วันศุกร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2564

เจ้าแม่กวนอิม คือ พระศากยมุนีพุทธเจ้าทั้งสมัยเป็นพระโพธิสัตว์และหลังการตรัสรู้ และเทพสำคัญในพุทธศาสนา

เจ้าแม่กวนอิมปางต่าง ๆ กับที่มาในชาดก


ภาพกวนอิม 84 ปาง
ที่มา https://kumponweb.wordpress.com/2016/09/27/เจ้าแม่กวนอิม84ปาง/

1) กวนอิมพันมือพันตา และกวนอิม 11 หน้า - พุทธประวัติตอนโปรดท้าวพกาพรหม

กวนอิมพันมือ คือท้าวพกาพรหม
千手観音 เชียนโส่วกวนอิม (จีน) เซนจูคันนอน (ญี่ปุ่น)


ภาพกวนอิมสิบเอ็ดหน้าพันมือพันตา
ที่มา http://www.guanzizai.com/music/1209.html

...............................
1.1) กวนอิมพันมือ
ตำนานจีน กล่าวว่าเจ้าหญิงเมียวซานถวายดวงตาและมือให้บิดา แล้วภายหลังเมื่อสู้กับพระยามารได้แสดงอิทธิฤทธิ์เป็นพันมือพันตา เทิดรูปพระพุทธองค์ไว้เหนือเศียรอาศัยพุทธบารมีปราบพวกปีศาจ (น่าจะได้รับอิทธิพลจากสีวิราชชาดก ชาดกในนิบาตของพุทธศาสนาเถรวาท เพราะในมหายานก็พูดถึงชาดกเรื่องนี้หลายครั้ง)
ภาพพระพุทธเจ้าเหยียบเศียรพกาพรหม/พกพรหม
ที่มา http://image.dek-d.com/26/2326721/113100078

1.2) พุทธเจ้าโปรดท้าวพกาพรหม
วันหนึ่งท้าวพกาพรหมเกิดมิจฉาทิฐิพุทธเจ้าจึงเสด็จขึ้นไปประลองฤทธิ์ โดยการเล่นซ่อนแอบ 2.1 ครั้งแรกเท้าพกาพรหมซ่อนก่อนแปลงเป็นฝุ่นไปซ่อนอยู่บนยอดเขาพระสุเมรุ พระพุทธองศ์ส่องทิพยญาณก็จับได้ 2.2 ครั้งสองพุทธองค์แปลงเป็นฝุ่นไปติดบนเศียรท้าวพกาพรหม ท้าวพกาพรหมส่องทิพย์เนตรทั่วจักรวาลแต่ลืมดูบนหัวตัวเองเลยแพ้ 2.3 ตำนานเพลงสาธุการเปลี่ยนท้าวพกาพรหมเป็นพระศิวะ ที่มาห้ามพระขันธกุมารที่อิจฉาที่เทวดามาศรัทธาพุทธเจ้ามากกว่า สุดท้ายก็เล่นซ่อนแอบกับพุทธเจ้า แล้วพระศิวะก็แพ้ดังกล่าว แล้วพุทธเจ้าไม่ยอมลงจากเศียรพระศิวะ พระศิวะจึงให้เล่นเพลงสาธุการถวาย พุทธเจ้าจึงยอมเสด็จลงมา (ที่มาสำนวนเส้นผมบังภูเขา)

1.3) พระพุทธเจ้าเหนือพนัสบดี หรือศรภะ
สมัยหลังมักเรียกเป็นพระพนัสบดี อาจจะเป็นอิทธิพลของโองการแช่งน้ำ เพราะไม่มีใครรู้ว่า พนัสบดี ในภาษาอินโดนีเซีย เป็นอมนุษย์ชนิดหนึ่งเป็นดวงไฟล่องลอยไปในป่าเหมือนผีกระสือ
เชื่อว่าพนัสบดี คือ วนสฺปติ वनस्पति แปลว่า เจ้าป่า ซึ่งสัตว์ที่เป็นเจ้าป่าของไทยคือราชสีห์ แต่ในวรรณคดีสันสกฤตสัตว์ที่เป็นเจ้าป่าคือ ศรภะ (จากนิทานอินเดียฤๅษีชุบหมาตายให้เป็นสิงโต ฯ เป็นกริฟฟินอินเดีย) แม้ว่าภายหลังไวษณพนิกายจะว่า เมื่อ ศรภะ ปราบนรสิงห์ได้ พระนารายณ์ก็อวตารเป็น อัษฎามุข คัณฑเภรุณฑา นรสิงห์ มาปราบต่อ ก่อนที่ทางไศวนิกาย ที่เป็นศักตินิกายย่อย จะอ้างว่า สุดท้ายแล้วเจ้าแม่ปรัตยังคิรา เทวี प्रत्यङ्गिरा หรือ นรสิงหี จะมาปราบนกคัณฑเภรุณฑา (นกสองหัว) ได้ แล้วทั้งสามก็คืนร่างกลับไปวิมานของตน (เป็นการข่มกันเองระหว่างนิกายย่อยที่นับถือนรสิงห์ ศรภาวตาร และเจ้าแม่ศักติ นรสิงหี ก็เหมือนกับการเกิดขึ้นของพระพุทธเจ้าเหยียบหัวศรภะ หรือพนัสบดี)

ปล. มีสัตว์ผสมสัตว์ทุกชนิดในป่าที่เรียกว่า นวคุญฺชระ ที่ถูกอ้างถึงในภควัทคีตา และมหาภารตะว่าเป็นสุดยอดแห่งสัตว์บกทั้งปวง

2) กวนอิมอุ้มบุตร (หารีตี ยักษิณี) - พุทธประวัติโปรดนางกาลียักขินี (กำเนิดสลากภัต)

เจ้าแม่กวนอิมอุ้มบุตรคือปีศาจนางยักษิณีขโมยเด็ก
ซ้าย-คิชิโมจิง (กุ้ยจือมูเซิน) นางหารีตีญี่ปุ่น/ ขวา-นางหารีตีวัดเมนดุต (Mendut Buddhist temple) อินโดนีเซีย
ที่มา https://th.wikipedia.org/wiki/หารีตี
......
ในพุทธศาสนามหายานกล่าวถึงนางหารีตี แห่งเมืองเปศวาร์ (ปัจจุบันอยู่ในปากีสถาน) ซึ่งชาวจีนเรียกว่า "กุ้ยจือมู่เซิน" 鬼子母神 (เซียนแม่ลูกผี) ที่เล่าว่าสมัยก่อนนางยักษิณีตนนี้มีลูกมากและชอบลักพาขโมยเด็กไปให้ลูกกินวันหนึ่ง นางได้ลักพาเด็กคนหนึ่งไปทำให้แม่เด็กขอความช่วยเหลือจากพระยูไล พระยูไลจึงใช้คนให้คนไปลักพาลูกนางมา 1 ตน นางยักษิณีไม่เห็นลูก ก็ร้องไห้ตามหาลูกตนไปทั่วจักรวาลก็ไม่พบ สุดท้ายมาขอความช่วยเหลือพระยูไล พระยูไลจึงสอนว่าลูกนางหาไปคนเดียวยังเดือดร้อนใจขนาดนี้การที่นางลักพาเด็กไปมากมายแม่ ๆ ของเด็ก ๆ ต้องทนทุกมากมายขนาดไหน พระยูไลสอนไม่ให้นางลักพาเด็กอีก นางรับปากจึงคืนลูกให้นาง ทำให้นางเลิกลักพาเด็กมากิน เนื่องจากนางมีลูกมากคนจีนจึงนิยมบูชานางในฐานะเทพให้ลูก ต่อมากระแสความนิยมเจ้าแม่กวนอิมสูงสุด นางจึงได้กลายเป็นเจ้าแม่กวนอิมปางอุ้มบุตร
........
เชื่อว่านางหารีตี ยักษิณีขโมยเด็ก มาจากเรื่องนางกาลียักขินีผู้ให้กำเนิดประเพณีสลากภัตของพุทธศาสนาเถรวาท เรื่องนางกาลียักขินีวัตถุ อรรถกถา นิทานธรรมบท ขุททกนิกาย ยมกวรรคที่ 1

3) กวนอิมหัวม้า-วลาหกัสสชาดก (พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นพระยาม้าวลาหก)

กวนอิมหัวม้า โปรดเดรัจฉานภูมิปราบกามราคะ
(ความลุ่มหลงในเพศตรงข้าม นำมาซึ่งความทุกข์ เป็นข้าศึกของพรหมจรรย์)

