้น
3.ตี้เซียน (地仙) เซียนพื้นพิภพ เมื่อพลังหยินเปลี่ยนไปเป็นพลังหยางอย่างสมบูรณ์ ได้พลังฉี (ปราณทิพย์) จากธรรมชาติร่างกายจะอยู่ได้โดยไม่ต้องกินอาหาร น้ำดื่ม หรือเสื้อผ้า ไม่รู้ร้อนรู้หนาว ใส่เสื้อผ้าทิพย์ อาศัยอยู่ในพื้นที่สันโดษในโลก เปรียบได้กับนักบวชและฤๅษีต่าง ๆ ที่บรรลุธรรมชั้นสูง
阿難。彼諸眾生。堅固服餌而不休息。食道圓成。名地行仙。
"(พระ) อานนท์" สรรพสัตว์ผู้เสพอาหารทิพย์ (ฟูเออร์ 服餌) เป็นนิตย์ จนไม่ต้องต้องกินอาหารอีก (หลอดอาหารกลายเป็นกลม) เรียกว่า ตี้ (ซิง) เซียน (地(行)仙)" จาก คัมภีร์ ศูรังคม สูตร शूरङ्गम सूत्र (大佛頂首楞嚴經) เล่ม 8 บทที่ 16
4.เสินเซียน (神仙) เซียนเทพ ในขั้นการฝึกตนเป็นเซียนนี้ร่างกายจะเปลี่ยนเป็นไอ และสามารถแปลงร่างเป็นสิ่งใดก็ได้ ยังอาศัยอยู่ในโลกเพื่อสอนเต๋าแก่มนุษย์ อาศัยในโลกวิญญาณ เมื่อสั่งสมบุญจนเพียงพอคือได้ไปโปรดสัตว์ช่วยเหลือชาวบ้าน ก็จะได้รับอาณัติสวรรค์ให้เลื่อนขั้นไปอยู่บนสวรรค์ เปรียบได้กับเทพชั้นรอง
💥โดยคัมภีร์ ศูรังคม สูตร शूरङ्गम सूत्र (大佛頂首楞嚴經) ต้นฉบับพุทธศาสนามหายานกล่าวถึงแนวทางคำสอนของลัทธิเต๋าที่กล่าวถึงลักษณะของเซียนเพิ่มเติมก่อนถึงขั้นเทียนเซียนว่า
阿難。復有從人。不依正覺修三摩地。別修妄念。存想固形。遊于山林人不及處。有十種仙。
(ดูก่อน) อานนท์ มีสรรพสัตว์จำนวนมาก แทนที่จะบำเพ็ญภาวนาสัมมาทิฏฐิแห่งโพธิปัญญาการบรรลุธรรมที่ถูกต้อง แต่ปฏิบัติ (อมตะ) ผิด ๆ และตามความคิดผิด ๆ นั้น ย่อมรักษาทัศนะและกายทั้งหลายของพวกเขาไว้ ย่อมชอบอยู่ตามภูเขา อยู่ในป่าและสถานที่ที่ไม่เอื้ออำนวย เซียน (ฤๅษี) เหล่านี้มีสิบจำพวก จาก คัมภีร์ ศูรังคม สูตร शूरङ्गम सूत्र (大佛頂首楞嚴經) เล่ม 8 บทที่ 16
4.1 เฟ (ซิง) เซียน (飛(行)仙 "เซียนบินได้") – เซียนผู้สร้างพลังฉี (ปราณทิพย์) จากการกินสมุนไพรและพืชวิเศษบางชนิด
"เสพสมุนไพร พืช และยาวิเศษเป็นนิตย์ ชื่อว่า เฟ (ซิง) เซียน (飛(行)仙 คือเซียนบินได้" จาก คัมภีร์ ศูรังคม สูตร शूरङ्गम सूत्र (大佛頂首楞嚴經) เล่ม 8 บทที่ 16