ภาพบาโตโพธิสัตว์ญี่ปุ่น และพระหยครีวะเทพให้คัมภีร์พระเวทแก่พระพรหมธาดา
ที่มา https://kitabiwako.jp/en/travel_guide/spot/detail?id=10378 และ https://anudinam.org/2012/12/26/saligrama-mahimai-%E2%80%93-10-sacred-facts-about-saligrama-10/
......................................
(พุทธ) 馬頭観音 บาโต คันนอน (ญี่ปุ่น) ม่าเถากวนอิม (จีน) หรือ หยครีวะอวโลกิเตศวร (อินเดีย) ตรงกับ (ฮินดู) พระหยครีวะเทวะ ซึ่งเป็นพระนารายณ์ปางอวตารเป็นกินนรหัวม้า (ในวรรณคดีสันสกฤตนางกินรีคือนางแก้วหน้าม้า) เป็นผู้บอกพระเวทให้พระพรหม แต่ในนารายณ์สิบปางกล่าวถึง หยสิระ คืออสูรที่ขโมยพระเวทไปจากพระพรหมเช่นเรื่องนารายณ์สิบปางสำนวนไทยในมัตสยาวตาร แต่ไทยเรียกว่า หัยครีพ (มาจากคำว่า หยครีวะ) น่าจะเป็นการข่มกันระหว่างไศวะนิกาย และไวษณพนิกายของอินเดียยุค 500 ปี หลังพุทธกาล
เชื่อว่าพระหัยครีพ อวโลกิเตศวร (สำเนียงไทย) นี้มีที่มาจากวลาหกัสสชาดก ซึ่งเดิมคืออดีตชาติของพระพุทธเจ้าศากยมุนีสมัยที่เกิดเป็นพระยาม้าวลาหกสามารถเหาะเหินเดินอากาศได้ ทรงได้ช่วยพ่อค้าวาณิชผู้มีปัญญาไม่หลงสเน่ห์นางยักขินีให้พ้นจากเกาะนางยักขิณีที่ชื่อว่า เกาะตามพปัณณิ ในเมืองสิริวัตถุ(เกาะมนุษย์กินคนแถวชวามลายู อาณาจักรตามพรลิงค์ และศรีวิชัย? แต่ทองย้อย แสงสินชัยตีความว่าคือ เกาะลังกา ทศกัณฐ์เป็นรากษส ไทยว่ายักษ์?)
ต่อมาเมื่อเข้าสู่มหายานที่นับถือพระอวโลกิเตศวร และเจ้าแม่กวนอิมเป็นเทพสูงสุด พระโพธิสัตว์ (ศากยมุนี) สมัยจุติเป็นพระยาม้าวลาหกนี้จึงถูกดึงให้กลายเป็นวีรกรรมและอวตารของเจ้าแม่กวนอิม และถึงไปรวมกับพระหยครีวะ เทวะซึ่งเป็นอวตารของพระนารายณ์เกิดเป็น รูปเคารพกวนอิมหัวม้าขึ้นด้วยการอธิบายความหมายใหม่ในมหายาน
 
รูปม้าวลาหก จากวลาหกัสสชาดก ที่ปราสาทนาคพันธ์ ประเทศกัมพูชา
ที่มา https://db.sac.or.th/seaarts/th/detail.php?tb_id=489

ม้าวลาหกโพธิสัตว์จากวลาหกัสสชาดก กลายเป็นพระอวโลกิเตศวร ตำนานปราสาทนาคพันเขมร รอยต่อความเชื่อเรื่อง ม่าเถากวนอิม หรือบาโตโพธิสัตว์ (กวนอิมหัวม้า)

(เช่นเดียวกับกรณีการดึงคำไว้พจน์และคำยกย่องของเทพเจ้าต่าง ๆ ไปสร้างเป็นคำไวพจน์ที่ยกย่องเทพเจ้าสูงสุดที่แต่ละนิกายนับถือให้ได้มากที่สุด)

4) กวนอิมเจ้าผีเปรต-มหาสุตโสมชาดก (โปริสาท)

กวนอิมผีเปรต/กวนอิมเจ้าผีเปรต 觀音大士 กวนอิมไต้สือ
(ผู้ปราบราคจริต)

.............
ปรากฏในพระสูตรอัคนีชวามุกเปรตพลี ของมหายานบอกไว้ว่าไต้สือเอี้ยเป็นจ้าวแห่งผีเปรตที่พระโพธิสัตว์กวนอิมแปลงกายมาให้พระอานนท์เห็นที่นิโครธารามวิหาร เมืองกบิลพัสดุ์
...............
ไต้สือเอี้ย (大士爺) หรือ พ้อต่อก้ง (普渡公) . ไต้สือเอี้ยจะได้รับกานบูชาในช่วงเทศกาลผี (鬼節) คือสารทจีนหรือสารทเดือน 7 และวันสุดท้ายในเทศกาลกินเจ ที่เรียกว่าส่งเจ้าขึ้นสวรรค์ หรือทางใต้เรียกว่าส่งพระ ตำนานจีนเล่า ไต้สือเอี้ยคือ ลูกศิษย์เซียนเต้าซือต่อมาได้แต่งงานกับเจ้าหญิงเป็นลูกเขยของเจ้าเมืองแห่งหนึ่ง ต่อมามีสงครามได้ใช้ยาวิเศษ 2 สี สีเหลืองทำให้ตัวใหญ่เป็นยักษ์ สีขาวทำให้คืนร่างมนุษย์ ให้ทหารและตนกินทำให้ตัวใหญ่สู้รบชนะ แต่ยาสีขาวให้ทหารกินหมดไต้สือเอี๊ยจึงกลับร่างเดิมไม่ได้ เนื่องจากไต้สือเอี๊ยกินเก่งมาก จนกลายเป็นยักษ์กินคน ทำให้เจ้าแม่กวนอิมมาโปรดสอนให้เลิกกินคนแล้วให้ทำหน้าที่เป็นประธานในเวลาทิ้งกระจาดหรือเซ่นผี ซึ่งไต้ซือเอี๊ยดุร้ายมากเจ้าแม่กวนอิมจึงต้องมาคุมอยู่บนเศียรไม่ให้ไต้ซือเอี้ยจับพวกผีกิน (คล้ายเรื่องพระราชากินคน "โปริสาท" กับพระสุตโสมโพธิสัตว์ (อดีตชาติของพระศากยมุนีพุทธเจ้า) ในมหาสุตโสมชาดก ชาดกในนิบาต)



ภาพ - กาลสังหารมูรติ (ศิวะปราบพระยม) , กวนอิมเจ้าผีเปรต ไต้ซือเอี๊ย, โพธิสัตว์กระดูก ญี่ปุ่น

ปล. พระยายมคือ พระราชาผู้ปกครองเหล่า เวมานิกเปรต ด้วยเทียบได้กับไต้สือเอี้ย แต่ในจีนมีพระยายมตัดสินความในนรกเป็นตนอื่น ๆ อีกหลายตน

5) กวนอิมจินดามณีจักร-พุทธประวัติตอนพระพุทธเจ้าตรัสถึงดอกบัวสี่เหล่า และพระพรหมลงมาเชิญให้โปรดสัตว์ (พรหมธาดา)

ภาพพระจินดามณีจักรอวโลกิเตศวร 
ที่มา http://foxue.foshang.net/fopusa-tianlongbabu/ruyilunguanyin.html

เมื่อพระศากยมุนีพุทธเจ้าตรัสรู้เป็นพุทธเจ้าแล้ว ทรงพิจารณาวไนยสัตว์ทั้งหลายในโลกนี้เปรียบเหมือนดอกบัวสี่เหล่า แล้วเกิดคิดว่าคนที่เป็นอเวไนยสัตว์นั้นมีมากจะไม่ทรงแสดงธรรม ดังนั้นท้าวสหัมบดีพรหมผู้รู้ด้วยญาณจึงมาเข้าเฝ้าขอให้ทรงแสดงธรรมโปรดสรรพสัตว์ เปรียบได้กับจินดามณีจักรอวโลกิเตศวร ที่เป็นเจ้าแม่กวนอิมปางระลึกว่าจะโปรดสรรพสัตว์ให้ทั้ง 6 ภูมิให้หมดจากนรก
1. พระอารยาวโลกิเตศวร (聖観音 เชิ้งกวนอิม) ปางหนึ่งหน้าสองมือโปรดนรกภูมิ

2. พระเอกาทศมุขีอวโลกิเตศวร (十一面観音 สืออีเมี่ยนกวนอิน) ปางสิบเอ็ดหน้าโปรดอสูรภูมิ

3. พระสหัสรภุชสหัสรเนตรอวโลกิเตศวร (千手観音 เชียนโส่วกวนอิม) ปางพันมือพันเนตรโปรดเปรตภูมิ

4. หัยครีวะอวโลกิเตศวร (馬頭観音 ม่าเถากวนอิม) เป็นปางพิโรธไว้โปรดเดรัจฉานภูมิ

5. จินตามณีจักรอวโลกิเตศวร (如意輪観音 หยูอี้หลุนกวนอิม ) ปางแก้วจินดามณีโปรดเทวภูมิ

6. จุณทีอวโลกิเตศวร (准胝観音 จุ่นถีกวนอิม) ปางพระพุทธมารดาโปรดมนุษย์ภูมิ


6) จุณฑีกวนอิม-พุทธประวัติตอนโปรดพุทธมารดา (เทพบุตรผู้เคยเกิดเป็นพุทธมารดา)

ภาพจุ้นถีโตหยิน ปราบขงสวน
ที่มา https://read01.com/d0RMzBP.html#.YWkroBpBxPY

6.1) พระจุณฑีโพธิสัตว์ (准提菩薩) “จุ่นถีผูซา" คือพระพุทธมารดาของพระพุทธเจ้าในรูปสัมโภคกาย แบบมหายานเหมือนพระโพธิสัตว์มาริจีซึ่งเป็นพระมารดาของเทพเจ้าดาวเหนือทั้งเก้า ทำให้มักจะสับสนกันระหว่าง พระโพธิสัตว์มาริจี จุนที และเจ้าแม่กวนอิม (แต่ถ้าเป็นผู้นับถือกวนอิมเป็นเทพสูงสุดก็ว่าทุกพระองค์แบ่งภาคมาจากกวนอิม 84 ปางอยู่ดี) นอกจากนี้ในจีนยังมีผู้สับสนระหว่างจุนทีโพธิสัตว์กับมหามยุรีโพธิสัตว์ (พัฒนาการมาจากพระขันธกุมาร) เพราะรูปลักษณ์ที่คล้ายกัน เคยมีผู้เทียบผิดว่าสัมโภคกายของพระพุทธมารดาคือมหามยุรีโพธิสัตว์ทรงนกยูง (แต่จุณฑีมี 8 หรือ 16 กร ส่วนมาริจีมี 8 กร)

ในเรื่องห้องสิน หรือ เฟิงเฉินปัง 封神榜 ของจีนมีการกล่าวถึงพระโพธิสัตว์จุณฑี (พุทธมารดาสัมโภคกาย) ในฐานะเทพเซียน 1 ใน 12 ตนชื่อ "จุ้นเถโตหยิน" แห่งเขาคุนหลุนว่ามาปราบ แม่ทัพขงสวน (อสูรนกยูงตาเดียวอวตาร) แล้วบังคับให้ขงสวนคืนร่างเป็นนกยูงตาเดียวนำไปเป็นพาหนะ ทำให้พระพุทธมารดาสัมโภคกาย จุณฑีโพธิสัตว์ มีภาพลักษณ์เหมือน มหามยุรีโพธิสัตว์ที่ทรงนกยูง กลายเป็นพระพุทธมารดามหามยุรีโพธิสัตว์ในพุทธศาสนามหายานของจีนเพราะอิทธิพลจากวรรณกรรมจีนเรื่องห้องสิน (ตามความเชื่อทางพุทธศาสนาเถรวาทปัจจุบัน พระพุทธมารดาเป็นเทพบุตรอยู่บนสวรรค์ชั้นดุสิต แปลงมาเป็นเพศหญิงเมื่อพบกับพุทธเจ้าในครั้งเสด็จโปรดพุทธมารดาที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อสร้างความคุ้นเคย แต่พุทธองค์รู้จึงขอให้คืนร่างเป็นเทพบุตร)

6.2) เจ้าแม่ดาวเหนือ "เต้าบ้อหงวนกุน" (斗母元君) หรือ "เต๋าโบ้เหนียวเหนียว" (斗母娘娘) ตามตำนานในลัทธิเต๋าว่าเป็นมารดาแห่งดาวเหนือทั้ง 9 ดวง
ภาพพระมาริจีโพธิสัตว์ หรือเต้าบ้อหงวนกุน
 ที่มา https://zhuanlan.zhihu.com/p/100056195
...............................................
ในพุทธศาสนา มหายานว่าเป็นพระโพธิสัตว์มาริจี หรือ มอลีกีเทียน摩利支天ท่านจะมีหลายพระหัตถ์ทำท่าทางและมี2พระหัตถ์ถือดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ท่านทรงหมูป่า 7 ตัว มี 3 เศียร ตรงกลางเป็นหน้ามนุษย์ อีกข้างเป็นยักษ์ และ อีกข้างเป็นหมูป่า ทรงนั่งบนราชรถที่มีหมูป่า 7 ตัวเป็นสัตว์เทียมพาหณะ ต่อมาเปลี่ยนเป็นเพศหญิงตามความนิยมหลังสมัยถังของจีน และเจ้าแม่มอลีกีเทียน จะคล้ายกลับพระแม่กวนอิมแต่มีแปดกรเท่านั้น มักใช้เป็นประธานในเทศกาลกินเจ ที่สับสนกันระหว่างเจ้าแม่กวนอิม ทำให้ในสมัยหลังกว่าว่าเจ้าแม่เต๋าโบ้เหนียวเหนียว หรือมอลีกีเทียนคืออวตารของเจ้าแม่กวนอิมในหมู่คนที่นับถือเจ้าแม่กวนอิมเป็นเทพสูงสุด
.........................................
ในฮินดูว่ามี ฤๅษี "มาริจี" บางจัดว่าเป็นสัปตฤๅษีทั้งเจ็ด คือดาวในกลุ่มดาวจระเข้ ส่วนปลายหาง สับสนกันระหว่างฤๅษีภริคุ แล้วแต่ตำรา มาริจีเป็นบุตรที่เกิดจากดวงจิตของท้าวมหาพรหมธาดา และมาริจีเป็นพ่อของฤๅษีกัศยปะผู้เป็นเทพบิดาผู้ให้กำเนิดปวงเทพ และอสูร
..............................................
โดยตามความเชื่อลัทธิเต๋าว่า เจ้าแม่เต๋าโบ้เหนียวเหนียว เป็นผู้ให้กำเนิดเทพเจ้าดาวเหนือทั้ง 9 (ดาวจระเข้ 7+ ดาววีก้า 1 + ดาวเหนือ 1) ที่ต่อมาพุทธศาสนามหายานว่าดาวทั้งเก้าคือ นพเคราะห์ ที่เกิดจากพระพุทธเจ้า 7 และโพธิสัตว์ 2 พระองค์แบ่งภาคมาเป็นดาวนพเคราะห์ทั้ง 9 คือ

กิ้วอ้วงฮุดโจ้ว (九皇佛祖)
1 พระอาทิตย์ หรือไท้เอี้ยงแช (พระวิชัยโลกมนจรพุทธะ)
2 พระจันทร์ หรือไท้อิมแช (พระศรีรัตนโลกประภาโมษอิศวรพุทธะ)
3 ดาวอังคาร หรือฮวยแช (พระเวปุลลรัตนโลกวรรณสิทธิพุทธะ)
4 ดาวพุธ หรือจุ้ยแช (พระอโศกโลกวิชัยมงคลพุทธะ)
5 ดาวพฤหัสบดี หรือบักแช (พระวิสุทธิอาศรมโลกเวปุลลปรัชญาวิภาคพุทธะ)
6 ดาวศุกร์ หรือกิมแช (พระธรรมมติธรรมสาครจรโลกมโนพุทธะ)
7 ดาวเสาร์ หรือโท้วแช (พระเวปุลลจันทรโภคไภสัชชไวฑูรย์พุทธะ)
8 ดาวเกตุ หรือโกยโต้วแช (พระศรีสุขโลกปัทมอรรถอลังการโพธิสัตว์)
9 ดาวราหู หรือล่อเกาแช (พระศรีเวปุลกสังสารโลกสุขอิศวรโพธิสัตว์)


ภาพดาวปักเต้าแชกุนทั้ง 9
ที่มา http://www.nine-emperorgods.org/legend/2/

การบูชาเทพปักเต้าแชกุน (เทพเจ้าดาวเหนือทั้ง 9 ของจีน ไทยคือกลุ่มดาวจระเข้ 7 ดวง +ดาวเหนือ 1 ดวง +ดาวเวก้า 1ดวง) มาก่อนการบูชาเทพนพเคราะห์แบบแขก - ไทย แม้ว่าจะเปลี่ยนเป็นเทพนพเคราะห์แต่ก็ยังใช้บทสวดที่บูชาเทพปักเต้าแชกุนกับวันทั้ง 9 ในเทศกาลกินเจ

7) กวนอิมเหยียบมังกร-พุทธประวัติตอนพระพุทธเจ้าเสวยวิมุติสุขแล้วพระยานาคมุจลินท์มาขดแผ่พังพานกันฝน


ภาพกวนอิมเหยียบมังกร
ที่มา https://thefemalebuddha.wordpress.com/2012/08/21/the-generosity-of-guanyin-in-bangkoks-chinatown/

กวนอิม Guanyin (ญี่ปุ่น คันนอน Kannon) ปราบกาเมร่า (เต่ามังกร) ที่มาของกวนอิมเหยียบมังกร
เชื่อว่าเมื่อพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเข้าสู่จีนกลายเป็นเจ้าแม่กวนอิมและได้รับการบูชาว่าเป็นเทพสูงสุด ก็เป็นธรรมดาที่คนจีนจะอยากให้เจ้าแม่กวนอิมของเขาทรงสัตว์มงคลในตำนานจึงทำให้เกิดเจ้าแม่กวนอิมทรงสัตว์มงคลของจีนเช่น กิเลน เต่ามังกร (กาเมร่า?) มังกร หงส์จีน และสัตว์ประจำ 12 นักษัตรจีน มากมายแล้วจึงทำเกิดนิทานที่อธิบายสาเหตุที่เจ้าแม่กวนอิมทรงสัตว์มงคลต่าง ๆ ของจีนด้วย ดังเช่น
ภาพกวนอิมเหยียบเต่ามังกร
ที่มา https://magiedubouddha.com/p_thai-guan-yin.php
 