4.2 หยู่ (ซิง) เซียน (遊(行)仙 "เซียนอมตะสัญจร") – เซียนผู้ดูดซับพลังฉี จากแร่ธาตุ หินมีค่า และโลหะวิเศษ
堅固金石而不休息。化道圓成。名遊行仙。
"เสพ (พลังปราณทิพย์) จากหินวิเศษ จน (ตันเถียนแห่ง) เต๋ากลมมน เรียกว่า หยู่ (ซิง) เซียน (遊(行)仙 เซียนอมตะสัญจร" จาก คัมภีร์ ศูรังคม สูตร शूरङ्गम सूत्र (大佛頂首楞嚴經) เล่ม 8 บทที่ 16
4.3 กง (ซิง) เซียน (空(行)仙 "เซียนแห่งความว่างเปล่า") – เซียนผู้ทำให้พลังฉีและแก่นแท้ (ตันเถียน) สมบูรณ์แบบโดยไม่หยุดนิ่ง ไม่ว่าจะเป็นตอนเคลื่อนไหวและนิ่งสงบ
堅固動止而不休息。氣精圓成。名空行仙。
" ขับเคลื่อน (พลังฉี) อย่างเป็นนิตย์ จนแก่นแท้ (ตันเถียน) แห่งพลังฉี (ปราณทิพย์) กลมมนบริสุทธิ์สมบูรณ์ ชื่อว่า กง (ซิง) เซียน (空(行)仙 เซียนแห่งความว่างเปล่า" "จาก คัมภีร์ ศูรังคม สูตร शूरङ्गम सूत्र (大佛頂首楞嚴經) เล่ม 8 บทที่ 16
5.เทียนเซียน (天仙) เซียนสวรรค์ คือวิญญาณอมตะที่ถูกรับขึ้นสวรรค์ ในระยะแรกจะได้ปกครองน้ำ (ฝนในสวรรค์ ?) ต่อมาจะได้รับมอบหมายให้ปกครองโลกและสวรรค์ตามลำดับ สามารถท่องเที่ยวไปมาระหว่างโลกกับสวรรค์ได้ เปรียบได้กับเทพเทวดาชั้นสูง พระอรหันต์ หรือการบรรลุโมกษะในศาสนาพราหมณ์
堅固津液而不休息。潤德圓成。名天行仙。
"เสริมสร้างธาตุน้ำ (ของเหลว) ในร่างกายเป็นนิตย์ ได้รับคุณธรรมที่สมบูรณ์ ได้ชื่อว่า เทียน (ซิง) เซียน (天 (行) 仙) จาก คัมภีร์ ศูรังคม สูตร शूरङ्गम सूत्र (大佛頂首楞嚴經) เล่ม 8 บทที่ 16
💥โดยคัมภีร์ ศูรังคม สูตร शूरङ्गम सूत्र (大佛頂首楞嚴經) ต้นฉบับพุทธศาสนามหายานกล่าวถึงแนวทางคำสอนของลัทธิเต๋าที่กล่าวถึงลักษณะของเซียนเพิ่มเติมต่อจากเทียนเซียนว่า
5.1 ทง (ซิง) เซียน (通(行)仙 "เซียนผู้ทะลุทะลวง") –เซียนที่ฝึกฝนการเสริมพลังของแก่นแท้ (ตันเถียน) ให้บริสุทธิ์อยู่เสมอ
堅固精色而不休息。吸粹圓成。名通行仙。
"กลั่น (รัศมี) สี (แห่งปราณทิพย์) เป็นนิตย์ จนดูดซับ (พลังปราณทิพย์) โดยสมบูรณ์ เรียกว่า ทง (ซิง) เซียน (通(行)仙 "เซียนผู้ทะลุทะลวง " จาก คัมภีร์ ศูรังคม สูตร शूरङ्गम सूत्र (大佛頂首楞嚴經) เล่ม 8 บทที่ 16