1) เจ้าแม่กวนอิมปางทรงเต่ามังกรนี้ก็เป็นนิทานที่ว่า กวนอิมแปลงเป็นชาวประมงเพื่อมาปราบเต่ามังกรที่ก่อกวนสร้างความเดือดร้อนให้ชาวประมง ก่อนที่จะสอนให้เต่ามังกรทิ้งกระดองและบรรลุธรรมกลายเป็นมังกร ทำให้เกิดปางกวนอิมทรงมังกรอีกปางด้วย
ซึ่งเรื่องกวนอิมทรงมังกรยังมีที่มาอื่น ๆ อีกคือ
2) นิทานพื้นบ้านที่ว่า กวนอิมช่วยเจ้าชายมังกร ที่แปลงเป็นปลามาเที่ยวเล่นจนถูกจับได้ด้วยผลกรรมทำให้คืนร่างเป็นมังกรไม่ได้ถูกชาวประมงจับไป กวนอิมจึงให้กิมท้ง (金童 กุมารทอง) หรือเชียนไฉท้งซื่อ (善財童子 พระสุธนกุมาร) มาขอซื้อปลา แล้วพาปลาไปปล่อยลงทะเล เล้งอ๋องพระยามังกรรู้จึงส่งเง็กนึ่ง ( เง็กนึ่ง 玉女กุมารีหยก/หยก+หญิง/สาวหยก หรือ 龍女 หลงหนู่/เล้งนึ่ง : มังกรหญิง ) ธิดามาให้มอบไข่มุกวิเศษให้เป็นของตอบแทน (นึกถึงนางเมขลาธิดามังกรกับพระอินทร์นิทานไทย) เมื่อเง็กนึงพบเจ้าแม่กวนอิมเกิดศรัทธาจึงถวายตนเป็นศิษย์ ไม่ค่อยปรากฏรูปเง็กนึ่งในขณะที่เจ้าแม่กวนอิมประทับมังกร (สงสัยว่ามังกรนั้นคือธิดามังกร?)
3) เรื่องธิดาสาครนาคราช ในสัทธรรมปุณฑริกาสูตร (เก่าสุด) กล่าวครั้งหนึ่งพระสารีบุตรสงสัยเรื่องที่มีผู้บรรลุธรรมด้วยการฟังเพียงครั้งเดียวพุทธเจ้า พระศากยมุนีสัมโภคกาย (พระยูไล แปลว่าตถาคต) จึงเชิญพระมัญชุศรีซึ่งไปแสดงธรรมในบาดาลโลกมา พระมัญชุศรีก็ยืนยันว่ามีคือธิดาของท้าวสาครนาคราช คือเง็กนึงนั้นเป็นตัวอย่างทันที่เอยถึง เง็กนึงก็รู้ด้วยญาณ แทรกแผ่นดินขึ้นมาแล้วถวายแก้ววิเศษแด่พระพุทธเจ้า แล้วกล่าวว่าการที่ตนถวายแก้ววิเศษนั้นให้พระพุทธเจ้ามีความไวเพียงใด ตนก็ได้บรรลุธรรมได้ไวเพียงนั้น พูดจบเง็กนึง (ธิดาสาครนาคราช) ก็กลับเพศเป็นชายแล้วสำเร็จเป็นพุทธเจ้าประจำพุทธเกษตรแห่งหนึ่งทันที
- ต่อมาภายหลังเมื่อพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร จุติเป็นเจ้าหญิงเมี่ยวซ่าน และได้สำเร็จเป็นเจ้าแม่กวนอิมแล้ว เทพและเซียนต่าง ๆ ได้ประชุมกันว่าจะให้ใครไปเป็นสาวกรับใช้ใกล้ชิด จึงตกลงให้ พระอรหันต์กิมท้ง (พระสุธน ในมหายานไม่ได้ตามหารักจากนางมโนราห์ แต่ตามหาอาจารย์สอนให้บรรลุธรรม) และธิดาสาครนาคราช (ความจริงสำเร็จเป็นพุทธเจ้าประจำพุทธเกษตรแล้ว) ให้อวตารมาเป็นสาวกรับใช้กวนอิมเป็น กิมท้ง (กุมารทอง) และเง็กนึ่ง (กุมารีหยก)
- ที่ว่ากวนอิมทรงมังกรก็เพราะว่าสมัยโบราณเมืองจีนแปลพระยานาคในวรรณกรรมพุทธศาสนาเป็นมังกรหมด ก่อนจะที่ปัจจุบันจะมีเรื่องเจ้าแม่นาคีไปฉายเมืองจีน ทำให้คนจีนเริ่มมองพญานาคเป็นปีศาจงู อย่างนางพระยางูขาว ไม่ใช่มังกร

8) กวนอิมทรงสิงโตขนทอง-ห้องสิน (วรรณกรรมจีนที่ได้อิทธิพลเทพฮินดู-พุทธ) สังข์ศิลป์ชัย และปัญญาสชาดก หรือคติเรื่องพระชินสิงห์

ภาพฉือหังเต้าเหยิน
ที่มา https://kknews.cc/zh-cn/culture/ogoy92q.html

เจ้าแม่กวนอิม พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรนั้นมีบทในวรรณกรรม "ห้องสิน" โดยในห้องสิน โดยกลายเป็น 1 ใน 12 เซียนเทพของนักพรตเต๋าจากเขาคุณหลุนชื่อ "ฉือหังเต้าเหยิน" (慈航道人) มีอาวุธคือคนโฑหยกและกระจก ลงมาช่วยเจียงจื่อหยาทำลาย 10 ค่ายกลสังหารเซียนของมหาเซียนเทพทงเทียนเจี้ยวจู่ (ปรมาจารย์เซียนยุคที่สอง) ซึ่งเซียนหญิงฉือหังเต้าเหยินรับหน้าที่ทำลายค่ายกลหนึ่งและปราบเจ้าของค่ายกลคือ เซียนจินกวง (อสูรสิงโตทองคำแปลง) ที่เป็นลูกศิษย์ของทงเทียนเจี้ยวจู่ได้สำเร็จ ทำให้เซียนจินกวงคือร่างเป็นสิงโตขนทองแล้วเซียนหญิงฉือหังเต้าหยินก็นำไปเป็นพาหนะทำให้เกิดเจ้าแม่กวนอินปางทรงสิงโต ซึ่งได้อิทธิพลจากเรื่องห้องสิน

9) กวนอิมน้ำทิพย์-สีวิราชชาดก (พระโพธิสัตว์ (ศากยมุนีพุทธเจ้า) เสวยชาติเป็นพระราชาสีวิราชถวายดวงตาให้พระอินทร์แปลง)


ตำนานจีน กล่าวว่าเจ้าหญิงเมียวซานถวายดวงตาและมือให้บิดา แล้วภายหลังเมื่อสู้กับพระยามารได้แสดงอิทธิฤทธิ์เป็นพันมือพันตา เทิดรูปพระพุทธองค์ไว้เหนือเศียรอาศัยพุทธบารมีปราบพวกปีศาจ (น่าจะได้รับอิทธิพลจากสีวิราชชาดก ชาดกในนิบาตของพุทธศาสนาเถรวาท เพราะในมหายานก็พูดถึงชาดกเรื่องนี้หลายครั้ง) ซึ่งเมื่อเจ้าหญิงเมียวซานได้รัยแจกันหยกเขียวแล้วเมื่อบรรลุธรรม แจกันหยกเขียวได้กลายเป็นของวิเศษมีน้ำทิพย์และกิ่งหลิวเกิดขึ้น (แจกันหยกเขียวเปรียบเทียบได้กับหม้อน้ำของพราหมณ์ ฤๅษี และพระพรหมที่เอาไว้ให้พรหรือสาปชาวบ้าน) โดยเชื่อว่าน้ำทิพย์ของแจกันยกเขียวมีฤทธิ์มากสามารถคืนชีวิตให้โสมมนุษย์ (人參果 เหรินเซินกั่ว /ต้นนารีผลของจีน) ของเจิ้นหยวนต้าเซียน ในเรื่องห้องสิน หรือเฉินเฟิงปัง เที่ยบได้กับ เหยฺวี่ยนซื่อเทียนจุนในลัทธิเต๋า ส่วนในเรื่องไซอิ๋วเล่าว่าซุนหงอคงทะเลาะกับศิษย์ของเจิ้นหยวนต้าเซียน จึงทำลายต้นผลโสมมนุษย์ ทำให้เจิ้นหยวนต้าเซียน/เจิ้นหยวนจื่อ (鎮元子) หรือ ติ้นหยวนต้าเซียน (鎮元大仙) โกรธจับตัวพระถังซำจั๋งไว้ แล้วบังคับให้คืนชีวิตต้นผลโสมมนุษย์ ราชาวานรจึงต้องไปเชิญเซียนทั้งสวรรค์มาช่วยก็ไม่มีใครชุบชีวิตให้ต้นผลโสมมนุษย์ได้ เจ้าแม่กวนอิมจึงต้องเสด็จมาช่วย หลังพาเจ้าแม่กวนอิมมาชุบผลโสมมนุษย์ที่ถูกทำลายได้ จึงนับถือเป็นพี่น้องร่วมสาบานกับราชาวานรซุนหงอคง (ไซอิ๋วเป็นวรรณกรรมพุทธศาสนาของจีนที่แต่งเสริมเติมแต่งประวัติการมาอัญเชิญพระไตรปิฎกในอินเดียของพระถังซำจั๋งให้มหัศจรรย์เป็นเทพนิยาย)

ปฐมาจารย์แห่งลัทธิเต๋าทั้งสามคือ
1.หยกบริสุทธิ์ คือ "เหยฺวียนซื่อเทียนจุน” (元始天尊 ) เป็นปฐมเทวาคือ เทพองค์แรกแห่งเทพทั้งปวง คอยแสดงธรรมสั่งสอนสรรพสัตว์ในอาทิกัลป์ ( กัลป์เบื้องต้น ) กิเลนเขาเดียว หรือมังกร เข้าข้างราชวงศ์โจว
2.เหนือบริสุทธิ์ คือ เทพ“หลิงเป่าเทียนจุน” (灵宝天尊 ) แสดงธรรมสั่งสอนสรรพสัตว์ในมัชฌิมกัลป์ ( กัลป์เบื้องกลาง ) ทรงควาย วัวเขาเดียว หรือสิงโต ในเรื่องห้องสินว่าคือ “ทงเทียนเจี้ยวจู่” ( 通天教主 ) เข้าข้างราชวงศ์ซาง
3.บริสุทธิ์สมบูรณ์ คือ เทพ“เต้าเต๋อเทียนจุน” (道德天尊) แสดงธรรมสั่งสอนสรรพสัตว์ในปัจฉิมกัลป์ ( กัลป์เบื้องปลาย ). ทรงวัวเขาเดียว วัว หรือควาย (ท่านเล่าจือ) เข้าข้างราชวงศ์โจว
****โดยทั้งสามเป็นศิษย์ของพระหงจุนเหล่าซู 洪钧老祖 ผู้ปราบอสูรกายวันตรุษจีน "เหนียน"

สาวกเจ้าแม่กวนอิม และที่มา

สาวกเจ้าแม่กวนอิมที่สำคัญมี 2 ตนคือ

1) ธิดาสาครนาคราช (เง็กนึ่ง) - เรื่องนางมณีเมขลา ในมหาชนกชาดก


เสี่ยวเล้งนึ่งตัวละครในเรื่องมังกรหยกภาค 2 และเง็กนึ่งหรือ เล้งนึ่งธิดามังกร (นางมณีเมขลาจีน)

เรื่องธิดาสาครนาคราช (เสี่ยวเล็งนึ่ง 小龍女 มังกรสาวน้อย/มังกรกุมารี)  ในสัทธรรมปุณฑริกาสูตร (เก่าสุด) กล่าวครั้งหนึ่งพระสารีบุตรสงสัยเรื่องที่มีผู้บรรลุธรรมด้วยการฟังเพียงครั้งเดียวพุทธเจ้า พระศากยมุนีสัมโภคกาย (พระยูไล แปลว่าตถาคต) จึงเชิญพระมัญชุศรีซึ่งไปแสดงธรรมในบาดาลโลกมา พระมัญชุศรีก็ยืนยันว่ามีคือธิดาของท้าวสาครนาคราช คือเง็กนึงนั้นเป็นตัวอย่างทันที่เอยถึง เง็กนึงก็รู้ด้วยญาณ แทรกแผ่นดินขึ้นมาแล้วถวายแก้ววิเศษแด่พระพุทธเจ้า แล้วกล่าวว่าการที่ตนถวายแก้ววิเศษนั้นให้พระพุทธเจ้ามีความไวเพียงใด ตนก็ได้บรรลุธรรมได้ไวเพียงนั้น พูดจบเง็กนึง (ธิดาสาครนาคราช) ก็กลับเพศเป็นชายแล้วสำเร็จเป็นพุทธเจ้าประจำพุทธเกษตรแห่งหนึ่งทันที
- ต่อมาภายหลังเมื่อพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร จุติเป็นเจ้าหญิงเมี่ยวซ่าน และได้สำเร็จเป็นเจ้าแม่กวนอิมแล้ว เทพและเซียนต่าง ๆ ได้ประชุมกันว่าจะให้ใครไปเป็นสาวกรับใช้ใกล้ชิด จึงตกลงให้ พระอรหันต์กิมท้ง (พระสุธน ในมหายานไม่ได้ตามหารักจากนางมโนราห์ แต่ตามหาอาจารย์สอนให้บรรลุธรรม) และธิดาสาครนาคราช (ความจริงสำเร็จเป็นพุทธเจ้าประจำพุทธเกษตรแล้ว) ให้อวตารมาเป็นสาวกรับใช้กวนอิมเป็น กิมท้ง (กุมารทอง) และเง็กนึ่ง 玉女 (กุมารีหยก)  

2) พระสุธนกุมาร (กิมท้ง) - เรื่องอรหันต์หรือพระสุธนโพธิสัตว์ในมหายาน และสุธนชาดก ปัญญาสชาดก


ภาพพระสุธนพบพระศรีอารย์ และเจ้าแม่กวนอิม
ที่มา https://kknews.cc/zh-sg/fo/alj9avg.html

พระอรหันต์สุธนตามหาอาจารย์ ไม่ตามหานางมโนราห์
(อย่างในสุธนชาตก ปัญญาสชาดกของ ไทย เขมร ลาว พม่า ฯ)
กิมท้ง (金童 กุมารทอง) หรือเชียนไฉท้งซื่อ (善財童子 พระสุธนกุมาร)
เรื่องพระสุธนกุมารมีในวรรณกรรมสันสกฤต ก่อนไปจีน และอาจจะเป็นที่มาของพระสุธนมนโนราห์ แต่ในมหายานได้กล่าวว่าพระสุธนกุมารเป็นเจ้าชาย
"เซียนไฉท้งซื่อ" (สุธนกุมาร) เป็นราชโอรสของพระเจ้าปัญจา จีนเรียกว่า “อ๋องฮกเซ้งอ้วง” เป็นราชโอรสองค์ที่ 3 ในขณะที่พระมารดาทรงพระครรภ์พระโอรสองค์ที่ 3 ก็ได้มีแก้วแหวนเงินทองเพชรนิลจินดาพร้อมรัตนอันมีค่าต่างได้ผุดขึ้นมาจากพื้นดินเต็มทั่วอาณาบริเวณพระราชวังทั้ง 4 ทิศ เป็นสิ่งมหัศจรรย์อย่างยิ่ง ประชาชนในเมือง “กัมปิละ” ต่างได้ยินดีสรรเสริญในบุญฤทธิ์ของพระกุมาร พร้อมถวายพระนามว่า พระสุธนกุมาร หรือ เชียนไฉท้งซื่อ/สั้นไฉท้งจื่อ (คือ ถง+จื่อ = ทรัพย์, ธน + กุมาร=จื่อ , เชียนไฉ=อริยทรัพย์ )
ต่อมาพระสุธนต้องการบรรลุธรรมได้ไปกราบไว้อาจารย์ที่เป็นพระโพธิสัตว์ต่าง ๆ พระเถราจารย์ และนักปราชญ์ถึง 53 ท่าน โดยหนึ่งในนั้นคือพระแม่กวนอิม
- ตำนานเดิมว่าพระศรีอริยเมตไตรยคือพระโพธิสัตว์องค์สุดท้ายที่พระสุธนไปคำนับเป็นอาจารย์แล้วจึงพาขึ้นหอคอยจักรวาลจนได้บรรลุธรรม เป็นพระอรหันต์ แบ่งตำนานก็ว่าเป็นพระสุธนโพธิสัตว์ซึ่งจะได้บรรลุธรรมเป็นอนาคตพุทธเจ้า (พระอรหันต์ในมหายานบางนิกายว่ายังไม่ใช่การหลุดพ้นแท้จริงต้องสำเร็จเป็นพุทธเจ้าเท่านั้น อรหันต์เป็นแค่ศาลพักร้อน การเดินทางอีกยาวไกล ในคติมหายาน)