5.2 เต้า (ซิง) เซียน (道(行)仙"เซียนแห่งเต๋า") – เซียนที่บรรลุการอยู่เหนือว่า คาถา และรหัสลับ ทั้งปวง ไม่จำเป็นต้องใช้เวทย์ผ่านการท่องคาถาและยันต์ต่าง ๆ มีอำนาจทิพย์เป็นนิรันตร์
堅固咒禁而不休息。術法圓成。名道行仙。
"ฝึกพลังวิญญาณอยู่เป็นนิตย์ จนใช้เวทย์ได้สมบูรณ์แบบ ได้เชื่อว่า เต้า (ซิง) เซียน (道(行)仙 เซียนแห่งเต๋า"จาก คัมภีร์ ศูรังคม สูตร शूरङ्गम सूत्र (大佛頂首楞嚴經) เล่ม 8 บทที่ 16
5.3 เจ้า (ซิง) เซียน (照(行)仙 "เซียนผู้ส่องสว่าง") – เซียนผู้บรรลุถึงความมีชัยผ่านช่วงเวลาแห่งความคิดและความทรงจำที่คงที่เป็นนิรันตร์ ปราศจากความหลงลืม และระลึกชาติได้
堅固思念而不休息。思憶圓成。名照行仙。
"พิจารณาความคิดอย่างลึกซึ้งอยู่เป็นนิตย์ จนคิดต่าง ๆ ได้เต็มที่ (และสติปัญญา มั่นคงสมบูรณ์นิรันดร์) ได้ชื่อว่า เจ้า (ซิง) เซียน (照(行)仙 เซียนผู้ส่องสว่าง"" จาก คัมภีร์ ศูรังคม สูตร शूरङ्गम सूत्र (大佛頂首楞嚴經) เล่ม 8 บทที่ 16
5.4 จิง (ซิง) เซียน 精(行) 仙 "เซียนแก่นแท้วิญญาณ") – เซียนผู้เชี่ยวชาญต่อการควบคุมและตัดสิ่งเร้าและการตอบสนองต่อกามารมณ์
堅固交遘而不休息。感應圓成。名精行仙。
"ฝึกพลังหยินหยาง (จากหัวใจและไต?)ให้เป็นนิตย์ จนการตอบสนองสมบูรณ์ เรียกว่า จิง (ซิง) เซียน 精(行) 仙 เซียนแก่นแท้วิญญาณ" จาก คัมภีร์ ศูรังคม สูตร शूरङ्गम सूत्र (大佛頂首楞嚴經) เล่ม 8 บทที่ 16
หมายเหตุ: มีผู้อธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับ หยินหยาง และหัวใจและไต ของจิง (ซิง) เซียน
5.5 เฉีย (ซิง) เซียน (絕(行)仙 "เซียนอมตะอย่างแท้จริง") – เซียนที่ "บรรลุโมกษะ" และความเป็นอมตะถูกปลุกให้ตื่นขึ้นอย่างสมบูรณ์แบบด้วยการเข้าสู่พลังธรรมชาติที่ผันแปรอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
堅固變化而不休息。覺悟圓成。名絕行仙。
"ฝึกการผันแปร (พลังหยินหยาง) เป็นนิตย์ จนญาณหยั่งรู้ถึงความสมบูรณ์ (แห่งเซียน) เรียกว่า เฉีย (ซิง) เซียน (絕(行) 仙 เซียนอมตะอย่างแท้จริง" จาก คัมภีร์ ศูรังคม สูตร शूरङ्गम सूत्र (大佛頂首楞嚴經) เล่ม 8 บทที่ 16
............................