พระศรีอาริยเมตไตรย (หมีเล่อโฝ 彌勒佛) หมีเล่อผ่อสัก (彌勒菩薩) หรือ “เว่ยไหลโฝ” 未来佛 หรืออวตาร พระอชิตเถระจีน ปู้ต้าย (布袋)
/ปู๊กุ๊ยฮุก (富贵佛) หลวงพ่อถุงย่ามใหญ่ เป็นถุงที่บรรจุจักรวาลไว้ (ปู้ยไต้เหอสร้าง布袋和尚 อ้วนเหมือนพระสังกัจจายน์) ที่ในวรรณคดีเรื่องไซอิ๋ว หรือซีโหยวจี มาช่วยปราบพระคิ้วเหลือง หวงเหมยต้าหวัง (黃眉大王) ผู้จับหงอคงไว้ในฉาบ (น่าจะเป็นการสับสนระหว่างพระสังกัจจายน์กับพระศรีอารย์ในจีนซึ่งเกิดจากอิทธิพลของวรรณกรรมเรื่องไซอิ๋ว และห้องสิน ที่ชาวจีนยอมรับและชื่นชอบที่สุด)

- ต่อมาภายหลังเมื่อพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร จุติเป็นเจ้าหญิงเมี่ยวซ่าน และได้สำเร็จเป็นเจ้าแม่กวนอิมแล้ว เทพและเซียนต่าง ๆ ได้ประชุมกันว่าจะให้ใครไปเป็นสาวกรับใช้ใกล้ชิด จึงตกลงให้ พระอรหันต์กิมท้ง (พระสุธน ในมหายานไม่ได้ตามหารักจากนางมโนราห์ แต่ตามหาอาจารย์สอนให้บรรลุธรรม) และธิดาสาครนาคราช (ความจริงสำเร็จเป็นพุทธเจ้าประจำพุทธเกษตรแล้ว) ให้อวตารมาเป็นสาวกรับใช้กวนอิมเป็น กิมท้ง (กุมารทอง) และเง็กนึ่ง (กุมารีหยก)

……………………..
ไม่มีสิ่งใดเกิดจากความว่างเปล่าการหยิบยืมโครงเรื่องไปแต่งใหม่สร้างความนิยมได้มากกว่ามั่วเอาเอง เพราะมันมีที่มาที่ไป จึงน่าศึกษา

วันพุธที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2564

ภูเขาศักดิ์สิทธิ์แห่งโพธิสัตว์ทั้ง 4 ของจีน

 

ที่มา http://www.fengsuwang.com/minjian/minjian4555.asp

สถานที่ศักดิ์สิทธิ์เป็นที่ประทับของพุทธศาสนาในประเทศจีนเป็น 4 ภูเขาศักดิ์สิทธิ์ด้วย (เหมือนความเชื่อเรื่องพุทธบาท)

1.พระกษิติครรภโพธิสัตว์ 

    👼 พระกษิติครรภโพธิสัตว์ หรือ“ต้าหยวนตี้จั้งผู่ซ่า"  大願地藏菩萨 จุติเป็นเจ้าชายกิมเคียวกักจากชิลลา (ดินแดนโบราณของเกาหลี) มาสำเร็จเป็นโพธิสัตว์ในจีนแล้วประทับอยู่บนเขาจิ่วหัวซาน (九華山) หรือ หัวซาน  ในประเทศจีน




ที่มา https://news.un.org/zh/story/2019/04/1032711

     💥 อดีตชาติในชมพูทวีป (ตำนานอินเดีย)

ในอดีตชาติพระตี้จั้งเคยเกิดเป็นธิดาพราหมณ์ มีบิดาชื่อ "ชีรชิณณพราหมณ์" มารดาชื่อ "ยัฏฐีลีพราหมณี" โดยบิดาได้ถึงแก่กรรมก่อน นางพราหมณีจึงอยู่กับมารดา แต่นางยัฎฐีลี เป็นผู้ไม่ชื่อบุญบาปไม่เคยทำความดีตายไปตกนรก นางพราหมณีรูปจึงทำบุญถวายทานเป็นการใหญ่วันหนึ่งได้บำเพ็ญภาวนาจนถอดดวงวิญญาณไปท่องในนรกเพื่อตามหามารดา และได้เห็นภาพที่น่าสงสารของสัตว์นรกต่าง ๆ จนพบกับนายนิรยบาลตนหนึ่งได้แจ้งให้รู้ว่านางยัฎฐีลีผู้มารดาได้หลุดพ้นจากนรกด้วยกุศลที่นางได้ทำให้แล้ว นางพราหมณีดีใจจึงต้องปณิธานว่าจะโปรดสัตว์นรกให้หมด ด้วยกุศลผลบุญชาติต่อมาได้เกิดเป็นเทพบุตรในสวรรค์

     💥 ชาติต่อมาในตำนานเกาหลี และจีน

แต่ต่อมาท่านต้องการโปรดสัตว์นรกจึงจุติจากสวรรค์มาเป็นเจ้าชายกิมเคียวกัก (金喬覺) แห่งแคว้นชิลลาของประเทศเกาหลีในสมัยโบราณ ต่อมาท่านได้พบกับสุนัขขาวตัวหนึ่ง ซึ่งก็คือนางยัฎฐีลีกลับชาติมาเกิดจึงได้กลายเป็นเพื่อนกัน และเดินทางมาสู่จีนเลือกภูเขาจิ่วหัวซาน เป็นที่โพธิมณฑลบรรลุธรรมสำเร็จเป็นพระกษิติครรภโพธิสัตว์ หรือ ตี้จั้งผู่ซ่า ผู้โปรดสัตว์ในนรก ส่วนสุนัขขาวก็ได้สำเร็จธรรมได้กลายเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์มีเขาหนึ่งเขางอกขึ้นที่กลางหน้าผาก มีร่างกายเป็นมังกร มีหัวเป็นเสือ มีเท้ากิเลน แต่หูยังคงเป็นหูสุนัข เป็นพาหนะของพระตี้จั้ง ชื่อ “ทีเทีย” หรือ “ตี้ทิง” 谛听 เป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์เขาเดียวในนรกที่มีญาณวิเศษรู้ทุกอย่างในโลกมนุษย์

    💥 วรรณคดีเรื่องไซอิ๋ว หรือ ซีโหยวจี ของจีน

ตอนนี้ลิงหกหูปลอมเป็นซุนหงอคงราชาวานร ก่อความวุ่นวายต่าง ๆ แม้แต่เจ้าแม่กวนอิมใช้ตาทิพย์พันตาก็แยกไม่ออก แต่ “ตี้ทิง”สัตว์ศักดิ์สิทธิ์พาหนะของพระตี้จั้งนี้สามารถแยกออกได้ทันทีแต่ว่ากลัวว่าลิงหกหูจะหนีไปเลยให้ ซุนหงอคงพาลิงหกหูไปหาพระยูไล (สัมโภคกายของพระศากยมุนี) ตัดสินจะได้จับลิงหกหูไว้ไม่ให้หนีไปได้

2.พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ 

    👼 อวตารเป็นเจ้าหญิงเมี่ยวซ่าน แล้วสำเร็จเป็น กวนซืออิมผู่ซ่า觀世音菩薩 ประทับอยู่บนเขาผู่ถัวซาน (普陀山




ที่มา http://www.zhoushan.cn/qdx/putuo/putuoshan/fengturenqing/201503/t20150330_706063.html

      💥 ในวรรณคดีเรื่องไซอิ๋วหรือซีโหยวจีพระแม่กวนอิมมีบทบาทอย่างมากในการช่วยเหลือและให้คำปรึกษากับพระถังซำจั้งในการเดินทางไปชมพูทวีป ส่วนในวรรณคดีจีนเรื่องห้องสิน หรือ เฟิงเฉินปัง  เจ้าแม่กวนอิม หรือ พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเป็น 1 ใน 12 เซียนเทพของนักพรตเต๋าจากเขาคุณหลุนชื่อ "ฉือหังเต้าเหยิน" (慈航道人) มีอาวุธคือคนโฑหยกและกระจก ลงมาช่วยเจียงจื่อหยาทำลาย 10 ค่ายกลสังหารเซียนของมหาเทพเซียนทงเทียนเจี้ยวจู่ (ปรมาจารย์เซียนยุคที่สอง) ซึ่งฉือหังเต้าเหยินรับหน้าที่ทำลายค่ายกลหนึ่งและปราบเจ้าของค่ายกลได้สำเร็จ เซียนจินกวงที่เป็นลูกศิษย์ของทงเทียนเจี้ยวจู่ แล้วเซียนจินกวงก็กลับร่างกลายเป็นราชสีขนทอง ฉือหังเต้าเหยินก็เลยจับมาเป็นพาหนะ

3.พระมัญชุศรีโพธิสัตว์ 

    👼 หรือ เหวินซูซือลีผู่ซ่า文殊師利菩薩  ประทับอยู่บนเขาอู่ไถซาน (五台山) หรือไถซาน




ที่มา https://www.sohu.com/a/446162751_120437799

     💥 ในวรรณคดีเรื่องไซอิ๋วหรือซีโหยวจี พระมัญชุศรี (เหวินซูซือลีผู่ซ่า 文殊師利菩薩 หรือบุ่งซู้ผ่อสัก 文殊菩薩) มีบทบาทในการส่งราชสีห์ขนสีฟ้า (獅猁怪 หรือ 青毛獅子) มาลงโทษพระราชาโอเกยก๊ก โดยราชสีห์ขนฟ้าได้แปลงมาเป็นจินเต้าหยินช่วยเรียกฝนให้เมืองโอเกยก๊ก (烏雞國) จนเป็นที่โปรดปราน วันหนึ่งได้หลอกผลักพระราชาตกไปตายในบ่อน้ำ แล้วแปลงเป็นพระราชาอยู่นาน 3 ปี ต่อมาวิญญาณของพระราชาก็ปรากฎในฝันของพระถัง และขอให้พระถังช่วยเหลือ เห้งเจียกับโป๊ยก่ายเลยช่วยดึงศพขึ้นมาจากบ่อนำ้ และใช้ยาวิเศษของ มหาเซียนเทพไท้เสียงเหล่าจุน เพื่อนำชีวิตของพระราชากลับคืนมา และเปิดเผยความจริง แต่ปีศาจกลับแปลงกลายเป็นพระถัง ทำให้มีพระถัง 2 คน เห้งเจียออกอุบายว่า ใครเป็นตัวจริงจะต้องร่ายมนตร์บีบศีรษะของเห้งเจียได้ เมื่อตัวปลอมทำไม่ได้ เห้งเจียก็เงื้อกระบองจะฟาด แต่พระโพธิสัตว์บุ่งซู้ผ่อสัก (พระมัญชุศรีโพธิสัตว์) ก็ปรากฏตัวขึ้น แล้วเล่าว่า “แท้จริงแล้วเป็นสิงโตนิลพาหนะของพระองค์เอง ที่พระองค์ส่งมาเพื่อลงโทษ พระราชา” ครั้งนี้จึงขอให้แล้วต่อกันไป แล้วคณะก็เดินทางต่อไป และตอนปราบที่ปราบสามปีศาจคือ พระยาราชสีห์ ชิงเหมา (青毛) พระยาช้าง หวงเหยา (黃牙) และพญาอินทร์ต้าเผิง (大鵬) แห่งภูเขาไซท่อซัว ณ ถ้ำ ไซท่อต๋อง โดยพระยาราชสีห์ก็เป็นพาหนะของพระบุนซู้ผู่ซ่า /เหวินผู่ซ่า พระมัญชุสีอีกเช่นกัน

    💥 ในห้องสิน เหวินชูก๋วงฝ่าเทียนจุน หรือบุนซูกงฮวดเทียนจุน (文殊廣法天尊) เป็น 1 ใน 12 เซียนแห่งเขาคุนหลุนผู้เป็นอาจารย์ของ จินจา หรือ กิมเฉีย (金吒) หรือ หลี่ฮู้กิมเฉี้ย (李府金吒) ลูกชายคนโตของลี่จิ้ง พี่ชายของนาจา นอกจากนี้ในตอนที่มหาเซียนเทพทงเทียนเจี้ยวจู่ (ปรมาจารย์แห่งยุคที่ 2) ลงมาตั้งค่ายกลสังหารเซียนสกัดทัพของเจียงจื่อหยา เหวินชูก๋วงฝ่าเทียนจุนท่านก็เป็น 1 ในนักพรต 12 ตนที่ลงมาช่วย ทำลายค่ายกลย่อยชื่อ “ค่ายหลอมจักรวาล” แล้วจับ "ฉิวโซ่เซียน" (ราชสีห์ขนนิลแปลง) ศิษย์ทงเทียนเจี้ยวจู่ที่ดูแลค่ายกลได้ หยวนสื่อเทียนจุน (ปรมาจารย์แห่งยุคที่ 1) ก็สบัดแส้ให้ฉิวโซ่เซียนกลับร่างเดิมเป็นราชสีห์ขนนิลแล้วมอบให้เป็นพาหนะของเหวินซูก๋วงฝ่าเทียนจุน

4.พระสมันตภัทรโพธิสัตว์ 

   👼 หรือ ฝู่เสี้ยนผู่ซ่า  普賢菩薩  ประทับอยู่บนเขาเอ๋อเหมยซาน หรือง้อไบ๊ซาน (峨眉山) หรือ เขาง้อไบ๊

 




        💥 ในวรรณคดีเรื่องไซอิ๋ว หรือซีโหยวจีพระโพธิสัตว์ผู่เสี้ยนผู่ซ่า 普賢菩薩ปรากฎตัวครั้งแรกตอนทดสอบพระถังซัมจั๋งและลูกศิษย์หลังข้ามแม่น้ำหลิวซาเหอ (พร้อมกับเจ้าแม่กวนอิมและมัญชุศรี) และตอนปราบสามปีศาจ 1 ในสามปีศาจแห่งภูเขาไซท่อซัว ณ ถ้ำ ไซท่อต๋อง (พระยาราชสีห์ชิงเหมา พระยาช้างหวงเหยา และพญาอินทร์ต้าเผิง) คือ พระยาช้าง หวงเหยา (黃牙) หรือ หวงเหยาเหล่าเซียง (黃牙老象) ซึ่งเป็นพาหนะของผู่เสี้ยนผู่ซ่า หรือพระสมันตภัทรโพธิสัตว์ 
        💥 ในวรรณคดีเรื่องห้องสิน หรือเฟิงเฉินปัง 封神榜 มีเซียน 1 ใน 12 เซียนแห่งเขาคุนหลุนชื่อว่า 普賢真人 ฝู่เสียนเจิ้นเหยิน /เผาเหียนจินหยินนี้ก็คือ ผู่เสี้ยนผู่ซ่า / โผ่วเฮี้ยงผ่อสัก (普賢菩薩) หรือ พระสมันตภัทรมหาโพธิสัตว์ ผู้เป็นอาจารย์ของมู่จา หรือ บกเฉีย (木吒) หรือ ลี่ฮู้บกเฉี้ย (李府木吒 ลูกของลี่จิ้ง และเป็นพี่ชายคนรองของนาจา ) ฝู่เสียนเจิ้นเหยินเป็นผู้ช่วยเจียงจือหยาทำลายค่ายประหารเซียนของมหาเซียนเทพทงเทียนเจี้ยวจู่ (ปรมาจารย์แห่งยุคที่ 2) ที่มีศิษย์คือหลี่เหยาเซียน 灵牙仙 (อสูรช้างเผือกแปลง) ผู้ดูแลค่ายกลย่อยได้ แล้วหยวนสื่อเทียนจุน (ปรมาจารย์แห่งยุคที่ 1) ก็สบัดแส้ให้หลี่เหยาเซียนกลับร่างเดิมเป็นช้างเผือก แล้วมอบให้เป็นพาหนะของฝู่เสียนเจิ้นเหยิน (พระสมันตภัทรโพธิสัตว์)


......................................................


...........................

หมายเหตุ ในเรื่องไซอิ๋วคือสัมโภคกายของพระศากยมุนี ตามความเชื่อมหายานแม้ทรงปรินิพพานไปแล้วแต่สัมโภคกายยังดำรงอยู่ เพื่อฟังเสียงสวดมนต์ของสรรพสัตว์

วันเสาร์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2564

เทศกาลนวราตรีทั้ง 4 ประจำฤดูกาลของอินเดีย

 


รูป การเต้นทัณฑิยาในเทศกาลนวราตรี

เทศกาลนวราตรีทั้ง 4

นวราตรีจะมีปีละ 4 ครั้ง คือ

1.จิตรา นวราตรี หรือ วสันต นวราตรี หรือ รามะ นวราตรี (วันที่ 9 เป็นวันเกิดพระราม) นี้มีการเฉลิมฉลองในช่วง ฤดูใบไม้ผลิ วสันตฤดู  (จุดเริ่มต้นของฤดูร้อน) (มีนาคมถึงเมษายน) นี้เป็นที่รู้จักกัน ในชื่อ จิตรา นวราตรี  จะตกอยู่ในช่วงเดือน จิตรามาส

2.อาสาฬหะ นวราตรี  เรียกกันว่า  อาสาฬหะ คุปตะ นวราตรี เป็นพิธีจัดขึ้นเก้าวันเพื่อบูชาถวายแด่ เทพีศักติทั้ง 9 ปาง ในเดือน อาสาฬหะมาส วัสสานฤดู /วรฺษาฤดู ฤดูฝน (เดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม)

3.สารทะ นวราตรี (ศารทิยะ นวราตรี) เป็นเทศกาลที่สำคัญที่สุดของเทศกาลนวราตรี (มหานวราตรี) และมีการเฉลิมฉลองในขึ้น 1 ค่ำของเดือนอัศวินีมาส  เป็นการเฉลิมฉลองในช่วงฤดูใบไม้ร่วงหลังพายุ สารทฤดู/ศรทฤดู (จุดเริ่มต้นของฤดูหนาว, กันยายนตุลาคม) สารทฤดู เป็นช่วงที่ดาวจระเข้เห็นเด่นชัดในกลางท้องฟ้ามากที่สุด ขณะที่ช่วงไตปูซัมเป็นช่วงที่เห็นดาวกฤติกากลางท้องฟ้าเด่นชัดที่สุด