阿難。是等皆於人中煉心。不修正覺。別得生理。壽千萬歲。休止深山或大海島。絕於人境。斯亦輪迴妄想流轉。不修三昧。報盡還來。散入諸趣。
(ดูก่อน) อานนท์ เซียน (ฤๅษี) เหล่านี้ตั้งจิตไว้แต่ไม่ทำบำเพ็ญโพธิปัญญาแห่งการบรรลุธรรมที่ถูกต้อง อยู่ได้เป็นพันปีหมื่นปี พวกเขาอาศัยอยู่บนภูเขาสูงหรือ (ทะเลทราย) เกาะ ที่ตัดการเชื่อมต่อทางโลกทั้งหมด ดินแดนของพวกเขายังคงอยู่ในกระแสสังสารวัฏแห่งความเห็นผิดๆ และตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ไม่ปฏิบัติสัมมาทิฏฐิ เมื่อเพลิดเพลิน (กรรมดีที่เป็น) พรที่มีเงื่อนไขพวกเขาจะต้องกลับไปที่ (เบื้องล่าง) นี้คือยานพาหนะแห่งการดำรงอยู่ (ในโลกแห่งการเวียนว่ายตายเกิด) จาก คัมภีร์ ศูรังคม สูตร शूरङ्गम सूत्र (大佛頂首楞嚴經) เล่ม 8 บทที่ 16
หมายเหตุ : ตามความเชื่อพุทธศาสนาแม้เซียนหรือฤๅษีจะบรรลุโมกษะแต่ก็ไม่บรรลุนิพพาน เป็นการข่มว่าพวกเซียน หรือฤๅษี นั้นมีความเห็นผิด และจุดหมายสูงสุดในศาสนาอื่น ไม่ทำให้หลุดพ้นจากสังสารวัฎอยู่ดี ไม่เหมือนนิพพานในทางพุทธศาสนา
...........................
大佛頂首楞嚴經, 卷八 【十六】
ต้าฟูติงโซวเหลงเหยียนจิง, ฉวนป๊า (สือลู่)
💥ศูรังคม สูตร शूरङ्गम सूत्र เล่มที่ 8 (16) กล่าวถึงเซียนในลัทธิเต๋าสิบประเภท "โยวสือจงเซียน" 有十種仙 (เชื่อว่าเป็นพระสูตรที่แต่งขึ้นใหม่ในจีน จึงได้รับอิทธิพลจากลัทธิขงจื้อและเต๋า โดยที่เนื้อหาบางส่วนมีที่มาจากคัมภีร์วัสตุ ตถาคครรภะ และธารณี เป็นต้น ต่อมาในสมัยจักรพรรดิเฉินหลงได้มีการแปลคัมภีร์นี้เป็น เป็นภาษาแมนจู, มองโกเลียและทิเบต) เทียบได้กับคัมภีร์วิสุทธิมรรคของพุทธศาสนาเถรวาท
阿難。復有從人。不依正覺修三摩地。別修妄念。存想固形。遊于山林人不及處。有十種仙。阿難。彼諸眾生。堅固服餌而不休息。食道圓成。名地行仙。堅固草木而不休息。藥道圓成。名飛行仙。堅固金石而不休息。化道圓成。名遊行仙。堅固動止而不休息。氣精圓成。名空行仙。堅固津液而不休息。潤德圓成。名天行仙。堅固精色而不休息。吸粹圓成。名通行仙。堅固咒禁而不休息。術法圓成。名道行仙。堅固思念而不休息。思憶圓成。名照行仙。堅固交遘而不休息。感應圓成。名精行仙。堅固變化而不休息。覺悟圓成。名絕行仙。阿難。是等皆於人中煉心。不修正覺。別得生理。壽千萬歲。休止深山或大海島。絕於人境。斯亦輪迴妄想流轉。不修三昧。報盡還來。散入諸趣。
💥ศูรังคม สูตร เป็นคัมภีร์ที่ว่าด้วยเรื่องการทำสมาธิอย่างลึกซึ้ง มีนิทานต้นเรื่องว่า นางเทวทาสี หรือหญิงงามเมืองผู้หนึ่งเกิดหลงรักพระอานนท์จึงพยายามยั่วยวนให้พระอานนท์สึก พระอานนท์จึงทูลขอให้พระพุทธเจ้าสอนเรื่องการทำสมาธิเพื่อให้พ้นภัยจากสตรีดังกล่าว
นิทานต้นเรื่องศูรังคม สูตร ภาษาจีน และบทมนต์สันสกฤต
ศูรังคม สูตร शूरङ्गम सूत्र เล่มที่ 8 ภาษาจีน บทที่ 16 อยู่ท้ายวิดีโอรองบทสุดท้าย
คัมภีร์จงลฺหวี่ฉวนเต้าจี๋ (鐘呂傳道集) ของจงลฺหวี่
.......................................
ลิงก์ที่เกี่ยวข้อง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น