4.มาฆะ นวราตรี หรือ มาฆะ คุปตะ นวราตรี เป็นพิธีเก้าวันที่บูชาศักติเทวีทั้ง 9ปาง ในเดือนมาฆะมาส ฤดูหมอกน้ำค้าง สิสิรฤดู/ศีตฤดู (เดือนมกราคมถึงเดือนกุมภาพันธ์)

เทศกาลนวราตรีที่สำคัญที่สุดมีการเต้นรำฉลองทั้งเมืองคือ “สารทะ นวราตรี” จึงเรียกอีกอย่างว่า “มหานวราตรี” ส่วนใหญ่จะตรงกับเทศกาลกินเจของชาวไทยเชื้อสายจีน อาจจะคลาดเคลื่อนต่างวันกันบ้างเหมือชาวไทยเชื้อสายจีนและแขกที่ชุมชนจีนในประเทศไทยตั้งใจจะจัดงานไม่ให้ตรงกัน แม้ว่าจะใช้หลักจันทรคติเดียวกัน

เป็นเรื่องหน้าสนใจว่าการฉลองเทศกาลนวราตรีทั้ง 4 ของอินเดีย (เดิมอาจจะมี 5 หรือ 6) เป็นเทศกาลฉลองการเปลี่ยนแปลงฤดูกาลของอินเดียที่มีการเปลี่ยนแปลงของวันคืนที่อาจจะไม่เท่ากัน และน่าจะเกี่ยวกับ วันเหมายัน วันวสันตวิษุวัต วันครีษมายัน และวันศารทวิษุวัต โดยเฉพาะเทศกาล สารทะ นวราตรีจะเป็นวันสิ้นสุดหรือวันถัดมาจากเทศกาลสารท 16 วันของอินเดียที่เรียกว่า “ปิตฤ ปักษะ” पितृ पक्ष หรือ “ปิตะระ ปะขะ” पितर पख เป็นวันระลึกถึงและทำบุญให้บรรพบุรุษผู้ล่วงลับ แต่ในรัฐเบงกาลีถือว่าวันแรกของนวราตรีเป็นวันสุดท้ายของเทศกาลสารทของอินเดียเรียกว่า “มหาลย ปักษะ” 'महालय पक्ष' โดยพิธีสารททำบุญให้บรรบุรุษเป็นพิธีศักดิ์สิทธิ์ไม่มีงานรื่นเริง 16 วัน ตามความเชื่อว่าดวงวิญญาณของบรรพชนจะถูกพระยายมนำไปสู่ปิตฤโลก ถ้าไม่ได้บรรลุธรรมหรือไปสู่โมกษะ แล้วพอถึงช่วงเวลาที่ พระอาทิตย์เคลื่อนไปสู่ราศีกันย์ ก่อนที่เคลื่อนไปสู่ราศีตุลย์ หรือพิจิก ก็จะเป็นช่วงเวลา 16 วันก่อนการสิ้นสุดเทศกาลสารทของอินเดียและเริ่มเทศกาลนวราตรีซึ่งเป็นเทศกาลบูชาเจ้าแม่ทุรคาเทวี เจ้าแม่ศักติต่าง ๆ และลูกของพระองค์ เดิมคงเป็นการฉลองรื่นเริงหลังจากสิ้นสุดพิธีสารทที่เป็นงานส่วนตัวของแต่ละครอบครัวเงียบมากกว่า ก่อนที่จะกลายเป็นงานถือศีลกินมังสวิรัติบูชาพระเจ้าเพราะได้อิทธิพลจากศาสนาไชนะและพุทธศาสนา

……………………………….


รูปการเคลื่อนที่พระอาทิตย์ของสถบันวิจัยวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (องค์กรมหาขน) 

วันเหมายัน วันวสันตวิษุวัต วันครีษมายัน และวันศารทวิษุวัต

               วันเหมายัน (Winter Solstice) ประมาณวันที่ 20 - 21 ธันวาคม  โลกหันซีกโลกใต้เข้าหาดวงอาทิตย์  ทำให้เรามองเห็นดวงอาทิตย์อยู่ค่อนไปทางทิศใต้ (Dec -23.5°) ซีกโลกเหนือเป็นฤดูหนาว ดวงอาทิตย์ขึ้นช้าตกเร็ว เวลากลางวันสั้นกว่ากลางคืน โลกจึงได้รับพลังงานจากดวงอาทิตย์น้อยที่สุด  ต้นไม้ในเขตละติจูดสูงทิ้งใบหมด เนื่องจากพลังงานแสงแดดไม่พอสำหรับการสังเคราะห์แสง 

          วันวสันตวิษุวัต (Vernal Equinox)  ประมาณวันที่ 20 - 21 มีนาคม เป็น ดวงอาทิตย์ขึ้นตรงทิศตะวันออกและตกตรงทิศตะวันตกพอดี กลางวันและกลางคืนยาวเท่ากัน ซีกโลกเหนือเป็นฤดูใบไม้ผลิ เนื่องจากโลกได้รับพลังงานจากดวงอาทิตย์มากขึ้นเมื่อเทียบกับฤดูหนาว ต้นไม้ผลิใบออกมาเพื่อสังเคราะห์แสงผลิตอาหาร  

วันครีษมายัน (Summer Solstice) ประมาณวันที่ 20 - 21 มิถุนายน โลกหันซีกโลกเหนือเข้าหาดวงอาทิตย์  ทำให้เรามองเห็นดวงอาทิตย์อยู่ค่อนไปทางทิศเหนือ (Dec +23.5°) ดวงอาทิตย์ขึ้นเร็วตกช้า เวลากลางวันยาวกว่ากลางคืน ซีกโลกเหนือเป็นฤดูร้อน 

          วันศารทวิษุวัต (Autumnal Equinox) ประมาณวันที่ 22 - 23 กันยายน ดวงอาทิตย์ขึ้นตรงทิศตะวันออกและตกตรงทิศตะวันตกพอดี กลางวันและกลางคืนยาวเท่ากัน ซีกโลกเหนือเป็นฤดูใบไม้ร่วง เนื่องจากโลกได้รับพลังงานจากดวงอาทิตย์ลดลงเมื่อเทียบกับฤดูร้อน ต้นไม้จึงผลัดใบทิ้ง 

รูปฤดูกาลของอินเดีย
ที่มา https://www.wegointer.com/2019/07/16-reasons-india-is-like-another-planet/

ฤดูกาลของอินเดีย

 ฤดูกาลของอินเดียโบราณแบ่งได้เป็น 6 ฤดู ได้แก่

1. เหมันตฤตุ (เห-มัน-ตะ-รึ-ตุ) /ศีตฤตุ (สี-ตะ-รึ-ตุ) คือ ฤดูหนาว กลางตุลาคม-ธันวาคม

2. สิสิรฤตุ (สิ-สิ-ระ-รึ-ตุ) คือ ฤดูหนาวตอนปลายที่หิมะเริ่มละลาย บางเรียกว่าฤดูหมอกน้ำค้าง มกราคม-กุมภาพันธ์

3. วสันตฤตุ (วะ-สัน-ตะ-รึ-ตุ) คือ ฤดูใบไม้ผลิ มีนาคม หรือกลางกุมภาพันธ์ – เมษายน

4. คิมหันตฤตุ (คิม-หัน-ตะ-รึ-ตุ) / คฺรีษฺมฤตุ (ครีซ-มะ-รึ-ตุ) คือ ฤดูร้อน เมษายน-พฤษภาคม หรือกลางมิถุนายน

5. วัสสานฤตุ (วัด-สา-นะ-รึ-ตุ) /วรฺษาฤตุ (วัร-ซา-รึ-ตุ) คือ ฤดูฝน มิถุนายน-สิงหาคมหรือกันยายน

6. สารทฤตุ (สา-ระ-ดะ-รึ-ตุ) /ศรทฤตุ (ซะ-ระ-ดะ-รึ-ตุ) คือ ฤดูใบไม้ร่วง กลางสิงหาคม-กันยายน

ฤดูกาลของอินเดียเหนือปัจจุบันแบ่งได้ 4 ฤดู ได้แก่

1. สิสิรฤดู/ศีตฤดู คือ ฤดูหนาว (เดือนมกราคมถึงเดือนกุมภาพันธ์)

2. คิมหันตฤดู / คฺรีษฺมฤดู  คือ ฤดูร้อน(มีนาคม-พฤษภาคม)

3. วัสสานฤดู /วรฺษาฤดู คือ ฤดูฝน (เดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม)

4. สารทฤดู/ศรทฤดู คือ ฤดูใบไม้ร่วง (จุดเริ่มต้นของฤดูหนาว, กันยายนตุลาคม)

ส่วนห้าแคว้นอินเดียใต้มีฤดูกาลสามฤดูกาลเหมือนประเทศไทยเนื่องจากอยู่ในระยะห่างจากเส้นศูนย์สูตรพอ ๆ กัน เฉพาะรัฐทมิฬนาฑูปัจจุบันมีหน้าฝนจะอยู่ในช่วงเดือนไตปูซัม หรือช่วงกลางเดือนธันวาคมตอนปลายกับกลางต้นเดือนมกราคมตอนต้น